เคี้ยวอาหารไม่ละเอียดส่งผลเสียอย่างไร? จะดีกว่ามั้ยหากเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน
การบดเคี้ยวอาหารในช่องปาก (mastication) คือ การทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง มีพื้นที่ผิวสัมผัสกับเอนไซม์ในน้ำลายได้มากขึ้น ทำให้กลืนได้ง่าย เพื่อลงไปสู่ระบบการย่อยอาหารในขั้นต่อไป
เมื่อเคี้ยวอาหารไปสักพักสิ่งที่เกิดขึ้นคือ กลไกทางกลในการเคี้ยวจะไปกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายหลั่งน้ำลายออกมา น้ำลายจะไปคลุกเคล้าอนุภาคของอาหารที่แตกออกมาเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกกลไกนี้ว่า การมารวมกลุ่มกันเกาะกันเป็นก้อนใหญ่ (agglomeration) เกิดเป็นโบลัส (bolus) ซึ่งเป็นก้อนอนุภาคอาหารที่มีสภาวะที่เหมาะสมที่สามารถกลืนเข้าสู่หลอดอาหารโดยไม่เกิดการติดคอ
ผลเสียของการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
1.การย่อยอาหารไม่เต็มที่ เมื่อเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดเพียงพอ อาจทำให้ระบบย่อยอาหารไม่สามารถทำงานเต็มที่ อาจส่งผลให้รายการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์ และ สารอาหารที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้รับการดูดซึมอย่างเต็มที่ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและซ่อมแซมระบบต่าง ๆ
2.การทำลายโครงสร้างอาหาร การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดอาจทำให้เกิดความเสียหายในโครงสร้างของอาหาร ทำให้สูญเสียส่วนสำคัญของอาหาร เช่น ใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร และ ระบบของลำไส้ให้มีสภาพดี
3.การเปลี่ยนแปลงสารอาหาร การเคี้ยวอาหารที่ไม่ละเอียดอาจเปลี่ยนแปลงสภาพของสารอาหาร เช่น แป้งที่อาจกลายเป็นน้ำตาลโดยเร็วขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นลง เป็นสาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
4.การกินมากเกินไป เมื่อกินอาหารโดยไม่เคี้ยวให้ละเอียด อาจทำให้กินมากเกินไป โดยไม่ตระหนักถึงความอิ่มของท้องเปล่า ซึ่งส่งผลให้เกิดการกินพลังงานเกินไปและนำไปสู่การสะสมน้ำหนักเกิน
5.การส่งเสริมการกินอาหารที่ไม่ดี การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดอาจส่งเสริมการกินอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลและไขมันสูง ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอ้วน
ผลดีของการเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
1.การเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น ทำให้กระเพาะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ช่วยให้สารอาหารถูกดูดซึมเข้าสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ง่ายขึ้น และ ทำให้มีระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีเป็นปกติ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี
2.การเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ดีต่อผู้ป่วยกรดไหลย้อน เพราะ การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดก่อนกลืน จะทำให้กระเพาะอาหารทำงานหนัก (เพื่อกระตุ้นน้ำย่อยออกมาช่วยย่อยอาหาร) จึงกระตุ้นให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน ควรเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เช่น เคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อแบ่งเบาการทำงานของกระเพาะอาหาร ควรเว้นระยะเวลากินอาหาร 3-4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพื่อให้อาหารได้เคลื่อนตัวจากกระเพาะไปสู่ลำไส้เพื่อดูดซึมต่อไป
3.ช่วยลดน้ำหนัก ยิ่งเคี้ยวอาหารนานเท่าไหร่ ยิ่งต้องใช้เวลาในการกินนานขึ้นเท่านั้น ซึ่งตรงกับงานวิจัยที่ชี้ว่า การกินอาหารช้า ๆ สามารถช่วยให้กินน้อยลง ส่งผลให้น้ำหนักคงที่ ไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ในที่สุด
4.กระตุ้นการทำงานของสมอง การเคี้ยวสามารถส่งสัญญานเชื่อมต่อไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้องการกับการเรียนรู้ ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ให้ดีขึ้น
5.ช่วยให้ฟันแข็งแรง การเคี้ยวเป็นการบริหารกระดูกที่พยุงฟันให้แข็งแรง น้ำลายที่ออกมาระหว่างเคี้ยว ยังช่วยลดการสะสมของคราบหินปูน ช่วยให้ฟันผุน้อยลง
6.เสี่ยงเบาหวานน้อยลง การกินเร็ว โดยเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 มากกว่าคนที่กินด้วยความเร็วตามปกติถึง 2.5 เท่า
7.กินอย่างเอร็ดอร่อย มีรสชาติมากขึ้น การค่อย ๆ บดเคี้ยวอาหาร ทำให้ได้ลิ้มรสอาหารแต่ละคำ รับรู้ถึงความเอร็ดอร่อยของอาหารที่อยู่ตรงหน้าได้มากกว่าการรีบเคี้ยว แล้วกลืนเลย
ข้อแนะนำในการเคี้ยวอาหารอย่างถูกวิธี
1.เคี้ยวประมาณ 10 ครั้งสำหรับอาหารที่นิ่ม เช่นข้าว หรือ ขนมปัง ขณะเดียวกันให้เคี้ยวประมาณ 20-30 ครั้ง
2.เนื้อสัตว์และผัก จำนวนครั้งในการเคี้ยวที่เหมาะสมนั้น อาจทดลองโดยการเคี้ยวชนิดของอาหารที่กิน ประมาณ 10 ครั้ง แล้วใช้ลิ้นดุนสำรวจดูว่าละเอียดเพียงพอหรือไม่ ถ้ายังรู้สึกไม่ละเอียดก็ให้เพิ่มจำนวนครั้งในการเคี้ยวให้มากขึ้น
3.การเคี้ยวของคนในแต่ละวัย ก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง โดย “วัยเด็ก” ควรสอนให้เขารู้จักการเคี้ยวหลาย ๆ ครั้งก่อนกลืนจนเป็นนิสัย เพราะถ้าเคี้ยวไม่ละเอียดเด็ก ๆ มักจะปวดท้องได้ง่าย “วัยรุ่น” อาจจะจูงใจให้เขาเคี้ยวละเอียด ๆ เพราะจะช่วยให้ฟันสวยและยังลดน้ำหนักได้
การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการย่อยอาหาร และ การนำสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย การเคี้ยวอาหารอย่างละเอียดจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี รับรู้การเต็มที่ของอาหาร สามารถนำสารอาหารไปใช้ในกระบวนการเติบโต ซ่อมแซมร่างกายได้ดีที่สุด

















