โรคกลัวแมว เห็นแมว แล้วมีอาการกลัวสุดขีด คุณอาจกำลังเป็น Ailurophobia
โรคกลัวแมว (Ailurophobia) จัดอยู่ในกลุ่มโรคความกลัวเฉพาะเจาะจง (Specific phobia) เป็นความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผล ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าสิ่งนั้นมันไม่ได้อันตราย ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ไม่สามารถหยุดความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นได้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่เจอ โดยจะมีอาการแสดงโต้ตอบอัตโนมัติทันทีที่เจอกับสิ่งนั้น
สาเหตุ
- ประสบการณ์ที่น่ากลัวในวัยเด็ก อาจโดนแมวกัด หรือข่วนในสมัยวัยเด็กที่ให้รู้สึกกลัวฝังใจ
- ปัจจัยทางพันธุกรรม อาการกลัวแฝงจากพ่อแม่ถูกถ่ายทอดสู่ลูกผ่านทางยีนที่อยู่ในโครโมโซม ลูกจึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีความกลัวเหมือนที่พ่อแม่รู้สึก
- ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม อาจมีผลเนื่องจากความทรงจำในวัยเด็ก อย่างเช่น ช่วยเหลือแมวลงจากต้นไม้จนได้รับบาดเจ็บ การเห็นแมวโดนรถชน เป็นต้น
- ไสยศาสตร์ บุคคลสามารถกลัวแมวได้ ถ้าเขาเชื่อในความสามารถเหนือธรรมชาติ และทักษะเวทมนตร์ ตั้งแต่วัยเด็ก แมวในความเข้าใจของบุคคลดังกล่าวสามารถเป็นได้ทั้งผู้นำทางวิญญาณ และปีศาจร้ายและเป็นผู้ช่วยของแม่มด มีความเชื่อโชคลางมากมายเกี่ยวกับสัตว์เหล่านี้
อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคกลัวแมว
อาการแสดงออกด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ ทางด้านร่างกาย และทางด้านจิตใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ทางด้านร่างกาย
- หายใจติดขัด หายใจจะตื้นขึ้น และบ่อยครั้ง แน่นหน้าอก
- อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
- อาจเกิดเหงื่อเย็นมือ และริมฝีปากสั่น
- คลื่นไส้ เวียนศีรษะ
- ตัวสั่น เหงื่อแตก
- ปวดท้อง รู้สึกหนาวสั่นท้อง หรือลำไส้กระตุกปรากฏในช่องท้อง
- ความดันโลหิตสูงขึ้นเลือด "วิ่ง" ไปที่กล้ามเนื้อ (กลไกสะท้อนกลับที่กระตุ้นสมอง ในกรณีที่เกิดอันตรายเพราะเป็นไปได้ว่ากล้ามเนื้อจะต้องได้รับการทดสอบ เพื่อวิ่ง หรือต่อสู้)
ทางด้านจิตใจ
- รู้สึกตกใจกลัวทุกครั้งเมื่อนึกถึงแมว
- วิตกกังวลที่ได้ยินเสียงร้องแมว
- รู้สึกกลัวอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีแมว
วิธีการรักษา
ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือ นักจิตวิทยา เพื่อรับการรักษา
การบำบัดด้วยความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรม เพื่อช่วยให้บุคคลประเมินทัศนคติใหม่ ที่ทำให้การตอบสนองของสมองที่ไม่ถูกต้องต่ออันตรายที่ไม่มีอยู่จริง หรือเกินจริง
การบำบัดด้วยการสัมผัส (Touch Therapy) เพื่อให้คุ้นชินกับสิ่งที่กลัวทีละนิด เริ่มจากการดูรูปแมว ดูวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับแมว ของเล่นแมว เริ่มนั่งข้าง ๆ แมว จนเริ่มสัมผัสแมวทีละนิด สร้างความคุ้มชิน เพื่อลบล้างความหวาดกลัวออกไป
การสะกดจิต และสนับสนุนการสอนการทำสมาธิ และเทคนิคการผ่อนคลายอื่น ๆ