ต่อมหมวกไต ความเครียดสะสมอาจป่วยได้
มาทำความรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) และฮอร์โมนแห่งสุขภาพและความเยาว์วัย (DHEA)
โดยความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมน Cortisol และ DHEA คือ ฮอร์โมนทั้งสองนี้เป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างมาจากต่อมหมวกไตและทั้งสองมีบทบาทในการตอบสนองต่อความเครียด
ผลข้างเคียงเมื่อฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) เกิดความไม่สมดุล หรือเกิดภาวะเครียดเรื้อรังอย่างที่คุณไม่รู้
ทางระบบร่างกาย
ทางจิตใจ
ทางพฤติกรรม
ผลข้างเคียงเมื่อฮอร์โมนเพื่อสุขภาพและความเยาว์วัย (DHEA) เกิดความไม่สมดุล
เช่นกันฮอร์โมน DHEA ก็ควรมีในระดับที่สมดุลจะเป็นประโยชน์มากต่อการรับมือและสามารถปรับความสมดุลจากความเครียดต่างๆ ได้อย่างดีที่สุด ซึ่งหากฮอร์โมน DHEA ในร่างกายมีมากเกินไปหรือต่ำเกินไปก็สามารถนําไปสู่ปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน เช่น
เกิดผลข้างเคียงในผู้หญิง
เกิดผลข้างเคียงในผู้ชาย
ผลข้างเคียงอื่นๆ
ในสถานการณ์ตึงเครียดในระยะสั้นๆ ระดับคอร์ติซอลจะสูงขึ้นได้เป็นปกติ แต่เมื่อร่างกายคุณมีสุขภาพที่เป็นปรกติดีก็จะจัดการกับความเครียดได้ โดยการผลิตฮอร์โมน DHEA มาช่วยปรับระดับฮอร์โมน Cortisol ให้สมดุล แต่กรณีเข้าภาวะความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานานจะไม่เกิดกระบวนการดังกล่าว รวมถึงกรณีที่ระดับฮอร์โมน DHEA จะลดลงตามธรรมชาติเมื่อเราอายุมากขึ้นในช่วงวัยทอง (ช่วงอายุประมาณ 40 – 50 ปีขึ้นไป) ก็จะส่งผลต่อการควบคุมความเครียดในช่วงอายุที่กล่าวมา หรือที่เราได้ยินกันว่า “เข้าสู่วัยทอง” หรือ “ภาวะวิกฤตวัยกลางคน”
คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าระดับฮอร์โมน Cortisol และ DHEA ของคุณ จะสามารถปรับความความสมดุลได้ดีเมื่อเจอสถานการณ์ตึงเครียด
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการกิน
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการดูแลสุขภาพสำหรับคุณ
✧ Burnout VS ต่อมหมวกไตล้า
✧ ประเมินอนาคตสุขภาพคุณจากความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)
✧ เคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามช่วงวัย
✧ กินดีสุขภาพดีแบบ “IF (Intermittent Fasting)” แค่จำกัดเวลากินลงนิด เพื่อชีวิตและสุขภาพ
✧ ผมร่วง! รีบเลย! แก้ที่สาเหตุให้ตรงจุด ก่อนผมบางจนสายไป
สรุป
รายการตรวจฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และฮอร์โมนต้านความเครียดและช่วยชะลอวัย (DHEA)
ข้อมูลโดย :
ทนพ. ชาญเวช ตันติกัลยาภรณ์
พาธแล็บ ศูนย์ตรวจสุขภาพ สาขาแจ้งวัฒนะ
อ้างอิงจาก:
เรื่องน่ารู้:
ร่างกายของคุณผลิตฮอร์โมนที่แตกต่างกันมากกว่า 50 ชนิด
กลุ่มฮอร์โมนที่สำคัญที่คุณควรรู้และดูแลสุขภาพเพื่อสร้างความสมดุลให้กับกลุ่มฮอร์โมนเหล่านี้ ได้แก่
กลุ่มฮอร์โมนเกี่ยวกับอารมณ์
✦ กลุ่มฮอร์โมนแห่งความสุข
○ เอ็นโดรฟิน (Endorphin)
○ โดพามีน (Dopamine)
○ เซโรโทนิน (Serotonin)
○ ออกซิโทซิน (Oxytocin)
✦ กลุ่มฮอร์โมนแห่งเผชิญความเครียดหรือสถานการณ์คับขัน
○ คอร์ติซอล (Cortisol)
○ DHEA; Dehydroepiandrosterone (ฮอร์โมนต้านความเครียดและชะลอวัย)
✦ กลุ่มฮอร์โมนเกี่ยวกับกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกาย
○ อะดรีนาลิน (Adrenalin)
○ อินซูลิน (Insulin)
○ กลูคากอน (Glucagon)
○ อดิโนเพคติน (Adiponectin)
○ ไทรอยด์ / พาราไทรอยด์ (Thyroid / Parathyroid)
○ ไทรอกซีน (Thyroxin)
✦
กลุ่มฮอร์โมนประเภทสร้างภูมิคุ้มกัน
○ ฮอร์โมนไทโมซิน (Thymosin)
ฮอร์โมน Cortisol จะทำหน้าที่เผชิญหน้าและปรับความสมดุลเคมีในร่างกายต่อความเครียดในระยะสั้นและระยะยาว
ฮอร์โมน DHEA จะทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับฮอร์โมน Cortisol คือ ฟื้นฟูระดับฮอร์โมน Cortisol ให้กลับมาสมดุลจากภาวะความเครียดบีบคั้นต่างๆ เพื่อให้กลไกร่างกายทำงานได้ปกติโดยเร็วที่สุด
