ต่างด้าวแย่งงานคนไทย หรือคนไทยไม่ประกอบอาชีพนั้นเอง ปัญหาที่ยังคงถกเถียงกัน แล้วอะไรคือการแก้ปัญหา
ปัจจุบันคาดว่ามีแรงงานต่างด้าวที่อยู่นอกระบบในไทยตอนนี้ประมาณ 7 แสน – 1 ล้าน คน โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า เพราะแรงงานบางส่วนหลบหนีเข้าไทยเนื่องจากสถานการณ์สงครามในพม่า ทำให้ต้องหลบหนีเข้ามาทั้งครอบครัว อาศัยช่องทางธรรมชาติผ่านจังหวัดที่มีพรมแดนติดกัน เช่น กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ และตาก นอกจากนี้ก็ยังมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาจากประเทศกัมพูชาและลาว มีบางส่วนที่เดิมเป็นแรงงานถูกกฎหมาย เมื่ออยู่ไปก็ไม่ยอมมาต่อให้ถูกกฎหมาย เนื่องจากมีการเปลี่ยนนายจ้าง ทำให้
ยื่นเอกสารไม่ทัน จนต้องหลุดออกจากระบบ
ปัญหาแรงงานพม่าผิดกฎหมายในไทยส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารจ้างงานถูกกฎหมาย โดยนายจ้างส่วนใหญ่ก็มีความต้องการจะจ้างแรงงานแบบผิดกฎหมาย เพราะแม้มีการทำอย่างถูกกฎหมายก็ถูกเจ้าหน้าที่รัฐบางราย ใช้ช่องว่างทางกฎหมายในการเรียกรับผลประโยชน์เรียกส่วยนายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าว หรือเรียกจากต่างด้าวโดยตรง เพื่อแลกกับการอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการ
แรงงานพม่าส่อเค้าประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมายแรงงานมากขึ้นทุกวัน เพราะปัหาการทุจริตของภาครัฐที่สามารถหาเงินกับกลุ่มคนเหล่านี้ได้มากกว่าการแก้ปัญหาให้ขึ้นมาบนดินอย่างเป็นระบบ ขยายลุกลามจนไปแย่งการประกอบอาชีพของคนไทย ส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพค้าขาย ที่ต้องห้ามสำหรับต่างด้าว
ข้อกำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบกำหนดอาชีพสงวนใหม่ คือ ให้ต่างด้าวทำได้ 12 อาชีพ 3 แบบ แบ่งเป็น
ทั้งนี้งานขายของหน้าร้าน ต่างด้าวทำได้ แค่เสิร์ฟ และช่วยขายของ แต่ห้ามเก็บ หรือทอนเงิน ส่วนการเฝ้าร้านแทนนายจ้างได้แค่ชั่วคราว และต้องมีนายจ้างอยู่ด้วย ส่วนร้านเสริมสวย ทั้งร้านตัดผม และทำเล็บ ต่างด้าวทำได้แค่ปัดกวาดเช็ดถูภายในร้าน และล้างมือ เท้าเท่านั้น ห้ามตัดผม สระผม ตัดเล็บ ทาเล็บเด็ดขาด
*** สำหรับผู้บริโภคแล้ว คงไม่เดือดร้อนเท่าไหร่ แต่จะกระทบกลุ่มอาชีพพ่อค้าแม่ค้าไทย ***
รูปภาพ : เครดิตบนภาพ