นอนไม่หลับ เกิดจากอะไร? สาเหตุและวิธีจัดการก่อนจะสายเกินแก้
นอนไม่หลับ เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและวัยทำงาน อาการของการนอนไม่หลับมักจะมีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ นอนหลับไม่สนิท หรือเมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้ากลับรู้สึกไม่สดชื่น ทั้งนี้ หากปล่อยให้มีอาการนอนไม่หลับต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะโรคนอนไม่หลับ โดยจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงานและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
ดังนั้น การเฝ้าสังเกตและแก้ไขอาการนอนไม่หลับตั้งแต่ระยะแรกเริ่มจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหานี้กลายเป็นอุปสรรคในชีวิตประจำวันของเรา
ทำความรู้จักกับอาการนอนไม่หลับ (Insomnia)
อาการนอนไม่หลับ (Insomnia) คือปัญหาการนอนที่หลายคนเคยเจอ เช่น นอนหลับยาก ใช้เวลานานกว่าจะหลับ หลับไม่สนิท หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดทั้งคืน บางคนอาจตื่นกลางดึกแล้วไม่สามารถหลับต่อได้ หรือแม้จะนอนครบชั่วโมงก็ยังรู้สึกเหมือนไม่ได้พักผ่อน
ผลของการนอนไม่หลับทำให้รู้สึก พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน ตื่นเช้าขึ้นมาก็ยังรู้สึกอ่อนล้า และในระหว่างวันมักรู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสมาธิ อารมณ์ และความสามารถในการทำสิ่งต่าง ๆ การนอนไม่หลับอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ถ้าเกิดบ่อยครั้งจนส่งผลต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก
อาการนอนไม่หลับสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง
ภาวะอาการนอนไม่หลับสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบได้บ่อยมักเกี่ยวข้องกับความเครียดในชีวิตประจำวัน และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่มีภาวะนอนไม่หลับเกิดปัญหา ชอบตื่นกลางดึกหรือสะดุ้งตื่นกลางดึกเป็นบางครั้ง โดยสาเหตุหลักอาการนอนไม่หลับที่พบบ่อย มีดังนี้
- ความเครียดและความกังวล จากการทำงาน การเรียน หรือปัญหาส่วนตัว อาจทำให้นอนไม่หลับสมองไม่หยุดคิด ส่งผลให้หลับยากหรือหลับไม่สนิท
- ปัญหาสุขภาพร่างกาย เป็นโรคบางชนิด เช่น โรคกรดไหลย้อน อาการปวดเรื้อรัง หยุดหายใจขณะที่กำลังหลับ โรคซึมเศร้าเรื้อรัง โรควิตกกังวล โรคไบโพลาร์ หรือโรคทางจิตเวชอื่น ๆ
- มีพฤติกรรมการนอนที่ไม่เหมาะสม ชอบนอนไม่เป็นเวลา นอนดึกจนเกินไป ชอบเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน หรือนอนในที่ไม่คุ้นเลย อาจทำให้มีอาการนอนไม่หลับกระสับกระส่าย
- ร่างกายได้รับสารกระตุ้นหรือยาบางประเภท เช่น คาเฟอีน แอลกอฮอล์ หรือใช้ยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงต่อระบบประสาท
นอนไม่หลับจะเกิดผลเสียต่อร่างกายอย่างไร
ภาวะของการนอนไม่หลับไม่เพียงแต่ส่งผลให้การพักผ่อนนั้นมีคุณภาพต่ำ แต่ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อเกิดอาการนอนแล้วกระตุก ที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบประสาทในระหว่างการนอน ซึ่งทำให้การนอนหลับถูกขัดจังหวะและไม่สามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
ผลจากการพักผ่อนไม่เพียงพออาการนอนไม่หลับ จะทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียตลอดวัน สมองไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และมักรู้สึกง่วงนอนตลอดเวลาไม่สดชื่น ทั้งยังส่งผลต่ออารมณ์ทำให้หงุดหงิดง่าย รู้สึกเครียด รู้สึกวิตกกังวล และถ้าหากปล่อยให้อาการนอนไม่หลับนานกว่า 3 เดือนขึ้นไป อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เสี่ยงต่อโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
นอนไม่หลับสามารถรักษาด้วยวิธีใดบ้าง
วิธีการรักษาอาการนอนไม่หลับมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี หลัก ๆ ได้แก่ รักษาด้วยการใช้ยา และรักษาโดยไม่ใช้ยา ซึ่งแต่ละวิธีจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการนอนไม่หลับของแต่ละบุคคล จะขึ้นอยู่ดุลพินิจของแพทย์ในการเลือกใช้ โดยรายละเอียดวิธีการรักษาอาการนอนไม่หลับ ดังนี้
รักษาอาการนอนไม่หลับโดยการใช้ยา
วิธีนี้จะเป็นวิธีรักษาที่เหมาะสมกับผู้เคยเข้ารับการรักษาโดยไม่ใช้ยามาก่อนแต่ไม่เห็นผลจึงจะใช้วิธีนี้ ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษาจะเป็นยาจำพวก Benzodiazepine, Non-Benzodiazepine, Orexin Receptor antagonist, Sedating Antidepressant เป็นต้น โดยยาเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น รู้สึกง่วง ซึม เดินเซ และมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
รักษาอาการนอนไม่หลับโดยไม่ใช้ยา
วิธีนี้เป็นการแก้อาการนอนไม่หลับด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนหลับให้เร็วขึ้น งดเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอน หลีกเลี่ยงกินอาหารมื้อหนัก เปลี่ยนห้องนอนใหม่ให้มืดสนิท เย็นสบาย หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
วิตามินช่วยให้นอนหลับ มีอะไรบ้าง
นอนไม่หลับ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ ติดต่อกันหลายวันนอกจากวิธีการรักษาข้างต้นแล้ว คุณยังสามารถเลือกทานอาหารเสริมหรือวิตามินต่าง ๆ ที่มีสรรพคุณช่วยทำให้นอนหลับ หลับได้ดีขึ้น อาทิ วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และกรดโฟลิก ช่วยในการสร้างเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และเป็นสารตั้งต้นของเมลาโทนิน
นอนไม่หลับ อาการที่ไม่ควรมองข้าม อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้
สำหรับคนที่มีอาการนอนไม่หลับสะสมหลายอาทิตย์หรือนานเป็นเดือน อย่าปล่อยไว้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจอย่างรุนแรงได้ การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอจะทำให้ร่างกายอ่อนล้า ระบบภูมิคุ้มกันทำงานบกพร่อง และอาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ ได้ ควรรีบหาวิธีแก้ไขและปรึกษาแพทย์ร่วมด้วยเพื่อหาแนวทางรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