ผลข้างเคียงที่สำคัญเมื่อฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) เกิดความไม่สมดุลกับฮอร์โมน DHEA หรือเกิดภาวะเครียดเรื้อรังอย่างที่คุณไม่รู้ตัวที่จะเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs) ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคระบบเผาผลาญร่างกายพัง โรคอ้วนลงพุง โรคกระดูกพรุน การแก่ก่อนวัย เกิดอารมณ์แปรปรวนหรือภาวะวัยทอง เกิดการอักเสบระดับเซลล์และผิวหนัง เช่น การเกิดสิวอักเสบและขึ้นเห่อ อาการผดผื่น อ่อนเพลียเหนื่อล้าเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพร่วงบาง เป็นต้น
การดูแลสุขภาพเพื่อสร้างสมดุลระดับฮอร์โมน Cortisol และ DHEA ของคุณให้มีประสิทธิภาพรับมือกับความเครียดประจำวันได้ในเบื้องต้น ได้แก่
【การปรับรูปแบบการกินอาหาร】ที่จะสร้างการอักเสบภายในเซลล์ได้ อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน มีระดับน้ำตาลสูง โซดา ผลิตภัณฑ์กลูเตนหรือแป้งขัดสาว นม (ที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้) อาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปเป็นที่มีสารชูรสและอาหารสังเคราะห์จากสารเคมี และลองเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (Probiotics) ที่สามารถพบได้ในอาหารประเภทหมัก เช่น โยเกิร์ตธรรมชาติ กิมจิ ชีส มิโซะ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้สนับสนุนการดูแลและฟื้นฟูการเกิดภาวะระบบทางเดินอาหารแปรปรวน ภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย (Dysbiosis) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต่อมหมวกไตอ่อนล้าและขาดสารอาหารได้
【การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต】การจัดการความเครียดในบางสถานณ์หรือที่เป็นความเครียดอย่างรุนแรง ที่จะขาดไม่ได้สำหเลยคือทัศนคติที่เป็นเหตุและผลตามสัจธรรมความจริง ความคิดเชิงบวกร่วมกับเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) และการปล่อยวาง ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการไขปัญหาต่างๆ ได้ ที่เปิดประตูไปสู่การมองเห็นปัญหาเป็นภาพกว้าง และนั่นจะทำให้คุณแนวทางเลือกสำหรับการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมสำหรับคุณ และคุณสามารถสนับสนับแนวคิดนี้ได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอและมีคุณภาพ การออกำลังกายในพื้นที่สาธารณะ การเดินทางท่องเที่ยวในธรรมชาติหรือที่แปลกใหม่ หรือเพียงใช้เวลากับคนที่คุณสบายใจหรือสัตว์เลี้ยง และหากเหนือบ่ากว่าแรงคุณควรเปิดโอกาสพูดคุยกับใครสักคนไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน คนรู้จัก หรือสายด่วนสุขภาพจิต 1323 (ได้ตลอด 24 ชั่วโมง) หน่วยงานที่ให้บริการรับฟังและเป็นที่ปรึกษาในยามที่คุณต้องการใครสักคน ที่ให้คุณได้ระบายและได้รับแนวทางการแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมได้ ที่สำคัญคุณต้องไม่พึ่งสารเสพติดหรือสิ่งมึนเมาหรือการพนัน การปลีกวิเวกตัดขาดสังคม ใช้ความรุนแรงเป็นทางออก และความอคติที่ส่งเสริมความคิดเชิงลบ ที่จะส่งผลให้ชีวิตคุณจมดิ่ง ซึมเศร้า เกิดการขาดสติ เกิดเสี้ยววินาที่พลาดในการไตร่ตรองถึงความสำคัญของชีวิตของคนที่คุณรักและตัวคุณเอง
เข้ารับการตรวจประเมินสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย (ตรวจระดับฮอร์โมน Cortisol DHEA รวมถึงโรคออฟฟิศซินโดรม) และด้านจิตใจ (ปัญหาสุขภาพจิต โรคเครียดเรื้อรัง โรคย้ำคิดย้ำทำ) ประเมินสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดและฟื้นฟูสุขภาพ หากเกิดอาการเครียดแบบไม่ทราบสาเหตุ มีความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินไปอย่างไม่สามารถจัดการได้ หรือเกิดอาการเจ็บป่วยอย่างผิดปกติจาการทำงานหนัก นอนไม่หลับ รู้สึกหมดไฟ เป็นต้น