โรคจูบ หรือ โรคโมโนนิวคลิโอสิส ที่ติดต่อผ่านการจูบ !
หลายคนอาจไม่คุ้นหูกับโรคจูบ หรือ โรคโมโนนิวคลิโอลิส ที่สามารถติดต่อกันได้ผ่านการจูบ ในปัจจุบันพบว่าโรคดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วโลก โดยพบว่าในเด็กอายุ 5 ปี มีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่ถึง 50% และ คนที่อายุ 25 ปี พบว่ามีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ 90-95% ส่วนในประเทศไทยพบว่าเด็กอายุ 15 ปีมีการติดเชื้อแล้วมากกว่า 90%
สาเหตุของการเกิด โรคจูบ หรือ โรคโมโนนิวคลิโอสิส
โรคจูบ (Kissing Disease) หรือ โรคโมโนนิวคลิโอซิส (infectious mononucleosis (IM)) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสเอ็มสไตลบาร์ Epstein Barr Virus หรือ EBV เป็นไวรัสที่ติดต่อกันได้ง่ายผ่านทางการสัมผัสสารคัดหลั่ง ส่วนใหญ่มักติดต่อผ่านการสัมผัสน้ำลาย ผ่านการไอ จาม การจูบ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อก็สามารถรับเชื้อไวรัสตัวนี้ได้
โรคจูบเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ยิ่งในวัยเด็กยิ่งสามารถติดเชื้อได้ง่าย อย่างการที่คุณพ่อคุณแม่ หรือ ผู้ใหญ่หอมแก้มเด็ก เด็กก็สามารถรับเชื้อได้แล้ว ดังนั้นจึงเป็นโรคที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง
อาการของการติดเชื้อจากโรคจูบ หรือ โรคโมโนนิวคลิโอสิส
อาการของโรคจูบจะคล้ายกับโรคไข้หวัดทั่วไป จึงแยกโรคจากอาการได้ค่อนข้างยาก และ ถ้ามีการติดเชื้อในเด็ก อาจไม่มีอาการเลย หรือ จะแสดงอาการน้อยมาก แต่หากติดเชื้อในช่วงวัยรุ่นประมาณ 15 ปีขึ้นไป อาการจะรุนแรงมากกว่าเด็กจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือด โดยอาการของผู้ป่วยจะแสดงออกหลังได้รับเชื้อราว 2-3 สัปดาห์ เมื่อมีการติดเชื้อชนิดนี้แล้ว เชื้อจะอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต เหมือนกับโรคเริม และ โรคอีสุกอีใส
อาการของโรคจูบจะกำเริบขึ้นมาเมื่อร่างกายอ่อนแอ โดยจะกำเริบเป็นครั้ง ๆ แล้วหายไปเองตามเวลา ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงอาจไม่มีอาการแสดง แต่หากภูมิคุ้มกันตกลงเมื่อไหร่เชื้อไวรัสจะสามารถกลับมากำเริบได้ โดยมีอาการดังนี้
- มีไข้สูง
- เจ็บคอ
- อ่อนเพลีย
- ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ
- เบื่ออาหาร
- มีผื่นขึ้น
- อาจคลำเจอก้อนที่เกิดจากต่อมน้ำเหลืองโต
- อาจคล้ายกับอาการคออักเสบการแต่จะแยกแยะระหว่าง 2 โรคนี้ได้ต้องทำการตรวจร่างกาย หรือ คลำท้องดูว่าม้ามโตหรือไม่ อาจตรวจโดยการเจาะเลือดเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
ซึ่งโดยทั่วไป อาการเหล่านี้จะหายไปเองใน 3-4 วัน ตัวโรคก็ไม่มีความรุนแรง หรือ เป็นอันตรายถึงชีวิต เว้นแต่ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหนักอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เช่น
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอใหญ่ขึ้นจนสังเกตได้
- ต่อมทอนซิลโตจนปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้หายใจไม่ออก
- ม้ามโต ตับโต หรือ ตับอักเสบ
- โลหิตจาง
การกำเริบของโรคจะเกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัยมากระตุ้น เช่น เมื่อร่างกายอ่อนเพลีย ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือ เป็นโรคที่ได้รับยากดภูมิ รวมถึงความเครียดเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สามารถกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ โดยระดับอาการหนักเบานั้นนอกจากจะขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่ได้รับยากดภูมิ หรือ มีโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอื่น ๆ หากเกิดโรคก็อาจมีความรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป เช่น บางรายอาจมีอาการอักเสบของตัวสมอง ดังนั้น หากมีอาการเหล่านี้ หรือ สังเกตพบความผิดปกติดังกล่าวที่เข้าข่ายอาการข้างต้น ควรรีบพบแพทย์ทันที
การป้องกันไวรัสจากโรคจูบ หรือ โรคโมโนนิวคลิโอสิส
ในปัจจุบันยังไม่มีการฉีดวัคซีนสำหรับป้องกันไวรัสตัวชนิดนี้ แต่เราสามารถป้องได้ตัวเองง่าย ๆ
- หลีกเลี่ยงการจูบกับผู้ที่มีเชื้ออยู่ในร่างกาย หรือ ในขณะที่มีแผลในปาก
- ใช้ช้อนกลางในการกินอาหาร
- กินร้อน และ กินอาหารที่ปรุงสุกถูกสุขลักษณะ
- ไม่ใช้อุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อร่วมกับผู้อื่น ไม่ใช้แก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น รวมถึงผ้าเช็ดหน้า
- พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำลายหรือเสมหะของผู้อื่น
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
อีกหนึ่งวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดจากโรคติดเชื้อจากการจูบ คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ภูมิคุ้มกันไม่ตกง่าย ๆ และการพาคู่ของเราไปตรวจสุขภาพให้แน่ใจ เพราะนอกจากจะช่วยให้เท่าทันโรคต่าง ๆ แล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคติดต่ออื่นที่อาจมีอยู่ได้