5 อันดับโรคร้าย NCDs ที่คนไทยเสี่ยงเป็นสูง ตรวจก่อนป้องกันได้
5 อันดับโรคร้าย คุณรู้ไวป้องกันความเสี่ยงได้ทัน
อันดับ ① โรคมะเร็ง
วิธีสร้างความแข็งแรงไปถึงระดับเซลล์และไมโตคอนเดรียของคุณ
ค่าการตรวจเลือดที่ประเมินโรคมะเร็ง (Tumor Marker)
อันดับ ② โรคหลอดเลือดหัวใจ
ค่าการตรวจเลือดที่ประเมินโรคหลอดเลือดหัวใจ
อันดับ ③ โรคเบาหวาน
ค่าการตรวจเลือดที่ประเมินโรคเบาหวาน
อันดับ ④ โรคความดันโลหิตสูง
ค่าการตรวจเลือดที่ประเมินโรคความดันโลหิตสูง
อันดับ ⑤ โรคหัวใจ
ค่าการตรวจเลือดที่ประเมินโรคหัวใจ
สาเหตุร่วมที่ใช้ประเมินความเสี่ยงในเบื้องต้นของ 5 โรคดังกล่าว
ทางเลือกในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคร้าย
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการดูแลสุขภาพสำหรับคุณ
✧ เคล็ดลับการป้องกันโรคเรื้อรัง (NCDs) โรคที่เกิดจากพฤติกรรม
✧ กินดีสุขภาพดีแบบ “IF (Intermittent Fasting)” แค่จำกัดเวลากินลงนิด เพื่อชีวิตและสุขภาพ
✧ สัญญาณเตือน !? ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)
✧ “สารก่อมะเร็งและสารพิษ”มีอยู่รอบตัว !! รู้ทันสาเหตุเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง
✧ สัญญาณเตือน !? ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)
✧ ปิด!! ประตูรับโรค น้ำตาลและอินซูลิน ต้นเหตุสร้างโรคเรื้อรัง
✧ “สัญญาณเริ่มต้นสู่อันตราย”ภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
สรุป
เรื่องน่ารู้:
⌜โรคร้ายที่คนไทยมีแนวโน้มเป็นกันสูงขึ้นมาโดยตลอด⌟ ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ จัดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases; NCDs) คือ ไม่สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ อาการเรื้อรังเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยเสื่อมภายในร่างกายที่ถูกกระตุ้นจากปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติการใช้ชีวิตของตนเอง และปัจจัยเสี่ยงภายนอกส่งเสริมกัน
⌜โรค NCDs คร่าชีวิตผู้คนประมาณ 41 ล้านคนในแต่ละปีทั่วโลก⌟ ซึ่งเทียบเท่ากับ 71% ของการเสียชีวิตทั้งหมด ในส่วนของทวีปอเมริกามีผู้เสียชีวิต 5.5 ล้านคนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
⌜โรค NCDs เป็นสาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตและความพิการทั่วโลก⌟ โดยคิดเป็น 74% ของการเสียชีวิตทั้งหมด และมากกว่า 3 ใน 4 ปีที่อาศัยอยู่กับความพิการหรือเสมือนพิการ โดยได้ถูกเฝ้าระวังให้เป็นโรคระบาดแห่งแห่งศตวรรษที่ 21 จากหน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลก ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจสมอง โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคทางระบบประสาท โรคทางจิต และอื่นๆ ปัจจุบันกลุ่มโรค NCDs นี้อยู่ในฐานะ “โรคที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลก” ข้อมูลจากหน่วยงานด้านสุขภาพแห่งสหประชาชาติ (UN) พบว่าทุกๆ 2 วินาที จะมีผู้เสียชีวิต 1 รายที่มีอายุต่ำกว่า 70 ปีนับจาก โรค NCDs
⌜โรคมะเร็ง⌟ คือ คือ กลุ่มของโรคที่เกิดจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม หรือสารพันธุกรรม หรือโรคที่เกิดจากความเสี่อมของไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นอวัยวะภายในเซลล์แต่เซล์ ทำหน้าที่สำคัญเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตพลังงานในร่างกายและมีสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอเป็นของตัวเองอย่างเฉพาะ หากเกิดความผิดปกติจะส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ทำให้เกิดการแพร่ของเซลล์หรือก้อนเนื้อที่ผิดปกติ และในที่สุดก็จะทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ปกติที่อยูใกล้กับก้อนเนื้อมะเร็งที่แบ่งตัวเจริญเติบโตขึ้นนั้น เพราะสาเหตุจากการขาดเลือดไปเลี้ยงเซลล์ปกติที่เซลล์มะเร็งสามารถมีความสามารถแย่งพื้นที่การเจริญเติบโตจากหลอดเลือดและสารอาหารได้ดีกว่าเซลล์ปกติเพื่อความอยู่รอดของเซลล์มะเร็งนั้นเอง โดยจะเรียกชื่อโรคมะเร็งตามอวัยวะที่เกิดขึ้น เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะทำให้เกิดการตายของเซลล์ปกติที่อยู่ใกล้กับก้อนเนื้อมะเร็งที่เจริญเติบโตขึ้นนั้น
