นักวิจัยเผย "ยารักษาโรคสมาธิสั้น ใช้ไม่ได้ผลกับทุกคน"
ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยสมาธิสั้นทุกคน จะตอบสนองต่อยากระตุ้น เช่น ริทาลิน ซึ่งเพิ่มระดับโดพามีนในสมอง ปัจจุบันการวิจัยใหม่ชี้ให้เห็นว่า "ประสิทธิภาพของยา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณโดพามีนที่ยาสร้างขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนและประเภทของตัวรับ ที่ตอบสนองต่อโดพามีนมากกว่า"
โรคสมาธิสั้น อาจทำให้ผู้ป่วย ไม่สามารถเรียนหนังสือ หรือ ทำงานได้ตามปกติ และ อาจมีสาเหตุมาจากโรคทางจิตเวชร่วมด้วย นอกจากโรคสมาธิสั้นแล้ว อาการสมาธิสั้น ยังเป็นอาการที่พบในผู้ป่วยจิตเวช 17 ราย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการมีสมาธิ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากเพียงใด
ยาที่กระตุ้นประสาทเช่น เมทิลเฟนิเดต [ริทาลิน คอนเซอร์ตา] ซึ่งออกแบบมาเพื่อเพิ่มสมาธิ เป็นยาหลักสำหรับรักษาโรคสมาธิสั้น อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานใหม่บ่งชี้ว่า "ผู้ป่วยสมาธิสั้น มากถึง 30% ไม่ตอบสนองต่อยาดังกล่าว" ซึ่งปัจจุบันการศึกษาวิจัยใหม่ ที่นำโดยคณะแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ และ ศูนย์คลินิกสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ได้ตี พิมพ์ลงในวารสารการวิจัย "PNAS" ว่า "เราคิดว่าปริมาณโดพามีน ที่ริทาลินผลิตขึ้นในบุคคล จะช่วยให้เราทำนายได้ว่าบุคคลนั้น จะมีประสิทธิภาพในการจดจ่อที่ดีขึ้นหรือไม่ แต่สิ่งที่เราพบนั้นซับซ้อนกว่านั้นเยอะมาก!!"
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ "ปีเตอร์ แมนซ่า" ด้านจิตเวชศาสตร์ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ ซึ่งเป็นหัวหน้าการศึกษา และ ผู้เขียนร่วมกล่าวว่า "เรากลับพบว่าประเภทของตัวรับโดพามีน ในเซลล์สมองและอัตราส่วนที่พบตัวรับเหล่านี้ สามารถทำนายประสิทธิภาพทางปัญญาได้ดีกว่า" ยาเช่นริทาลิน จะเพิ่มระดับโดพามีนในสมอง โดยการบล็อกการดูดซึมกลับของสารเคมี ซึ่งหมายความว่า โดพามีนจะคงอยู่ในไซแนปส์ ซึ่งเป็นช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทนานขึ้น ทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทดีขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณของสมองที่เกี่ยวข้องกับความสนใจ สมาธิ และการควบคุมแรงกระตุ้น การเพิ่มปริมาณโดพามีนจะทำให้ริทาลิน สามารถบรรเทาอาการสมาธิสั้นได้" และ "เพื่อตรวจสอบผลของริทาลินต่อสมอง เราได้วิจัยผู้ใหญ่ 37 คน ที่ไม่เป็นโรคสมาธิสั้นเข้าทำการสแกน MRI เพื่อวัดบริเวณการทำงานของสมอง ในขณะที่พวกเขาทำกิจกรรมสมาธิและความสนใจ การสแกน fMRI ดำเนินการกับผู้เข้าร่วมการศึกษา 2 ครั้ง โดยครั้งหนึ่งหลังจากที่ได้รับยาหลอก และ อีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ได้รับริทาลินทางปาก ปริมาณ 60 มิลกรัม นอกจากนี้ ยังทำการสแกนด้วย เครื่องถ่ายภาพรังสีโพซิตรอน เพื่อวัดระดับโดปามีน และ อัตราส่วนของประเภทของตัวรับโดปามีนใ นสมองของผู้เข้าร่วมการศึกษาด้วย"
