โรคแพนิค (Panic) ภาวะตื่นตระหนก อาการเป็นอย่างไร? วิธีรับมืออย่างไรให้ถูกต้อง
โพสท์โดย sompeansomped
โรคแพนิค (Panic Disorder) หรือ โรคตื่นตระหนก เป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่งที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (Automatic Nervous System) ทำงานผิดปกติ โดยระบบประสาทเป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของร่างกายหลายส่วน ทำให้เกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน คือ ภาวะตื่นตระหนก วิตกกังวล หรือความกลัว ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันเหมือนโดนจู่โจมทั้งที่ไม่ได้เผชิญกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่อันตรายใด ๆ อาการรุนแรงจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 3-10 นาที เกิดขึ้นเป็นพัก ๆ อาจนานถึงหนึ่งชั่วโมง ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัว ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก ไม่กล้าออกไปไหน หมกมุ่นเรื่องสุขภาพ จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
อาการของโรคแพนิค
- หัวใจเต้นแรงใจเต้นเร็ว สั่นเหมือนตีกลอง
- เจ็บบริเวณหน้าอก แน่นหน้าอก
- หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม หายใจหอบ หายใจถี่
- รู้สึกมึนงง โคลงเคลง วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม
- รู้สึกชา หรือซ่า ตามปลายมือ ปลายเท้า ตัวชา ควบคุมตัวเองไม่ได้
- ตัวร้อนวูบวาบ หรือตัวสั่น มือสั่น เท้าสั่น
- เหงื่อออกมากเหงื่อแตก
- อ่อนเพลีย
- คลื่นไส้ หรือ ปั่นป่วนในท้อง
- ความรู้สึกเหมือนตกอยู่ในความฝัน มีการรับรู้บิดเบือนไป
- หวาดกลัว รู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่างความกลัวอย่างท่วมท้น ร่วมกับความรู้สึกสังหรณ์ว่ามีบางอย่างที่น่ากลัวเกิดขึ้นกับตัวเองและเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ กลัวว่าจะตาย กลัวว่าจะควบคุมตนเองไม่ได้ เหมือนจะเป็นบ้า หรือแสดงอาการบางอย่างที่น่าอายออกไป
ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคแพนิค
- อาจเกิดจากสมองส่วนควบคุมความกลัวที่เรียกว่า “อะมิกดาลา” (Amygdala) ทำงานผิดปกติ
- กรรมพันธุ์ คนที่มีญาติหรือประวัติครอบครัวเป็นโรคแพนิค มีแนวโน้มเป็นได้มากกว่าคนทั่วไป
- การใช้สารเสพติด
- ความผิดปกติของฮอร์โมน อาจทำให้สารเคมีในสมองเสียสมดุลได้
- มีประสบการณ์ เคยผ่านเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต
- พฤติกรรมต่าง ๆ ที่เป็นตัวกระตุ้น อย่างเช่น ทำงานกับคอมพิวเตอร์และมือถือนาน ๆ เผชิญความกดดัน อยู่ในสภาวะที่เร่งรีบ เครียดวิตกกังวล ไม่ออกกำลังกาย พักผ่อนน้อย
- เครียดสะสมเกิดจากการใช้ชีวิตอย่างจริงจัง เคร่งเครียด อยู่ในสภาวะกดดันเป็นประจำ
การรักษา
- การรับประทานยาเพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติหรือ การตรวจเลือดหาสาเหตุที่เกิดทางด้านร่างกาย จะต้องมีการรักษาทางจิตใจควบคู่ไปด้วย ปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วย รวมถึงคนรอบข้าง คนใกล้ชิด ควรทำความเข้าใจกับโรคนี้และให้กำลังใจผู้ป่วย
- การฝึกการหายใจเพื่อควบคุมสติ สามารถช่วยลดความเครียดความวิตกกังวล เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตนเอง
- อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขผ่อนคลายจากความเครียด รับประทาน พักผ่อนให้เพียงพอและเป็นเวลา
- หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตประจำวันด้วยความเร่งรีบ และการใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือมากเกินไป
วิธีรับมือให้ถูกต้อง
- โรคนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต เหมือนที่ผู้ป่วยมักกลัว ควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษา
- ไม่ควรบรรเทาอาการด้วยการเสพสุรา หรือใช้ยานอนหลับ เพราะอาการรุนแรงขึ้นเมื่อหยุดเสพ
- ลดหรืองด กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ประเภทโคล่าทุกชนิด
- ออกกำลังกายตามสมควร ตามความสามารถ
- เมื่อมีอาการต่าง ๆ ทุเลาลงแล้ว ควรออกไปเผชิญกับสถานการณ์ที่เคยหวาดกลัวและลองทำกิจกรรมที่เคยหลีกเลี่ยงโดยเริ่มทีละน้อยแต่สม่ำเสมอ
- ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เพื่อลดระดับของความตึงเครียด
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: momon
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
หวยไทยรัฐ เดลินิวส์ บางกอกทูเดย์ 17/1/68เลขเด็ดจากไอ้ไข่วัดเจดี สำหรับงวดวันที่ 17 มกราคม 2568สถิติหวยเลขท้าย 2 ตัว ออกบ่อย เลขเด็ดเลขดัง 17/1/6810 เลขขายดีแม่จำเนียร งวด 17/1/68 หวยแม่จำเนียร 17/1/68ตะวันฉาย vs ซุปเปอร์บอน ONE ลุมพินี 170 ทุบสถิติ ตั๋ว SOLD OUT หมดเกลี้ยง แฟนมวยซื้อแทบไม่ทัน'งามบุปผาสกุณา' หลี่เซี่ยน ตีบทแตก ทำให้คนดูอินจัดเต็ม! รวมเลขเด็ด งวด 17/1/68 เลขดังจากทั่วทุกสารทิศ มาแล้ว!หน่วยเฉพาะกิจเผยว่า นายแบบจีนที่หายตัวไปแถวๆแม่สอด หลังจากประสานงานกับเพื่อนบ้านแล้ว ปรากฏว่ายังไม่พบตัวดราม่าถล่มไอจีขนาดนี้ คุณแม่แอฟว่ายังไงChallenger Deep จุดที่ลึกที่สุดในโลก รู้ไหมว่าลึกเท่าไร?Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ดราม่าถล่มไอจีขนาดนี้ คุณแม่แอฟว่ายังไงตะวันฉาย vs ซุปเปอร์บอน ONE ลุมพินี 170 ทุบสถิติ ตั๋ว SOLD OUT หมดเกลี้ยง แฟนมวยซื้อแทบไม่ทันจีนลังเลมาไทย ตรุษจีนนี้ไหวไหม