✧ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารหรือเครื่องดื่มแปรรูป การเสพติดน้ำตาล รสเค็มหรืออาหารรสจัด เจอมลภาวะ เช่น ควันจากการเผาไหม้ ฝุ่น PM2.5 และความเครียด ยิ่งหากคุณได้รับหรือสัมผัสกับสภาวะเหล่านี้เป็นเวลาต่อเนื่องและยาวนาน จะส่งผลต่อการอักเสบระดับเซลล์และ “นิวเคลียส” ที่เป็นศูนย์รวมรหัสพันธุกรรม (DNA) ของคุณ และมากไปกว่านั้นยังผลกระทบต่อไปยังภายในถึงสิ่งเล็กๆ แต่สามารถส่งผลต่อสุขภาพคุณได้ในภาพรวมนั้นคือ “ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)” ที่อยู่ภายในของเซลล์ ทีมีหน้าที่ให้สัญญาณระหว่างเซลล์กับกระบวนต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ การผลิตพลังงาน กระบวนการเผาผลาญในร่างกาย (Metabolism) การเจริญเติบโตของเซลล์หรือการแยกเซลล์ออกจากกัน เป็นเหมือนเครื่องจักรที่ควบคุมและประสานงานการเกิดและทำลายเซลล์ที่เสื่อมสภาพ ดังนั้น เมื่อระบบเผาผลาญพัง (Metabolic Syndrome) ที่ร่างกายจะแสดงภาวะของมีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนลงพุง ที่เป็นจุดเริ่มต้นของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งมีโรคหลักๆ ตามตัวอย่าง 5 โรคร้ายในเนื้อหานี้ และนี่จะเป็นการบ่งชี้ว่าไมโตคอนเดรียของคุณมีปัญหาหรือเสียหายจากการอักเสบระดับเซลล์ได้เกิดขึ้นและต้องได้รับการฟื้นฟูด้านสุขภาพได้แล้ว และจะส่งผลต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อมา คือ นิวเคลียสหรือสารพันธุกรรมของคุณก็จะเกิดความเสียหายและกลายพันธุ์ ทำให้เกิดการแบ่งตัวอย่างผิดปกติของเซลล์นั้นๆ และแพร่กระจายกลายเป็นเชื้อ หรือที่เราเรียกว่า โรคมะเร็ง ที่เป็น 1 ใน 5 โรค NCDs ที่สำคัญ ที่เรากำลังกล่าวถึงนี้
✧ วิธีสร้างความแข็งแรงให้กับไมโตคอนเดรียแห่งเซลล์คุณ
[1] กินอาหารต่อวันไม่ถี่เกินไป หรืออาจพิจารณาวิธีการกินอาหารแบบ IF, 2MAD, OMAD อย่างเข้าใจและถูกวิธี โดยจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำและการประเมินความเหมาะสมอย่างต่อเนื่องกับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณ เพราะหากสุขภาพคุณยังไม่พร้อมจะมีผลข้างเคียงได้
[2] เลือกกินหรือปรุงอาหารจากวัตถุดิบธรรมชาติ (Whole Foods) หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูป ที่จะมีส่วนผสมทางเคมีขั้นสูงที่ดูจากฉลากแล้วต้องใช้การแปลหรือตีความทางวิทยาศาสต์ อาหารหรือเครื่องดื่มทีมีสัดส่วนสารให้ความหวานที่มาก อาหารเค็มจัด เผ็ดจัด และเครื่องดื่มดื่มแอลกอฮอล์
[3] ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือพิจารณาการออกกำลังกายแบบ HIIT Excercise
[4] มีความคิดเชิงบวก และมีวิธีการจัดการกับความเครียดได้ดี
[5] นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
[6] งดสูบบุหรี่ กัญชา หรือการได้รับควันจากการเผาไหม้ หลีกเลี่ยงและป้องกันมลพิษทางอากาศ
⌜โรคหลอดเลือดหัวใจ⌟ คือ เกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือดแดงที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ และอีกสาเหตุเกิดจากการสะสมของคอเลสเตอรอล หรือไขมันจับตัว หรือสารต่างๆ ภายในหลอดเลือด จนเกิดคราบไขมัน (Plaque) เกาะอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้เส้นเลือดหัวใจตีบแคบลง หากปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ จะทำให้เลือดหล่อเลี้ยงหัวใจได้ไม่ดีไม่ทั่วถึงจนทำให้เซลล์หัวใจตายได้ หรือเกิดการหลุดของคราบไขมันปะปนไปยังกระแสเลือด อาจทำให้เกิดการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (โรคหัวใจขาดเลือด) ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
