เกาหลีรับไม่ได้!โดนคนไทยวิจารณ์การท่องเที่ยว!
จากกระแส "แบนเกาหลี" ที่เริ่มต้นจากประเด็นความขัดแย้งระหว่างนักท่องเที่ยวชาวไทยกับตม.ของเกาหลีจนนักท่องเที่ยวตัวจริงได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีและต้องขนกระเป๋ากลับไปโดยไม่ได้รับการชดเชยใดๆ ที่เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 มาจนถึงปี พ.ศ. 2567 สื่อเกาหลีก็ได้รายงานข่าวที่จำนวนนักท่องเที่ยวไทยลดลงอย่างมาก ซึ่งทางผู้เขียนได้นำเสนอข่าวไปแล้วตามลิงค์ด้านล่าง
https://news.postjung.com/1567254
ได้มีความคืบหน้าโดยมีปฏิกิริยาจากชาวเน็ตเกาหลีใต้เพิ่มเติมหลังจากได้ยินคำวิพากษ์วิจารณ์จากคนไทยจนเกิดอาการหัวร้อนกันหลายราย เช่น การที่โลกโซเชียลไทยมีแคมเปญ"แบนเกาหลี" และคำวิพากษ์วิจารณ์ในทำนองที่ว่า "อย่าไปเกาหลีใต้เลย ไม่น่าสนใจ ไปญี่ปุ่นกับจีนดีกว่า"
นอกจากความไม่พอใจระหว่างชาวเน็ตของทั้ง 2 ประเทศแล้วในระดับองค์กรใหญ่ก็มีประเด็นเช่นกัน
สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (TTAA) ได้ออกมาแถลงขอโทษอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ทางการท่องเที่ยวเกาหลีได้ทักท้วงกรณีที่เจ้าหน้าที่ในแวดวงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยได้วิพากวิจารณ์การท่องเที่ยวในเกาหลีอย่างดูถูกเหยียดหยาม
ตามการเปิดเผยขององค์การการท่องเที่ยวเกาหลี รองประธานสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว หรือ TTAA ให้สัมภาษณ์กับสื่อ Nikkei Asia ของญี่ปุ่นว่า "สาเหตุที่นักท่องเที่ยวไทยไปเที่ยวเกาหลีลดลงนั้น เป็นเพราะแหล่งท่องเที่ยวในเกาหลีมีไม่มากนัก"
"แหล่งท่องเที่ยวในเกาหลีมีอายุการใช้งานสั้น เพราะเป็นที่รู้จักจากภาพยนตร์ยอดนิยมและ Netflix" และยังกล่าวอีกว่า "แหล่งท่องเที่ยวในจีนและญี่ปุ่นมีมากกว่า รวมถึงมีสิ่งดึงดูดใจ เช่น การยกเว้นวีซ่า ราคาที่ถูกกว่า สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าตื่นตาตื่นใจ และบรรยากาศที่ดี"
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ที่ผ่านมา Nikkei Asia ยังได้นำเสนอข่าวการเคลื่อนไหวแบนการเดินทางไปเกาหลีในประเทศไทยในบทความที่มีชื่อว่า "นักท่องเที่ยวชาวไทยแห่ไปจีนและญี่ปุ่น เพื่อแบนการท่องเที่ยวเกาหลี" หลังจากมีการเผยแพร่รายงานดังกล่าว ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในประเทศไทยและสำนักงานการท่องเที่ยวเกาหลีประจำกรุงเทพฯ ได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับคำกล่าวของรองประธาน TTAA ขึ้นมา
TTAA จึงได้ส่งจดหมายขอโทษอย่างเป็นทางการในนามของประธาน TTAA ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทนำเที่ยวที่ส่งนักท่องเที่ยวชาวไทยไปต่างประเทศ
ประธาน TTAA ได้กล่าวขอโทษว่า "นี่เป็นเพียงความเห็นส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่บางคน ไม่ใช่จุดยืนของสมาคม ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและความกังวล" และกล่าวว่า "เราจะยังคงพยายามส่งนักท่องเที่ยวไปเกาหลีให้มากขึ้นในระดับสมาคม"
ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 ประเทศไทยเป็นนักท่องเที่ยวอันดับหนึ่งในเกาหลีในบรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปี พ.ศ. 2567 นี้ จำนวนชาวไทยที่เดินทางไปเกาหลีใค้ลดลงติดต่อกันเป็นเวลา 7 เดือน ซึ่งภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชี้ว่าเป็นเพราะ "ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการไม่อนุญาตให้เข้าประเทศ" และความรู้สึกต่อต้านเกาหลีที่เกิดขึ้น
เมื่อปลายปีที่แล้ว เกิดข้อโต้แย้งขึ้นเมื่อมีการเผยแพร่บทความจากประเทศไทยว่า K-ETA ที่จำเป็นสำหรับการเข้าประเทศเกาหลีนั้นถูกปฏิเสธโดยไม่มีเหตุผล หรือถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมระหว่างการตรวจคนเข้าเมือง แฮชแท็ก (#) "ไม่เดินทางไปเกาหลี" ได้รับความนิยมในโซเชียลมีเดีย และผลที่ตามมายังคงดำเนินต่อไปจนถึงปัจจุบัน
กระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ของเกาหลีใต้ได้ขอให้กระทรวงยุติธรรมยกเว้นชาวไทยภายในสิ้นปีนี้เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทย แต่กระทรวงยุติธรรมยังระมัดระวังเกี่ยวกับการยกเว้น K-ETA ชั่วคราวในประเทศที่มีอัตราการพำนักอาศัยโดยผิดกฎหมายสูงเนื่องจากไทยเป็นประเทศอันดับ 1 สำหรับผู้อพยพผิดกฎหมายในเกาหลี
ชาวเน็ตไทยรายหนึ่งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
"พวกคุณจะโกรธเรื่องผีน้อย คุณโกรธได้เต็มที่เลย แต่คนไทยที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นและจีนเพราะมันดีกว่าและให้เกียรติคนไทยมากกว่า พวกคุณก็กรี๊ดดัง ๆ เลย เพราะมันคือเรื่องจริง"












