Exercise for Psychiatric Patient
เด็กพิเศษ เป็นคำที่ใครฟังก็มักจะคิดถึงเด็กที่มีภาวะทางจิต ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะป่วยด้วยโรคอะไรก็ตาม คนทั่วไปก็จะคิดว่าเป็นเด็กจิตเวชหรือเด็กพิเศษนั้นเอง แต่จริงๆแล้ว เด็กพิเศษก็เหมือนกับเด็กทั่วไป ที่มีความต้องการในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ความรักจากพ่อแม่หรือคนรอบข้าง การเรียนรู้สิ่งรอบตัว อาหารการกิน หรือแม้แต่การใช้ชีวิตในสังคมที่กว้างใหญ่สำหรับตัวเด็กเอง อาจจะมีบางด้านที่เด็กพิเศษจะไม่เหมือนเด็กทั่วไป เช่น สมาธิ การช่วยเหลือตัวเอง การเรียนรู้ หรือ การสื่อสาร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยโดยทั่วไปของเด็กพิเศษ แต่สิ่งที่เด็กพิเศษไม่มีเหมือนกัน ก็คือ “สมาธิ”
การออกกำลังกาย ถือว่าเป็นการฝึกสมาธิอย่างหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเด็กพิเศษก็สามารถฝึกได้ หลายคนอาจจะมองว่าเป็นแค่การฝึกที่ไม่สามารถบำบัดหรือรักษาเด็กพิเศษได้ แต่ถ้าเราจัดรูปแบบการออกกำลังกายหรือเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม สิ่งเหล่านั้นก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในการบำบัดและรักษาเด็กพิเศษได้ การละเล่นต่างๆของเด็กก็ถือว่าเป็นการออกกำลังกายเหมือนกัน เช่น วิ่งเล่น วิ่งไล่จับกับเพื่อน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยานกะพ่อแม่ ล้วนแต่เป็นการออกกำลังกายทั้งสิ้น
ก่อนที่เราจะจัดกิจกรรมให้เด็ก เราควรเข้าใจสภาวะของเด็กในแต่ละวัยก่อน หรืออาจจะเป็นช่วงอายุของเด็กก็ได้
เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี เด็กในวัยนี้ควรเน้นการเคลื่อนไหวออกแรงที่ใช้การฝึกทักษะ การเคลื่อนไหวอย่างง่าย การฝึกกายบริหารที่มีดนตรีประกอบและการว่ายน้ำ ควรใช้เวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมงในแต่ละวัน และที่สำหรับไม่ควรให้เด็กออกกำลังกายที่ใช้ความอดทนนานๆ
เด็กที่มีอายุ 11 – 14 ปี เด็กในวัยนี้ควรเน้นกิจกรรมที่มีรูปแบบที่หลากหลายและสามารถพัฒนาร่างกายในทุกส่วน เช่น การวิ่ง เต้นประกอบเสียงเพลง การเดาะลูกปิงปอง หรือการเล่นกีฬาบางชนิดที่ไม่หนักจนเกินไป เด็กในวัยนี้ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อวัน
เด็กที่มีอายุ 15 – 17 ปี เด็กในช่วงวัยนี้เริ่มจะโตเป็นหนุ่ม เป็นสาวมากขึ้น ดังนั้นเราควรจะต้องแบ่งเด็กออกตามเพศ เพื่อง่ายต่อการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย
เพศชาย ควรเน้นการออกกำลังกายที่ทำให้เกิดกำลัง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความรวดเร็วและความอดทน เช่น การวิ่งระยะไกล ฟุตบอล บาสเกตบอล หรือการออกกำลังกายที่ใช้ความอดทนนานๆ เป็นต้น
เพศหญิง ควรเน้นการออกกำลังกายที่ไม่หนักมาก แต่เน้นทำให้ร่างกายแข็งแรง เสริมสร้างรูปร่างและทรวดทรง เช่น ว่ายน้ำ วอลเลย์ เต้นรำ หรือ กอล์ฟ เป็นต้น
การออกกำลังกายเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลรักษาและบำบัดเด็กพิเศษ อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จัก หรือนิยมในคนส่วนใหญ่ แต่ถ้าเราพัฒนาและศึกษาอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้อาจจะพัฒนาเป็นความรู้ใหม่ที่ใช้บำบัดและรักษาเด็กพิเศษต่อไป