ตัวรับโดพามีนมีอยู่ 5 ประเภท ได้แก่ D1 ถึง D5 ถึงแม้ว่าแต่ละประเภทจะมีบทบาทที่แตกต่างกัน ในการที่โดพามีนส่งผลต่ออารมณ์ การเคลื่อนไหว และ แรงจูงใจ แต่ตัวรับ D1 และ D2 มีความสำคัญต่อความสนใจเป็นพิเศษ โดยตัวรับ D1 ส่งเสริมการทำงานของระบบรับรู้ เช่น หน่วยความจำในการทำงาน ความสนใจ และการตัดสินใจ เมื่อโดพามีนจับกับตัวรับ D1 จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การประมวลผลสัญญาณ ในบริเวณของสมองที่สำคัญสำหรับ การโฟกัสและความสนใจ ในทางกลับกัน ตัวรับ D2 มีส่วนเกี่ยวข้องในการปรับเปลี่ยนระบบโดพามีนโดยรวม มากกว่า ตัวรับ D1 ซึ่งช่วยปรับการตอบสนองของสมองต่อโดพามีนให้ละเอียดขึ้น และ เชื่อกันว่ามีบทบาทในการควบคุมความซุกซนและความหุนหันพลันแล่น ซึ่งเป็นปัญหาหลักของโรคสมาธิสั้น อัตราส่วนของตัวรับ D1 ต่อ D2 มีความสำคัญเนื่องจากส่งผลต่อประสิทธิภาพ ของการส่งสัญญาณโดพามีน ในบริเวณสมองที่รับผิดชอบความสนใจและสมาธิ...
แพทย์หญิง "นอร่า โวลโคว์" ผู้เขียนบทความวิจัยอีกคน ซึ่งเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการภาพประสาท ที่สถาบันแห่งชาติเพื่อการป้องกันการติดสุราและโรคพิษสุราเรื้อรัง ของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า "การส่งสัญญาณที่สมดุลระหว่างตัวรับ D1 และตัวรับ D2 ในสมองมีความจำเป็นต่อการทำงานที่เหมาะสมที่สุดของสมอง และ ความแตกต่างในการส่งสัญญาณสัมพันธ์กันนั้น ส่งผลต่อทั้งประสิทธิภาพการรับรู้พื้นฐานที่แตกต่างกัน และ เป็นสาเหตุว่าทำไมบางคนจึงดีขึ้น ในขณะที่คนอื่นๆมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อได้รับริทาลิน" และ "สิ่งที่เราพบก็คือ ผู้ที่มีอัตราส่วน D2 ต่อ D1 ที่สูงกว่ามีประสิทธิภาพการรับรู้พื้นฐานที่แย่ลง แต่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมากกว่า เมื่อรับประทานริทาลิน เมื่อเทียบกับยาหลอก"
นักวิจัยพบว่า "ในการทดสอบพื้นฐาน ผู้เข้าร่วมที่มีอัตราส่วนตัวรับ D1 ต่อ D2 สูงกว่าจะมีผลงานด้านความจำดีกว่า ผู้ที่มีอัตราส่วนตัวรับ D2 ต่อ D1 สูงกว่า" และ "ผู้ที่มีระดับตัวรับ D1 สูงกว่าตัวรับ D2 มีแนวโน้มที่จะทำงานด้านความจำได้ดีกว่า การสแกน fMRI แสดงให้เห็นระดับการทำงานที่สูง ในคอร์เทกซ์ส่วนหน้าของสมอง ซึ่งเป็นบริเวณที่สำคัญสำหรับการทำงานระดับสูง เช่น การวางแผน การตัดสินใจ และ การควบคุมตนเอง"
อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมกลุ่มเดียวกัน ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงความสนใจ อย่างมีนัยสำคัญ หลังจากได้รับยาหลอกหรือริทาลิน ถึงแม้ว่าริทาลินจะเพิ่มระดับโดปามีนของพวกเขาก็ตาม...
นายแพทย์ "มาร์ค แกลดวิน" ซึ่งเป็นคณบดีของ คณะแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษานี้ กล่าวว่า "สิ่งนี้อาจช่วยให้เราพยายามปรับการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ ให้เหมาะกับแต่ละคน" และ "แสวงหาการรักษาที่มีประโยชน์มากขึ้น ซึ่งรวมถึงการบำบัดทางพฤติกรรมและความคิด"





















