ประวัติความเป็นมาของ ฉมบ ผีไทยรุ่นเก่าที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักนัก
ประวัติความเป็นมาของ ฉมบ ผีไทยรุ่นเก่าที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักนัก
ฉมบ [ฉะ-มบ], ฉะมบ, ชมบ หรือ ทมบ เป็นผีไทยชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มผีร้ายหรือผีเลวให้โทษ
และนับว่าเป็นผีรุ่นเก่าที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักนัก บางแห่งก็ว่าคือผีปอบตามคติชนเขมร เพราะชื่อมาจากคำเขมรว่า "ชะมอบ" (เขมร: ឆ្មប, ฉฺมบ) แปลว่า หมอตำแย ผีชนิดนี้ปรากฏอยู่ใน พระไอยการเบดเสรจ มาตราที่ 157 ตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1767[2] และปรากฏใน พระอัยการลักษณรับฟ้อง ประมวลกฎหมายตราสามดวง ซึ่งตราขึ้นช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ด้วยความที่ฉมบเป็นผียุคเก่าไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนักทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะไม่ชัดเจน เพราะเอกสารแต่ละแห่งให้ข้อมูลไม่ตรงกัน
ฉมบภาพจาก ภูตผีปีศาจไทย มีลักษณะใกล้เคียงกับฉมบ ตามคำอธิบายของราชบัณฑิตสภา
กลุ่มผีไทย
กลุ่มย่อยผีร้าย
สัตว์คล้ายคลึง
กระสือ, ปอบ, ผีโพง, ผีกะ
ประเทศประเทศไทย
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ระบุลักษณะของฉมบไว้ว่า "ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็น เงา ๆ แต่ไม่ทำอันตรายใคร, ชมบ หรือ ทมบ ก็ว่า"
ส่วน อักขราภิธานศรับท์ (2461) ระบุลักษณะของฉมบไว้ว่า "คนมีผีกะสือ, ผีตะกละ, เข้าสิงอยู่ในตัว, มันย่อมอยากกินสิ่งของที่โศกโครกเปนต้น"
ส่วน สารานุกรมภาษาอีสานฯ ของปรีชา พิณทอง (2532) ระบุว่า "ผีปอบ เป็นผีจำพวกหนึ่งสิงอยู่ในตัวคน มีหลายชนิด คนที่ชอบกินของดิบ เช่น กบดิบ เขียดดิบ กลางคืนมักจะออกหากิน มีแสงออกตามจมูกสีเขียว พวกหนึ่งเรียกมนต์แล้วปฏิบัติตามครูสอนไม่ได้ มนต์เกิดเป็นผี กินคนอื่นไม่ได้ก็กินตัวเอง เรียก ปอบมนต์ อีกพวกหนึ่งไม่ได้เรียนอะไร แต่พี่น้องเป็นปอบ เมื่อพี่น้องตายไปแล้วปอบเข้ามาสิงอยู่ในตัว ปอบชนิดนี้เรียกปอบเชื้อ ปอบทุกชนิดหมอมนต์เขารักษาหายได้"
และเอกสารยุครัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็จัดให้ฉมบพร้อมผีอีก 10 ชนิด เข้าข่ายของความหมายว่าปีศาจ
ฉมบ ปรากฏอยู่ในกฎหมายเก่าของไทย คือ พระไอยการเบดเสรจ มาตราที่ 157 ระบุว่า ฉมบ คือผีร้าย เนื้อหา ระบุไว้ความว่า "...เจ้าเมืองและผู้รั้งเมื่อไต่สวนว่าบุคคลที่เป็นฉมบ จะกละ กระสือ กระหาง แม้ว่าจะรับเป็นสัจแล้ว อย่าให้เจ้าเมืองผู้รั้งเอาไปฆ่า ให้ส่งตัวลงมาที่กรุงไว้แต่นอกขนอน..."
ส่วนเอกสารยุคหลังอย่าง พระอัยการลักษณรับฟ้อง ประมวลกฎหมายตราสามดวง ได้กำหนดลักษณะต้องห้ามเป็นเหตุได้ยกฟ้องได้ 20 ประการ ซึ่งข้อที่ 20 ได้ระบุเนื้อหาเกี่ยวกับฉมบไว้ว่า "...ถ้าแลอนาประชาราษฎรมีถ้อยคำร้องฟ้องศาลา แลฟ้องร้องเรียนกฎหมายโรงสารกรมใด ๆ …. อนึ่งเปนสัจว่าเปนฉมบจะกละกะสือ แลมาฟ้องร้องเรียนแก่มุขลูกขุนก็ดี
… แลราษฎรผู้ต้องคะดีมีถ้อยคำตัดฟ้อง ๒๐ ประการนี้ท่านให้มุขลูกขุนพิภากษาตามบทพระไอยการพระราชกฤษฏีกา ถ้าต้องด้วยพระไอยการห้าม ๒๐ ประการนี้แล้วให้ยกฟ้องเสีย"






