วิจิตรศิลป์บนผืนผ้าไทย 4 ภาค
เชื่อกันมั้ยค่ะว่า ผ้าทอไทยลวดลายวิจิตรตระการตา ฝรั่งเห็นฝรั่งยังทึ่ง โดยเฉพาะผ้าโบราณ ที่แม่ช่างแม่ครูได้ถักทอไว้
การจะถักทอให้เส้นไหมเรียงร้อย เป็นลวดลายวิจิตรทุกอณูผ้าโรงงานผ้าชั้นนำของฝรั่งยังทำไม่ได้
คนที่ดูผ้าเป็นเค้าจะรู้ค่ะว่ายาก แม้แต่เจ้าของโรงงานทอผ้าฝรั่งมาเห็นยังงง ว่าทำได้ยังไง???
เครื่องจักร I ยังทำไม่ได้เลย..... แต่ปู่ย่าตายายของเราทำได้ด้วยหูกไม้เจ้าค่ะ
ผ้ายก
เป็นผ้าไหมที่ทอยกลายในตัว โดยใช้เส้นพุ่งพิเศษเป็นดิ้นเงินดิ้นทอง ทอกันแพร่หลายในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน
และภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่รู้จักกันแพร่หลายในชื่อของ “ไหมพุมเรียง”
ผ้ายกลำพูน
ผ้าไหมลายนี้มาจากจังหวัดลำพูนที่ทำขึ้นมาเพื่อให้พันรอบเอวเป็นผ้าถุงที่เรียกว่า “นานาง” ซึ่งใช้สวมใส่ประเพณีในราชวงศ์สยาม
รูปแบบนี้มีใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในศตวรรษที่ 14 ในระหว่างการทอผ้านี้จะใช้ทั้งไหม และทองมาทอร่วมกัน
ผ้ายกพุมเรียง
ใช้เป็นผ้าถุงจับจีบรอบเอวในยุคศตวรรษที่ 14 ที่เรียกว่า “นานาง” ผ้าไหมที่ทำขึ้นมาจากตำบลภูมิเรียง จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ทอด้วยไหมสีทองหรือเงิน เป็นสีพื้น ซึ่งทำให้มองดูแล้วโดดเด่นมีความรู้สึกที่มีค่า ลวดลายสลับซับซ้อนที่ทำขึ้นนั้นใช้สัดส่วนของเส้นไหมน้อยลง
.
ผ้ายกเมืองนคร
ผ้าไหมลายนี้มาจากจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ทำขึ้นมาเพื่อให้พันรอบเอวเป็นผ้าถุงที่เรียกว่า “นานาง” ซึ่งใช้สีทองทอเป็นลายดอก
เป็นรูปแบบโบราณ เทคนิคในการออกแบบขอบด้านล่างเป็นทรงกรวย และมีรายละเอียดที่ซับซ้อนและปราณีต
ผ้าจก
เป็นผ้าที่ใช้วิธีการเก็บและทอเช่นเดียวกับผ้าขิด แต่มีการทำลวดลายด้วยการเพิ่มเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วงๆไม่ติดต่อกัน
ทำให้สามารสลับสีและลวดลายได้ต่างๆกัน ลักษณะผ้าจึงมีสีสันและลวดลายมากกว่าผ้าที่มีการทำขิด
แหล่งผลิตผ้าจกที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สุโขทัย เชียงใหม่ ราชบุรี อุตรดิตถ์
ผ้าที่มีการทำขิดหรือจกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก เช่น ผ้ากาบบัว ซึ่งเป็นผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี
ผ้าซิ่นตีนจกลาวครั่งที่เห็นนางแบบสวมใส่อยู่นั้นมาจากคนลาวครั่งที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี ภาคกลางของประเทศ ซึ่งลักษณะของผ้าตีนจกลาวครั่ง
จะเต็มไปด้วยสีสันลวดลายทรงเรขาคณิตผ้าไหมตีนจกลาวครั่งเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเนื้อผ้าที่ใช้กรรมวิธีแบบจก
ผ้าตีนจกไทยวน
แสดงลักษณะดั้งเดิมของผ้าตีนจกไทยวนจากหมู่บ้านคูบัว จังหวัดราชุบรี สีที่โดดเด่นจะเป็นโทนสีแดงเข้ม
สลับด้วยสีของเส้นไหมแนวนอน เช่น สีขาว, เหลือง,ส้ม และดำ ทำให้เป็นผ้าลายตีนจกที่สวยงาม
ผ้าตีนจกลาวพรวน
ผ้าไหมตีนจกจากลาวพรวนที่ทำกันในจังหวัดอุตรดิตถ์ และสุโขทัยเป็นผ้าไหมตีนจกที่ทอขึ้นด้วยความประณีต ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก
บริเวณด้านบนของผืนผ้าใช้จะใช้ทอด้วยไหมสีดำ และแดง ในขณะที่เนื้อผ้าส่วนใหญ่จะทอกลับไป-มา ที่เรียกทางเทคนิคว่า “ยกมัก”
บริเวณส่วนปลายผ้าไหมจะทำเป็นลวดลายเรียกว่าจก โดยใช้ไหมสีเหลืองทอง
ผ้าตีนจกไทยวน
เป็นลายผ้าที่จัดทำขึ้นของคนเมือง กลุ่มไทวน จังหวัดเชียงใหม่ ผ้าซิ่นตีนจกตกแต่งไปด้วยลวดลายแบบต่างๆ
ไหมที่ใช้ทอจะใช้ทอผสมผสานกับสีทอง-เงิน ผ้าไหมลายนี้จะใช้งานพิธีทางศาสนา ลักษณะพิเศษของผ้าลายนี้จะทอเป็นลวดกราฟฟิค
โดยแนวนอนจะทอเป็นแถบๆตัดกับสีพื้นสีแดง
ผ้าแพรวา
เป็นผ้าทอที่มีลักษณะลวดลายผสมกันระหว่างลายขิดและจกบนผืนผ้า “แพรวา” หมายถึง ผ้าที่มีความยาวประมาณวา เพื่อใช้เป็นสไบ
แพรวาเป็นผ้าซึ่งใช้ในงานพิธีต่างๆ ตามวัฒนธรรมของชาวภูไท เอกลักษณ์ดั้งเดิมจะมีสีแดงเป็นพื้น
ปัจจุบันได้มีการดัดแปลงลักษณะของผืนผ้าทั้งความกว้างและความยาวและใช้สีสันตามสมัยนิยม
เป็นผ้าไหมจากปีนัง คนภูไทจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ทอขึ้นเรียกว่าผ้าไหมแพรวา ซึ่งใช้เป็นผ้าคลุมไหล่ โดยอาศัยเทคนิคผสมผสานกัน 3 รูปแบบ
ในผืนผ้าที่ทำขึ้นเป็นลายผ้าทรงเรขาคณิต ผ้าไหมแพรวาที่มีคุณภาพจะมีความแตกต่างกันในแต่ละส่วน
สีของเส้นไหมที่ใช้เป็นสีส้ม, ดำ และสีขาว ซึ่งจะติดกับสีแดงที่เป็นสีสันของผ้า
ผ้ามัดหมี่
มีกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การมัดหมี่แพร่หลายทั่วไปทั้งภาคกลางและภาคเหนือ ส่วนใหญ่ผ้ามัดหมี่จะมัดเฉพาะเส้นไหมพุ่ง
ผ้ามัดหมี่ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ผ้าหางกระรอก ผ้าโฮล ผ้าปูมผ้ามัดหมี่ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ผ้า 2 ตะกอ และผ้า 3 ตะกอ
มีลักษณะผ้าเนื้อแน่นและด้านหน้าเงางามกว่าด้านหลัง
ผ้ามัดหมี่อีสานเหนือ
ผ้าไหมมัดหมี่เป็นลายผ้าที่ทำขึ้นแตกต่างกันไป ไหมเส้นยืนจะย้อมสีด้วยสีโทนเข้ม เป็นลายผ้าของคนไทยทางภาคอีสานเหนือ
ลวดลายที่เฉพาะเป็นพวกสัตว์ป่าขึ้นอยู่กับแต่ละสภาพพื้นที่
ผ้ามัดหมี่อีสานใต้
เป็นผ้าไหมของคนอีสานใต้ ซึ่งสีส่วนใหญ่ออกโทนเข้มดำ ด้วยลายรูปทรงเขาคณิต ลักษณะของการทอเป็นลายมัดหมี่
ลวดลายที่ทำขึ้นอยู่บนพื้นฐานของธรรมชาติในท้องถิ่นนั้น เป็นลายต้นไม้ หรือลายที่ออกแบบทางสถาปนิกเป็นคนขี่ม้า เป็นต้น
ผ้าเบี่ยงขิด
ลักษณะลายผ้าเป็นรูปทรงเรขาคณิตโดยทำเป็นแถบคู่ขนานกัน คุณภาพที่ดีที่สุดของผ้าสไบที่ออกแบบมานั้นจะไม่มีการทำซ้ำกัน
ผ้าไหมเกาะหรือล้วง
เป็นลายผ้าไหมที่ทอจากคนไทยลือที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ เช่น จังหวัดน่าน และพะเยา ลักษณะลายผ้า เรียกว่า ลายน้ำไหล
ซึ่งหมายถึงเป็นลักษณะของสายน้ำไหล ลวดลายเรียบง่าย แต่ทำได้ยากยิ่ง
ทำด้วยเทคนิคพิเศษที่สืบทอดกันมา ซึ่งอาศัยเวลานานการทำลวดลายโดยจะมีแถบลายแคบๆ บริเวณกึ่งกลางของผ้า
ผ้าไหมพื้น
ไม่มีลายโดยใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งเป็นสีเดียวกันหรือใช้สีต่างกันก็ได้ เป็นผ้าที่นิยมใช้กันทั่วไป ซึ่งผ้าไหมไทยที่ส่งออกต่างประเทศ
เครดิต :