ย้อนรอยประวัติความเป็นมาของคำว่า ผีทะเล
ย้อนรอยประวัติความเป็นมาของคำว่าผีทะเล
ประวัติความเป็นมาของคำว่าผีทะเลผีทะเลมีที่มาที่ไปอย่างไรและมีความหมายไปในทางไหนเรามีคำตอบมาให้คุณครับ
ผีทะเล เชื่อกันว่าเป็นวิญญาณของคนที่ตายในทะเล ผีทะเลปรากฏให้เห็นในหลายลักษณะ อาจจะมาเป็นรูปลักษณ์ของคนเดินลากปลาตัวใหญ่ขึ้นมาจากทะเลในตอนกลางคืนบ้าง (ถูกปลากินตาย) หรือขึ้นมาบนเรือในยามกลางคืนขณะที่ชาวประมงออกเรือหาปลาบ้าง ผีทะเลที่ขึ้นบนเรือนี้
มักจะมาในลักษณะเป็นดวงไฟสว่างอยู่บนเสากระโดงเรือ และชาวประมงเชื่อกันว่าถ้าผีทะเลได้ไต่ขึ้นเกาะบนเสากระโดงเรือแล้ว จะทำให้เรือลำนั้นอัปปางลง
ภาพวาดแสดงปรากฏการณ์ เปลวเพลิงแห่งเซนต์เอลโม
ปรากฏการณ์ผีทะเลอย่างหลังนี้ ชาวตะวันตกเรียกว่า เปลวเพลิงแห่งเซนต์เอลโม (St. Elmo's Fire) เป็นปรากฏการณ์ที่ไฟฟ้าสถิตย์ในอากาศไหลลงสู่ที่ต่ำโดยผ่านวัตถุต่าง ๆ เช่นเสากระโดงเรือ มักจะเกิดในวันที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง
ในวรรณคดีไทยเอง ก็มีการกล่าวถึงผีทะเลเอาไว้เช่นกัน ก็คือ "นางผีเสื้อสมุทร" ในวรรณคดีเรื่อง "พระอภัยมณี" ของกวีเอกแห่งสยาม สุนทรภู่ นั่นเอง ซึ่งนางผีเสื้อสมุทรเป็นยักษ์ที่มีอิทธิฤทธิ์อำนาจมาก และเป็นใหญ่ที่สุดในบรรดาภูตผีทั้งมวลที่สิงสู่อยู่ในท้องทะเล
ในปัจจุบัน คำว่าผีทะเลยังใช้เป็นคำด่าหรือคำตำหนิได้ด้วย แต่จะออกแนวน่ารักเสียเป็นส่วนมาก เช่นผู้ชายที่เจ้าชู้ ทำรุ่มร่ามกับผู้หญิง อาจถูกด่าว่า "คนผีทะเล" หมายความว่าคนที่หน้าตาเหมือนผีมากมาย
อ้างอิงจาก: google,พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน.














