เคารพสักการะพระพรหมภูมิปาโล พระพุทธรูปประทับนั่ง ปางมารวิชัยขนาดใหญ่บนยอดเขาภูสิงห์
อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ยังมีวัดที่ตั้งตระหง่านบนภูเขายอดสูงพร้อมให้ผู้มาเยือนมาเยี่ยมชม สักการะและขอพร ทั้งยังมีทิวทัศน์ที่สวยงามทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลายยิ่งนัก สถานที่แห่งนั้นก็คือ “วัดพุทธาวาส ภูสิงห์” นั่นเองครับ
วัดพุทธาวาส ภูสิงห์
ที่ตั้ง ตำบล: สหัสขันธ์ อำเภอ: สหัสขันธ์ จังหวัด: กาฬสินธุ์ 46140
ข้อมูลสถานที่
วัดพุทธาวาส ภูสิงห์ เป็นศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนา ศูนย์เรียนรู้นิเวศวัฒนธรรม และศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชน และเป็นสถานที่พักผ่อนจิตใจชมธรรมชาติบริเวณโดยรอบร่มรื่นสามารถมองเป็นทิวทัศน์ได้รอบด้าน คือด้านทิศใต้จะมองเห็นภูมิภาพอันสวยงามของทะเลสาบเหนือเขื่อนชลลำปาวและสภาพบ้านเมืองของเทศบาลตำบลโนนบุรีด้านทิศตะวันออกจะมองเป็นทิวทัศน์อันงดงามของ ภูปอ ภูค่าว ภูเป้งและภูกุ้มข้าว ประหนึ่งสวนพฤกษาธรรมชาติ ที่สร้างไว้อย่างงดงามด้านทิศตะวันตกจะมองเป็นทิวเขาคันโทในเขตอำเภอท่าคันโทที่อยู่ไกลสุดขอบฟ้าและเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกดินที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง ในทุก ๆ ปีจะมีพุทธศาสนิกชนนับหมื่นคนร่วมทำบุญตักบาตรเทโวโรหะณะในวันออกพรรษา ที่ทางอำเภอสหัสขันธ์จังหวัดกาฬสินธุ์ และวัดพุทธาวาสที่ตั้งอยู่บนยอดเขาภูสิงห์ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่โดยพระภิกษุสงฆ์กว่า 400 รูปได้เดินลงมาจากภูเขาภูสิงห์เพื่อมารับบิณฑบาตรที่บริเวณเชิงเขาเพื่อสืบสานประเพณีอันดีงามในวันออกพรรษา
ประวัติ
วัดพุทธาวาส ภูสิงห์ ตั้งอยู่บนยอดเขาภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ ใกล้ตลาดสหัสขันธ์ ห่างจากตัวจังหวัดกาฬสินธุ์ 34 กม. เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง ปางมารวิชัยขนาดใหญ่นามว่าพระพรหมภูมิปาโล อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองสหัสขันธ์ พระพรมภูมิปาโลสร้างเมื่อวันที่ 14 เดือน เมษายน พุทธศักราช 2511 นายช่างที่ก่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้เป็นช่างจากบ้านสีถาน อำเภอกมลาไสย ซึ่งเป็นกลุ่มช่างที่สืบทอดวิชาช่างมาจากกลุ่มสกุลช่างล้านช้างนานนับหลายร้อยปี สืบเนื่องจากปลายปี พ.ศ. ๒๕๐๙ คณะกรรมการส่งเสริมพระพุทธศาสนาวัฒนธรรมและประเพณีจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นายบุรี พรหมลักขโณ เป็น ประธาน ได้มีมติให้ก่อสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่บนยอดเขาภูสิงห์ด้านทิศใต้ เพื่อให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยึดเหนี่ยวจิตใจแก่ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์และเป็น มิ่งมงคลแก่บ้านเมือง