เหมยขาบ: หน้าหนาวที่อินทนนท์
🎼 ลมเอ๋ยลมหลาวพัดต่าวไปไสมาเเน
พัดผ่านอยู่บ้อคนแคร์ผู้เพิ่นอยู่ไกลหัวใจ
ความคิดฮอดความฮักดนคักบ่ได้บอกไป
ย้อนคนฟังอยู่ไกล ได้เเต่ฝากเพลงไปกับสายลม....🎶🎵
อุ๊ย!!!! อารมณ์มันพาไปให้เข้ากับบรรยากาศหน้าหนาวจ้าทุกคน ช่วงนี้หน้าหนาวมาแล้วนะคะ ใครได้มีโอกาสสัมผัสกับอากาศหนาวกันบ้างหรือยัง ตามยอดดอยต่างๆ และที่ราบสูง มีลมหนาวพัดมาต้องหายา ผู้คนต่างสรรหาผ้าห่มมานั่งผิงไฟ
สถานที่ท่องเที่ยวตามยอดดอย ยอดภูต่างๆก็เริ่มมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลไปรับลมหนาว และมีปรากฏการณ์ "เหมยขาบ" หรือน้ำค้างแข็งตามยอดไม้ใบหญ้า ให้ได้เก็บภาพความหนาว เก็บเกี่ยวความสุขกัน
แล้ว "เหมยขาบ" คืออะไร แทบจะไม่คุ้นหู ทึ่ได้ยินบ่อยๆ เกี่ยวกับน้ำค้างแข็ง ก็คำว่า "แม่คะนิ้ง" ไม่ใช่หรอ มันแตกต่างกันอย่างไรล่ะเนี่ย?? มาดูกัน...
"เหมยขาบ" เป็นภาษาไทยถิ่นเหนือ
ส่วน "แม่คะนิ้ง"เป็นภาษาถิ่นพายัพและภาษาถิ่นอีสานบางถิ่น
เป็นคำเรียกละอองน้ำค้าง ที่กลายเป็นน้ำแข็งแผ่นบาง ๆ เกาะอยู่บนใบไม้ใบหญ้าในเวลาที่อากาศหนาวจัด หรือที่เรียกว่า “น้ำค้างแข็ง”
คำว่า "เหมยขาบ" ประกอบด้วยคำว่า “เหมย” ซึ่งแปลว่า น้ำค้าง กับคำว่า “ขาบ” แปลว่า ชิ้นเล็ก ๆ
ดังนั้น “เหมยขาบ” ก็คือน้ำค้างแข็งแผ่นบาง ๆ นอกจากนี้ ภาษาไทยถิ่นเหนือยังเรียกไอน้ำที่แข็งตัวเพราะความเย็นจัดว่า “เหมยแขง” แต่ถ้าน้ำค้างที่ลงจัดจนเหมือนละอองฝน จะเรียกว่า เหมยช้าง (อ่านว่า เหมย-จ๊าง) คือน้ำค้างที่ลงหนักมากแข็งเป็นแผ่นใหญ่นั่นเองค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างล่ะคะ กับภาพบรรยากาศหน้าหนาว ที่มีปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งเกิดขึ้นแล้วในปีนี้ สวยมากๆเลยใช่มั้ยล่ะคะ ใครที่ชอบความหนาว ลมหนาว หากมีโอกาสก็อย่าลืมแวะไปสัมผัสกันบ้างสักครั้งในชีวิตน้า รับรองเย็นยะเยือกสมใจ และได้เก็บบรรยากาศกาศ ภาพสวยๆ เป็นความประทับใจครั้งนึงในชีวิตกับเหมยขายที่ดอยอินทนนท์