โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก Facebook Depression Syndrome 5 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณเป็น โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก
โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome) เกิดจากการใช้งานเฟซบุ๊ก จนอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ หากเครือข่ายสังคมก่อให้เกิดความอิจฉาในหมู่ผู้ใช้ แต่ในขณะเดียวกัน เฟสบุ๊กอาจเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานและส่งผลให้สุขภาพดีได้เช่นกัน หากผู้ใช้ ใช้ประโยชน์เพื่อเชื่อมต่อกับครอบครัว กับเพื่อนเก่า เพื่อแบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจ ที่มีความสำคัญในชีวิตในรูปแบบที่ถูกต้อง หากการเฝ้ามองเพื่อนที่กำลังทำเงินหรือสร้างความสุข เฟซบุ๊กก็สามารถดึงคุณให้ไปสู่ความรู้สึกที่หดหู่ใจได้ เพราะหลายคนมักนำเรื่องราวความสำเร็จของผู้อื่นที่เห็นบนโลกออนไลน์ มาเปรียบเทียบกับตัวเอง ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าสิ่งที่เห็นในโพสต์นั้น ๆ เป็นเรื่องจริงหรือไม่
5 สัญญาณเตือน อาการที่อาจจะเสี่ยงต่อการเป็น “โรคซึมเศร้าจากเฟสบุ๊ก”
1.มีความเข้าใจผิด สงสัย เกี่ยวกับความสุข ของเพื่อน ๆ ในเฟสบุ๊กว่าเป็นจริงหรือไม่
2.ตกเป็นเหยื่อทางอารมณ์ของกิจกรรมชีวิตประจำวันของผู้อื่น ๆ
3.มักเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของตัวเองกับเพื่อนๆ อยู่เสมอ
4.มักเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ของตนเองอยู่เสมอ เพื่อต้องการยอดไลค์หรือเรียกร้องความสนใจ หรือคุณมักลับสมอง และค้นหาข้อความขำขัน แหลมคม อัพเดทสถานะแบบดึงดูด ที่สร้างภาพว่าคุณเก่ง คุณเจ๋ง คุณเกาะติด หรือเป็นผู้นำ มีความสุข และน่าตลกขบขัน
5.รู้สึกกระวนกระวายใจ เมื่อไม่สามารถเช็คข้อความ ข่าวสาร หรือ สถานะในเฟสบุ๊คได้เหมือนที่ทำเป็นปกติ
หากคุณมีอาการเหล่านี้อย่างน้อย 2 ข้อ แสดงว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ
ผู้ที่เป็นโรคนี้ มักจะมีการแสดงออกเมื่อได้รับผลกระทบในแง่ลบของการใช้งานเฟซบุ๊ก อย่างเช่น
- การมีส่วนร่วมในการทางสังคมที่ลดลง
- ชอบการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมออนไลน์ (เมื่อเทียบกับคนอื่น)
- มักจะมีส่วนร่วมในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของตนเอง
วิธีดูแลตัวเองให้ห่างจากโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก
วิธีการเยียวยาที่ดีที่สุด คือ “งด/หลีกเลี่ยงการใช้งานเฟซบุ๊ก’ ลง อย่างเช่น ลดจำนวนเวลา ปรับเวลาที่เล่นให้น้อยลงจากที่เล่นตลอดเวลาที่ว่าง เป็น 10 นาทีต่อ 1 ชั่วโมง และ ลดความสนใจหรือใส่ใจในทุกข้อมูล รวมไปถึงความรู้สึกที่อยากจะโพสต์สถานะต่าง ๆ ลง เพราะการที่เราสนใจอย่างอื่นมากจนเกินไป จะทำให้เราละเลยที่จะสนใจตัวเอง และการทำความเข้าใจตัวเองได้
วิธีรักษา และ ป้องกันโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ค
โดยผู้ใช้งานเฟซบุ๊กจะต้องลด พฤติกรรมเสี่ยงที่เชื่อมโยงเฟซบุ๊กกับภาวะซึมเศร้า ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการหลงใหลใน “อัตลักษณ์เสมือนจริง” และการรับรู้ของคนอื่น ใช่ว่าทุกคนจะมีชีวิตประจำวันแบบสิ่งที่โพสต์ การลงอะไรในโซเชียลมักจะผ่านการปรุงแต่ง บิดเบือนออกมาให้ดูดีเสมอ
- ลดอาการอิจฉา โดยปิดการใช้งาน ไม่สนใจ ไม่สังเกตชีวิตของคนอื่น
- หลีกเลี่ยงการยอมรับคำเชิญจากเพื่อนเก่าที่จะเป็นเพื่อนในเฟซบุ๊ก
- ลดการโพสต์การอัปเดตสถานะและการโต้ตอบที่มากเกินไป
- ลดการเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นในทางลบ
การเรียนรู้การใช้งานที่เหมาะสม การรู้จักตนเอง ทำสิ่งที่ตนเองมีความสุข จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กได้