เจาะลึก "สังคมคนโสด" คนไทยครองโสดมากขึ้น เปิดปัจจัย ทำไมไม่มีคู่
สถานภาพของคนในสังคม พบว่า คนโสด มีมากขึ้น ขณะที่คนมีคู่มีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ชีวิตร่วมกันมากขึ้น
ข้อมูลเรื่อง “ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567” โดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า สถานการณ์คนโสด ปี 66
- 1 ใน 5 หรือราว 9% ของคนไทยเป็นคนโสด
- คนโสดช่วงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15 – 49 ปี มีสัดส่วนอยู่ที่ 5% สูงกว่าภาพรวมประเทศเกือบเท่าตัว รองลงมา คือ ช่วงอายุ 26 -35 ปี สัดส่วน 29.7% ช่วงอายุ 37 – 49 ปี สัดส่วน 19.4%
- คนโสดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วนคนโสดต่อประชากรเชิงพื้นที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นที่ 4%
- 1 ใน 3 ของคนโสด 7% จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป แบ่งเป็น ชาย 25.7% และ หญิง 42%
ปัจจัยที่ทำให้คนครองตัวเป็นโสด
1.ค่านิยมทางสังคมสมัยใหม่
- SINK (Single Income, No Kids) คนโสด มีรายได้ แต่ไม่มีลูก คนโสดกลุ่มนี้ไม่มีภาระเรื่องลูก จึงใช้จ่ายเงินไปกับการเติมความสุขให้ตนเอง อย่างเช่น อาหาร การเดินทาง การทำบุญ เป็นที่หมายปองของสินค้า Luxury ต่าง ๆ สัดส่วนของคนโสด SINK จะสูงขึ้นตามระดับรายได้ที่มากขึ้นด้วย
- PANK (Professional Aunt, No Kids) สาวโสดที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป มีรายได้ อาชีพการงานดี แต่ไม่มีลูก สะท้อนคุณค่าของผู้หญิงที่เปลี่ยนแปลงไป จากความสำเร็จของผู้หญิง คือ การแต่งงานมีลูก เป็นผู้หญิงที่มุ่งจะประสบความสำเร็จในชีวิตไม่แพ้ผู้ชาย มากกว่า การตามหาความรัก
กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการเป็น คุณป้าที่คอยดูแล สปอยหลาน ๆ ในครอบครัว กลุ่ม PANK ในประเทศไทยมีอยู่ราว 2.8 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็น ผู้มีรายได้ มีการศึกษาสูง จบปริญญาตรีขึ้นไป มีอาชีพหลัก ได้แก่ ผู้ประกอบวิชาชีพ 33.1% หน้าที่เทคนิค 28.2% พนักงานบริการหรือผู้จำหน่ายสินค้า 13.6% เสมียน 12% และผู้จัดการ 8.6% ตามลำดับ
- Waithood คนโสด ที่เลือกจะรอคอยคนที่ใช่ เพราะความไม่พร้อมและความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ทำให้รู้สึกว่าถ้าคนที่ใช่ มันก็ใช่เอง ตอนนี้ขอโฟกัสความสำเร็จ การงาน การเงิน ของตัวเองก่อน ค่านิยมนี้ส่วนหนึ่งสะท้อนจากคนโสดที่มีรายได้ต่ำ ส่วนใหญ่เป็น เพศชาย มีระดับการศึกษาไม่สูงมากนัก หารายได้ได้จำกัด โดยอาชีพส่วนใหญ่ คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านเกษตร ประมง และงานพื้นฐาน และเป็นผู้ไม่ได้ทำงานถึง 9%
2.ความคาดหวังและความต้องการที่ไม่สอดคล้องกัน
- ความคาดหวังต่อบทบาทของผู้หญิง วัฒนธรรมทางสังคมที่คาดหวังต่อบทบาทผู้หญิงที่แต่งงานแล้วสูงขึ้น โดยเฉพาะในประเทศในทวีปเอเชีย ที่ผู้หญิงจะต้องทำหน้าที่ทั้งภรรยา แม่บ้าน ควบคู่กับการหาเลี้ยงครอบครัวไปด้วย ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ที่อาจจะมากเกินไปในภาวะสังคมปัจจุบัน
- ความต้องการของแต่ละเพศ
ความต้องการของผู้หญิง
83% ของผู้หญิง เลือกที่จะไม่คบกับผู้ชายที่มีส่วนสูงน้อยกว่า
76% ของผู้หญิง เลือกที่จะไม่ออกเดทกับผู้ชายที่มีรายได้น้อยกว่า
เมื่อสังคมเปิดกว้างมากขึ้น ทำให้พบปรากฏการณ์ที่ผู้หญิงแท้รู้สึกว่า เกย์น่ารัก และอยากมีแฟนเป็นเกย์มากขึ้น
ความต้องการของผู้ชาย
60% ของผู้ชาย เลือกที่จะไม่คบกับผู้หญิงที่เคยหย่าร้าง
59% ของผู้ชาย เลือกที่จะไม่คบกับผู้หญิงที่ตัวสูงกว่า
3.โอกาสในการพบปะผู้คนน้อย คนโสดชาวไทย ทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 43.2 ชม./สัปดาห์ หรือทำงานตกวันละ 8 – 9 ชม./วันธรรมดา ไม่รวมวันเสาร์ อาทิตย์ ซึ่งสูงกว่าภาพรวมประเทศที่อยู่ที่ 42.3 ชม./สัปดาห์ รวมถึงกรุงเทพฯ ยังเป็นเมืองอันดับ 5 ที่แรงงานทำงานหนักที่สุดในโลกอีกด้วย เมื่อต้องทุ่มเทเวลาและพลังที่มีไปกับการทำงาน โอกาสในการพบเจอคนอื่น ๆ จึงน้อยลง






















