Displacement ทำไมเราจึงมักพูดไม่ดีกับคนใกล้ตัว? คนใกล้ตัวมักกลายเป็นสนามอารมณ์ ให้ใครบางคนเดือดดาลใส่แบบไม่ไยดี
ทำไมเราจึงมักพูดไม่ดีกับคนใกล้ตัว?
‘Displacement’ ทฤษฎีทางจิตวิทยาของ ‘Sigmund Freud’ ได้อธิบายไว้ว่า พฤติกรรมดังกล่าว คือ กลไกการป้องกันจิตใจ โดยการย้าย หรือ ถ่ายโอนความรู้สึกแง่ลบที่มีต่อคน หรือสิ่งของหนึ่ง ไปยังบุคคล หรือสิ่งของอื่นที่อันตรายน้อยกว่าแทน เพื่อระบายความโกรธ ความคับข้องใจ ความเศร้า หรืออารมณ์แง่ลบด้านอื่น ๆ ออกไป ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น ไม่ต้องเก็บกดอารมณ์เหล่านั้นไว้ภายใน
อย่างเช่น สามีที่เป็นพนักงานบริษัท โดนเจ้านายตำหนิ แต่ไม่สามารถโต้ตอบกลับได้ เพราะมีอำนาจน้อยกว่า เมื่อกลับถึงบ้าน จึงถ่ายโอนความโกรธนี้ไปยัง ‘ภรรยา’ ซึ่งเปรียบเสมือนตัวเลือกที่ไม่อันตราย เพราะสามีมองว่า ถึงแม้เขาจะต่อว่าหรือใช้อารมณ์กับภรรยา เธอก็ยังคงคบหากับเขาต่อไป ต่างจากการมีปัญหากับเจ้านาย ที่อาจส่งผลให้เขาโดนไล่ออก
กรณีพี่น้อง ซึ่งเติบโตมาในครอบครัวที่เข้มงวด อย่างเช่น พี่คนโตมักถูกคาดหวังมากกว่าน้องคนอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดความกดดันภายในใจ หากมีเหตุการณ์ทะเลาะกับพ่อแม่ คนเป็นพี่จึงมีโอกาสเบี่ยงเบน ‘เป้าหมายในการระบายอารมณ์’ จากผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในครอบครัว มาเป็น ‘น้อง’ ที่อายุน้อยกว่า เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า โดยส่วนมากแล้ว ระดับอำนาจจะผูกโยงกับลำดับอายุ
ทบทวนตัวเองด้วยคำถามต่อไปนี้ เพื่อสังเกตแนวโน้มระบายอารมณ์ใส่คนใกล้ชิดว่าเข้าข่าย Displacement มากแค่ไหน
ซึ่งเป็นผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ Journal of Personality and Social Psychology ในปี 2006
1.เมื่อโกรธหรือโมโห ฉันเอาแต่หมกมุ่นอยู่กับอารมณ์โกรธเคืองเหล่านั้นเป็นวัน ๆ หรือไม่
2.เมื่อใคร หรืออะไรก็ตามทำฉันโกรธ หรืออารมณ์เสีย ฉันมักจะระบายความโกรธใส่คนอื่นเสมอ
3.เมื่อฉันไม่พอใจ ฉันต้องการแสดงออกให้คนอื่นรู้ว่าฉันไม่พอใจ
4.คนในครอบครัว คนรัก เพื่อน และลูกน้อง มักกลายเป็นที่ระบายอารมณ์ของฉัน ทั้งที่พวกเขาไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องที่ทำให้คุณโกรธ
5.เมื่อทำอะไรสักอย่างผิดแผน หรือรู้สึกไม่ได้ดั่งใจหวัง ฉันจะพาลใส่ใครก็ตามที่เห็นว่าเกะกะสายตา
หากตอบ ‘ใช่’ ทุกข้อ แปลว่า เราจัดการความโกรธไม่ได้ และกำลังมองเห็นคนใกล้ตัวเป็นเพียงสนามอารมณ์ที่จ้องเอาความเดือดดาลไปสาดใส่พวกเขาอย่างไม่ไยดี ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น






