งูหนูแรด (Rhinoceros Ratsnake) งูเขียวมีหงอน งูที่ทำให้หลายคนนึกถึงพญานาค
งูชนิดนี้คือ งูหนูแรด (Rhinoceros Ratsnake) งูเขียวมีหงอน ด้วยความที่มันมีหงอนนี้แหละจึงทำให้หลายคนนึกถึงพญานาค งู Rhinoceros Ratsnake (ชื่อวิทยาศาสตร์ Gonyosoma boulengeri) หรือ งูหนูแรด หรือ งูแรด หรือ งูจมูกยาวเวียดนาม (Vietnamese longnose snake) เป็นงูที่ไม่มีพิษสปีชีส์หนึ่ง ในวงศ์ Colubridae เป็นงูที่ไม่มีพิษ งูชนิดนี้พบได้ตั้งแต่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ไปจนถึงตอนใต้ของประเทศจีน มันมีส่วนที่ยื่นยาว เด่น มีเกล็ด อยู่บนด้านหน้าของจมูกของมัน เลยทำให้ถูกเรียกชื่อตามลักษณะนอของแรด ตัวเต็มวัยของงูหนูแรด มีความยาวจรดปลายหาง 100–160 เซนติเมตร ถ้านับจำนวนเกล็ดที่ด้านหลังของส่วนกลางลำตัว จะนับได้ 19 แถว งูหนูแรด มีถิ่นอาศัยในป่าฝนเขตกึ่งร้อน ที่ระดับความสูง 300 ถึง 1,100 เมตร และมักเป็นหุบเขาที่มีลำธาร ปรกติมันจะอยู่บนต้นไม้ และส่วนใหญ่หากินในเวลากลางคืน ล่าหนูตัวเล็กๆ และสัตว์ฟันแทะอื่นๆ นก และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ ออกลูกเป็นไข่ และมีฤดูจับคู่ผสมพันธุ์ ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ออกไข่ 5-10 ฟองต่อครั้ง และหละงจากกกไข่ไว้ 60 วัน ก็จะฟักออกมาเป็นลูกงูขนาดยาว 30–35 ซม. สีเทาอมน้ำตาล และมีขอบสีเข้มอยู่บนเกล็ดด้านหลังบางส่วน เมื่อโตขึ้น อายุ 12-14 เดือน งูหนูแรดจะเปลี่ยนสีเป็นสีเทา แล้วส่วนมากจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมฟ้า เมื่อเป็นตัวเต็มวัยอายุ 24 เดือน จากการศึกษาของนักวิจัยมหาวิทยาลัย Bangor University ได้เสนอว่า ส่วนที่ยื่นออกมาจากจมูกของงูนั้น มีไว้สำหรับการผสมพันธุ์ โดยงูตัวผู้อาจจะใช้ต่อสู้กับงูคู่แข่ง แต่การศึกษาอื่นๆ กลับไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ส่วนยื่นจากจมูกนี้ กับการแสดงออกเวลาสืบพันธุ์ ทำให้ยังคงเป็นปริศนาอยู่ว่า หน้าที่ที่แท้จริงนั้นคืออะไรกันแน่