⌜โรคความดันโลหิตสูง⌟ เกิดจากความดันเลือดมีความรุนแรงอย่างผิดปกติที่จะส่งผลทำให้ผนังหลอดเลือดมีความเสี่ยงได้รับความเสียหายหรือแตกขาด และส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก ความดันโลหิตสูงเรื้อรังเป็นภัยเงียบที่ส่งต่ออาการกำเริบของโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคสมองขาดเลือดหรือหลอดเลือดสมอง ภาวะหลอดเลือดตีบหรือโป่งพอง โรคไตวาย โรคอัลไซเมอร์ โรคประสาทตาเสื่อม เป็นต้น
⌜โรคหัวใจ⌟ เกิดจากสภาวะการทำงานที่ผิดปกติของระบบหัวใจ โรคหัวใจเป็นสาเหตุต้นๆ ของการเสียชีวิตทั่วโลกคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน ซึ่งพบได้มากในผู้สูงอายุ ตามมาด้วยโรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ แต่ในปัจจุบันกลับพบว่าคนที่อายุยังน้อย เช่น เด็กเล็ก หรือวัยรุ่นก็มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้สูงขึ้น
การระบาดของโรค NCDs ประมาณ 80% สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่กระตุ้นความเสี่ยง เช่น การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (อาหารหวานจัด เค็มจัด อาหารแปรรูปขั้นสูงด้วยความร้อนสูงและสารปรุงแต่งทางเคมี) การรับมือกับความเครียด การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอเป็นประจำ การไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงมลพิษทางอากาศ หากหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้จะช่วยป้องกันหรือชะลอการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรค NCDs และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้
การศึกษาพบว่าโครงสร้างทางสังคมที่เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจที่นำหน้าองค์ความรู้ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชาชนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เช่น การเกิดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มแปรรูปขั้นสูงพร้อมสารเคมีปรุงแต่งอาหารให้อยู่ได้นาน สร้างการเสพติดในรสชาติ เพื่อให้ธุรกิจเกิดผลกำไรสูงสุด แต่หากผู้บริโภคบริโภคอาหารเหล่านั้นเป็นระยะเวลานาน สารเคมีแปลกปลอมที่สะสมก็จะส่งผลให้เซลล์ในร่างกายเกิดการอักเสบเสื่อมลงอย่างไม่รู้ตัว หรือการเกิดการพัฒนาของระบบเทคโนโลยีการสื่อสารหรือปัญญาประดิษฐ์ที่เร่งการแข่งขันในด้านธุรกิจที่เร่งรีบในการสร้างผลกำไรที่อาจจะละเลยสุขภาพของพนักงานหรือแรงงาน การปล่อยมลภาวะอย่างผิดกฎหมายจากการพัฒนาเมืองและแหล่งอุตสาหกรรมก็จะส่งผลต่อน้ำเน่าเสีย อุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้นที่จะมาสร้างปัญหาด้านสุขภาพในทางอ้อมได้เช่นกัน เหตุนี้จึงทำให้เกิดกระบวนการเสื่อมภายในร่างกายที่จะก่อโรคในบุคคล เป็นพื้นฐานไปสู่ประชากรในสังคมนั้นๆ ที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคจากพฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต
ถ้าคุณวางแผนที่จะมีไลฟ์สไตล์เป็นผู้ที่มีอายุยืนอย่างแข็งแรงไปสู่ช่วงวัยเกษียณ หากให้สุขภาพโดยรวมดีอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือควรหมั่นอัพเดตความรู้ข้อเท็จจริงด้านสุขภาพ และควรพิจารณาเพิ่มเติมในวิธีอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น วิธีรับมือกับความเครียด การออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ และการตรวจสุขภาพประจำปี