การก่อสร้างพระพุทธรูปบนไหล่เขาภูสิงห์เป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ เพราะได้รับความร่วมมือศรัทธาจากคณะสงฆ์ ประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างดี โดยมีพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๑ ตามคำแนะนำของท่านโหราพราหมณาจารย์ และได้รับความเมตตาจากพระคุณเจ้า เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม) ได้ผูกดวงชะตาขององค์พระพุทธปฏิมาที่ก่อสร้างซึ่งตรงกับภูมิปาโลฤกษ์ และต่อมาได้ใช้เป็นคำต่อท้ายนามองค์พระพุทธปฏิมากรและเมื่อสมาสเข้ากับคำว่า “พรหม” อันมีความหมายถึงพรหมวิหารธรรม เป็น “พระพรหมภูมิปาโล” รวมความหมายว่า “พระผู้ยิ่งใหญ่และเปี่ยมด้วยพรหมวิหารธรรม ที่คอยให้ความพิทักษ์คุ้มครองสถานทั่วปริมณฑล” นั่นเอง ในงาน สมโภชและพุทธาภิเษกองค์พระพุทธปฏิมากร ฯพณฯ พลเอกประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น เป็นประธานพิธีเปิดงานและประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ยังเบื้องพระนลาฏองค์พระพุทธปฏิมากร เพื่อเพิ่มพูนความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระพุทธปฏิมากร ปัจจุบัน นี้ พระพรหมภูมิปาโล อยู่ในความดูแลของคณะสงฆ์และส่วนราชการอำเภอสหัสขันธ์ คณะสงฆ์กำหนดให้สถานที่แห่งนี้เป็นที่พำนักสงฆ์นามว่า “ ที่พำนักสงฆ์พุทธาวาส” โดยมี พระมหานำพล ทิตฺตวฑฺฒโน เจ้าคณะตำบลภูสิงห์เป็นประธานสงฆ์ เป็นศูนย์เผยแผ่ธรรม และเป็นสถานที่พักผ่อนจิตใจชมธรรมชาติ เพราะเมื่อได้ขึ้นมาบนที่พำนักสงฆ์พุทธาวาส จะสามารถมองเป็นทิวทัศน์ได้รอบด้าน คือด้านทิศใต้จะมองเห็นภูมิภาพอันสวยงามเหนือทะเลสาบเขื่อนชลประทานลำปาว และสภาพบ้านเมืองของเทศบาลตำบลโนนบุรี ด้านทิศตะวันออกจะมองเป็นทิวทัศน์อันงดงามของ ภูปอ ภูค่าว ภูเป้ง และภูกุ้มข้าว ประหนึ่งสวนพฤกษาธรรมชาติ ที่สร้างไว้อย่างงดงาม ด้านทิศตะวันตกจะมองเป็นทิวเขาคันโทในเขตอำเภอท่าคันโทที่อยู่ไกลสุดขอบฟ้า และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกดินที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง การเดินทางขึ้นบนยอดเขาสามารถเดินทางได้ ๒ ทาง คือ บันไดเดินเท้าจำนวน ๔๑๗ ขั้น และถนนลาดยางระยะทาง ๓ กิโลเมตร
การเดินทาง
- รถโดยสารประจำทาง
- รถยนต์
หมายเหตุการเดินทาง : พุทธสถานภูสิงห์ ตั้งอยู่ ตำบลภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ 34 กิโลเมตร การเดินทางขึ้นบนยอดเขาสามารถเดินทางได้ 2 ทาง คือ บันไดเดินเท้าจำนวน 417 ขั้น และถนนลาดยางระยะทาง 3 กิโลเมตร คดเคี้ยวขึ้นตามไหล่เขาทางทิศตะวันตก
ขอให้ทุกท่านปลอดภัยและมีความสุขกับทุกการเดินทาง ขอขอบคุณกับทุกการติดตามและรับชม ขอบคุณครับ
อ้างอิงจาก: วิกิเพียเดีย
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดกาฬสินธุ์
https://th.trip.com/moments/detail/sahatsakhan-1448605-121332723/?locale=th-TH&curr=THB
https://travel.trueid.net/detail/vDb47oqpRrB8