ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง แม้ว่าจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่แล้ว ก็ยังคงมีอาการอ่อนล้า ไม่สดชื่น
ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome) : CFS กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง คือ กลุ่มอาการ หรือ ภาวะความผิดปกติในระบบร่างกาย ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน รวมทั้งทางด้านจิตใจ เป็นอาการที่บ่งบอกว่าร่างกายควรพักผ่อน
ในบุคคลปกติทั่วไปหากได้รับการนอนหลับพักผ่อนระยะเวลาที่พอดีก็สามารถตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น แต่ผู้ป่วยที่ประสบอยู่ในภาวะนี้ แม้ว่าจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่แล้ว ก็ยังคงมีอาการอ่อนล้า ไม่สดชื่น เหมือนคนทั่วไป ไม่ควรปล่อยปละละเลยไว้ เพราะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน
สาเหตุภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังเกิดจากอะไร
สาเหตุที่แน่ชัดยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ หรือ วิทยาศาสตร์รองรับ แต่มีข้อสันนิษฐานว่าเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ
1.การขาดความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ฮอร์โมนที่ผลิตจากไฮโปทาลามัส
- ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
- ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
2.สุขภาพจิตที่ผิดปกติ
- ภาวะเครียด
- โรคซึมเศร้า
3.การติดเชื้อแบคทีเรีย
- แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคปอดบวม
- ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ผิดปกติ
อาการภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง
- ปวดศีรษะ
- วิงเวียนศีรษะ
- เหนื่อยล้า
- ไม่ค่อยมีสมาธิ
- ความจำไม่ค่อยดี
- มีต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ หรือ ที่คอใหญ่ขึ้น
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อกระดูก
- มีปัญหาในการนอนหลับ
ต้องทำอย่างไร? ให้กลับมามีพลังงานที่ดีอีกครั้ง
- พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการอดนอน
- กินอาหารที่ช่วยให้ร่างกายมีพลังงานที่ดี กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นเป็นแป้งที่ไม่ผ่านการขัดสีมากนัก เช่น ข้าวกล้อง ผักให้หลากหลาย ผลไม้ที่มีรสไม่หวานนักให้เพียงพอ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- เน้นการออกกำลังกายที่ไม่ใช้การแข่งขัน เช่น โยคะ การนั่งสมาธิ ฝึกกำหนดลมหายใจ
- เน้นการผ่อนคลายอารมณ์ ลดความเครียด เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำงานศิลปะ งานอดิเรกที่ชื่นชอบ
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ยิ่งกระตุ้นการทำงานของร่างกาย เช่น กาแฟ เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายทำงานหนักขึ้นและยิ่งอ่อนล้ามากขึ้นในระยะยาว
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ การสูบบุหรี่
- พบและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ Anti-Aging เพื่อให้คำแนะนำด้านต่าง ๆ รวมทั้งกินอาหารเสริมกลุ่มที่ช่วยในการเสริมสร้างพลังงานให้กับร่างกาย เช่น วิตามินบี วิตามินซี โคเอนไซม์คิวเทน
ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย อาการอ่อนล้าเรื้อรัง นอกจากส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานในชีวิตประจำวันแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้นานวันเข้าโดยปราศจากการดูแลอย่างถูกวิธีอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ในอนาคต














