เคล็ดลับความงามและประโยชน์อีกมากมายของ "น้ำพริกหยวก"
เคล็ดลับความงามนี้ได้ถูกเปิดเผยขึ้นมาจาก เดียม เฮือง อดีตนางงามเวียดนามวัย 40 ที่คว้ามงกุฎมาครองเมื่อปี 2010 เผยเคล็ดลับในการรักษาหุ่นและความงามของเธอ คือการดื่ม น้ำพริกหยวก เป็นประจำ โดย เดียม เฮือง เป็นตัวแทนของเวียดนาม ไปเข้าประกวดเวทีระดับนานาชาติหลายรายการ รวมถึง Miss Earth 2010 และ Miss Universe 2012 ซึ่งจัดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา ความงามของ เดียม เฮือง ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมาก ปัจจุบันเธอมีน้ำหนักตัวที่ 50 กก. สูง 1.75 ม. เคล็ดลับในการรักษาหุ่นและความงามของเธอ คือการดื่มน้ำพริกหยวกเป็นประจำทุกเช้า โดยพริกหยวกคือสิ่งที่เธอเรียกว่าอาวุธลับที่ช่วยให้ผิวของเธออ่อนเยาว์และกระจ่างใส โดยเฉพาะพริกหยวกแดง มีวิตามินซีมากกว่าส้มเกือบ 3 เท่า ช่วยเพิ่มคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญที่ช่วยให้ผิวกระชับและเรียบเนียน วิตามินซีไม่เพียงแต่สนับสนุนคอลลาเจนเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ช่วยปกป้องผิวจากการทำลายของแสงแดด และป้องกันริ้วรอยก่อนวัย ด้วยเหตุนี้พริกหยวกแดงจึงถือเป็นครีมกันแดดตามธรรมชาติ ที่ช่วยปกป้องผิวจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย มาดูประโยชน์ของพริกหยวกที่ส่งผลดีต่อสุขภาพกันครับ 1. เสริมสร้าวระบบภูมิคุ้มกัน ด้วยปริมาณวิตามินซีที่สูงกว่าส้มเกือบ 3 เท่า พริกหยวกแดงจึงถือเป็นสุดยอดอาหาร ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน การบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีเป็นประจำ ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อ เพิ่มความต้านทาน และปกป้องร่างกายจากโรคต่างๆ 2. บำรุงสายตา พริกหยวกอุดมไปด้วยแคโรทีนอยด์ โดยเฉพาะซีแซนทีนและลูทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ปกป้องดวงตา ช่วยสนับสนุนการมองเห็น ป้องกันการเสื่อมสภาพของจอประสาทตา ปกป้องดวงตาจากอันตรายของแสงสีฟ้า 3. ลดการอักเสบ พริกหยวกมีสารพฤกษเคมี และสารอาหารหลายชนิดที่มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบ หรือป้องกันความเสี่ยงต่อการอักเสบต่าง ๆ ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง 4. ส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหาร พริกหยวกยังเป็นแหล่งไฟเบอร์ที่ดี ช่วยให้ระบบย่อยอาหารแข็งแรง ไฟเบอร์ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ปรับปรุงคอเลสเตอรอล และบำรุงแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ ซึ่งช่วยสนับสนุนจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพ 5. ส่งผลดีต่อสมอง ฟลาโวนอยด์ กรดฟีนอลิก และแคโรทีนอยด์ ที่พบในพริกหยวก ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ สารอาหารเหล่านี้จะขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ที่ปล่อยโปรตีนอะไมลอยด์ ซึ่งทำลายเส้นใยประสาท และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์