ปวดขมับ ท้ายทอย คือ สัญญาณเตือน โรคไต !
อาการ ปวดขมับ ท้ายทอย อาจคล้ายกับอาการปวดหัวธรรมดาทั่วไป แต่รู้หรือไม่อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็น “โรคไต” ได้ เนื่องจากอาการปวดศีรษะ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยมากที่สุดในปัจจุบัน และ สาเหตุของอาการปวดก็มีหลากหลาย ดังนั้นหากมีอาการปวดขั้นรุนแรงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยพร้อมการรักษาอย่างถูกวิธีโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สัญญาณเตือนของอาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง “หากมีอาการ ปวดขมับ ท้ายทอย เหมือนโดนบีบขมับ” อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้
โรคไต เกิดจากภาวะของไตที่ทำงานผิดปกติ สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่โดยส่วนใหญ่มักพบในวัยผู้สูงอายุ ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดโรค คือ การกินอาหารรสจัด อย่างรสเค็มในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน ๆ เป็นความดันโลหิตสูง นอกจากนี้อาจเกิดจากสาเหตุภายนอกร่วมด้วย การใช้ชีวิตประจำวันด้วยพฤติกรรมเดิม ๆ ไม่ออกกำลังกาย กินยาที่เป็นพิษต่อไต สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง พันธุกรรมที่ผิดปกติ และ โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน
5 สัญญาณอันตราย เมื่อ โรคไต ถามหา
1.อาการปวดหัว ในคนที่อายุน้อย โดยปกติในคนที่มีอายุน้อยจะค่อนข้างมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง เนื่องจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และ ระบบการทำงานของร่างกายในส่วนอื่น ๆ ยังมีประสิทธิภาพที่ดี แต่หากมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันที่บกพร่อง ไม่ได้ประสิทธิภาพ ก็ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคได้ง่ายขึ้น หากยังอายุน้อย แต่ มีอาการปวดหัวบ่อยครั้ง ทั้งที่ใช้ชีวิตประจำวันปกติและไม่ได้เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของการเกิดโรคอื่น ๆ ให้เฝ้าระวังทันทีว่าอาจเป็นสัญญาณแรกเริ่มของการเป็นโรคไตได้
2.ปวดบริเวณขมับ หรือ ท้ายทอย อาการปวดแบบต่าง ๆ มีสาเหตุของการเกิดที่แตกต่างกันออกไป แต่หากตัวเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยบ่อย ๆ ปวดแบบตุบ ๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเข้าข่ายการเป็นโรคไต
3.ความดันเลือดสูงผิดปกติ ผู้ป่วยโรคไต ส่วนใหญ่จะมีความดันเลือดสูงมากกว่าปกติ ซึ่งคนที่มีความดันเลือดสูงจะไม่แสดงอาการ แต่ในบางรายพบว่ามีอาการปวดหัวและเวียนหัวร่วมด้วย
4.ปัสสาวะผิดปกติ เช่น เมื่อปัสสาวะแล้วมีฟองมากเป็นพิเศษ หรือ สีของปัสสาวะผิดปกติ ให้วินิจฉัยว่าระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติซึ่งเป็นสัญญาณของการเกิดโรคไตได้
5.ร่างกายบวมและผมร่วง ร่างกายมีอาการบวมผิดปกติโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า หลังเท้า ตามมาด้วยสัญญาณผมร่วงมากเกินไป
อาการของ โรคไต
1.อาการเริ่มต้น
- ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- เหนื่อยง่ายมากกว่าปกติ
- บางรายอาจมีอาการน้ำหนักลดลงผิดปกติ
- ผิวหนังแห้งซีดและมีจ้ำเลือดตามร่างกาย
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้อาเจียน
- มือเท้าชา ปวดบริเวณบั้นเอว
- ปวดศีรษะบริเวณขมับหรือท้ายทอย
- ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
2.อาการระยะสุดท้าย
- ปัสสาวะลดน้อยลงหรือแทบไม่ปัสสาวะเลย
- เลือดออก หรือ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร
- หายใจเองลำบาก
- กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- ปอดบวมและไอหรืออาเจียนเป็นเลือด
- มีอาการชักหรือหมดสติบ่อยครั้ง
- กระดูกแตกหักได้ง่าย
- เลือดหยุดไหลยาก เนื่องจากการทำงานของระบบเลือดผิดปกติ
- มีอาการติดเชื้อหรือเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
หยุดพฤติกรรมทำร้ายไต
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด ไม่ใช่แค่รสเค็มจัด รวมไปถึงอาหารรสหวานจัด เผ็ดจัด แม้กระทั่งมันจัด เนื่องอาหารรสจัดทำให้ไตทำงานหนักขึ้น จึงมีส่วนทำให้เป็นโรคไต
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำงานหนักจนเกินไป พยายามจัดการความเครียดไม่ให้มากจนเกินไป
- ลดการกินอาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวกล่องในร้านสะดวกซื้อ อาหารกระป๋อง เพราะร่างกายจะได้รับโซเดียมในปริมาณมากโดยไม่รู้ตัว
การดูแลเบื้องต้นเหล่านี้สามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงและลดอัตราการป่วยที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งสามารถบรรเทาการเกิดโรคแทรกซ้อนและส่งผลให้อาการของโรคดีขึ้นได้ ผู้ป่วยโรคไตจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคไตเมื่อเกิดความผิดปกติเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะโรคไตบางชนิดหากตรวจพบเร็วสามารถรักษาให้หายได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้โรคอาจรุนแรงจนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หรือ อาจทำให้เพียงชะลอความเสื่อมของไตเท่านั้น ดังนั้นหมั่นคอยสังเกตอาการ และพบแพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี