ไข่ผำอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรมองข้าม
ย้อนกลับไปเมื่อ10ถ้าใครหลายคนเห็นครั้งแรกก็คงคิดเหมือนผมว่าทานกันไปได้ไงตระไคร้น้ำ แต่ด้วยความที่อยากลองและคิดว่าถ้ามันทานไม่ได้เค้าคงไม่นำมาปรุงเป็นอาหารอย่างแน่นอนหลังจากนั้นเป็นต้นมาผมก็ชอบทานมันมาก ถ้าขึ้นไปเที่ยวเหนือทีไรเป็นต้องหามาปรุงเป็นอาหารจานโปรดทุกทีไป เรามาทำความรู้จักกับเจ้า ไข่ผำ กันเลย
ผู้รู้บอกไว้ว่า..“ผำ” หรือเรียกว่า ไข่แหน (Fresh water Alga, Swamp Algae) รู้กันกันในชื่อ ไข่น้ำ, ไข่ขำ และ ผำ มีชื่อพื้นเมืองทางภาคเหนือเรียกว่า ผำ ทางภาคกลางเรียกว่า ไข่น้ำ ส่วนทางภาคอีสานเรียกว่า ไข่ผำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า วอลฟ์เฟีย กลอโบซ่า (Wolffia globosa Hartog & Plas.)จัดอยู่ในวงศ์เล็มนาซีอี้(LEMNACEAE)
คุณค่าทางหาร
ผำ มีสารอาหารเยอะ ผำ 100 กรัม ให้พลังงาน 8 กิโลแคลอรี่ เยื่อใย 0.3 กรัม ให้แคลเซี่ยม 59 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 66 มิลลิกรัม และยังมีวิตามิน A B C ไนอาซีน ผำจึงมีคุณค่าและให้สารอาหารสูง ผำ (Wolffia Globos HARTOG&PLAS) มีลักษณะเป็นไม้น้ำ ใบเป็นก้อนกลมสีเขียวลอยอยู่เหนือผิวน้ำ มีขนาดของเม็ดรวมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.1 - 0.2 ม.ม. ซึ่งมีขนาดเล็กมาก ดูเผิน ๆ คล้ายไข่ปลา แต่เป็นสีเขียวจำนวนแสนหรือล้านต้น ลอยกระจายคลุมผิวน้ำที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งเต็มไปหมด
วิธีการปรุงอาหาร
แกงไข่ผำ
เครื่องปรุง
ไข่ผำ หมู ปลาย่างหรือไก่ได้ทั้งนั้น พริกแห้ง หัวหอม กระเทียม ตะไคร้ ต้นหอม กะปิ ใบแมงลัก น้ำปลา น้ำปลาร้าต้ม ใบมะกรูด
วิธีทำ
1. ล้างไข่ผำ ใส่หม้อตั้งไฟ ใส่น้ำนิดหน่อย
2. ตำพริกแกง ประกอบด้วย พริกแห้ง หัวหอม กระเทียม ตะไคร้ กะปิ ใบมะกรูด โขลกให้ละเอียด
3. หั่นหมูเป็นชิ้นพองาม พอน้ำต้มไข่ผำเดือดค่อยใส่หมู พริกแกง เติมน้ำปลา น้ำปลาร้าต้ม ปรุงรสตามชอบ ก่อนยกลงใส่ต้นหอมหั่นเป็นท่อนๆ เด็ดใบแมงลักใส่ลงไปด้วย ถ้าเป็นเมนูแถวอุบลฯ เขาจะแกงไข่ผำใส่ปลาหลดย่าง วิธีการก็คล้ายกัน ประยุกต์เอาตามชอบก็แล้วกัน