แดรกคิวลาแห่งยุคไดโนเสาร์ ค้นพบ “เห็บดูดเลือด” ในก้อนอำพันอายุ 99 ล้านปี!
วันนี้เราก็จะมีหัวข้อที่จะมานำเสนอในบทความนี้เกี่ยวกับสัตว์ตัวเล็กๆชนิดหนึ่งที่มีชีวิตอยู่ในยุคไดโนเสาร์แต่มันได้ชื่อว่าเป็นแดรกคิวลาแห่งยุคไดโนเสาร์ มันก็คือตัวเห็บนั่นเอง ค้นพบ “เห็บดูดเลือด” ในก้อนอำพันอายุ 99 ล้านปี!
🔜ค้นพบ “เห็บดูดเลือด” ในก้อนอำพันอายุ 99 ล้านปี! (แดรกคิวลาแห่งยุคไดโนเสาร์)
มีการค้นพบฟอสซิลของเห็บสายพันธุ์โบราณชนิดหนึ่ง ในก้อนอำพันที่ได้จากประเทศเมียนมา ซึ่งมีความเก่าแก่ถึง 99 ล้านปี โดยฟอสซิลตัวเห็บนี้เกาะติดอยู่ในขนของไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอด (Theropods)
เห็บที่อยู่ด้านนอกคือ เห็บในยุคปัจจุบันจากประเทศสเปน [เอามาเปรียบเทียบเฉยๆ]
การค้นพบดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Nature Communications โดยระบุว่าพบฟอสซิลของเห็บชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้วซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อว่า Deinocroton draculi
หรือ “เห็บที่น่าสะพรึงกลัวของแดร็กคิวลา” เห็บสายพันธุ์นี้สามารถดูดเลือดได้มากถึง 8 เท่าจากขนาดร่างกายของมัน และเป็นสิ่งที่ไม่เคยค้นพบมาก่อนจากเห็บที่มีอยู่ในสายพันธุ์ในยุคปัจจุบัน
มีการค้นพบอำพันทั้งหมด 4 ก้อน
โดยตัวหนึ่งติดอยู่กับขนของไดโนเสาร์ที่มีลักษณะคล้ายขนนก อีกตัวหนึ่งดูดเลือดเข้าไปจนพุงกาง ส่วนอีกสองตัวติดอยู่กับขนของด้วงหนังสัตว์ ดร. ริคาร์โด้ เพเรซเดอลาเฟนเต (Dr. Ricardo Pérez-de la Fuente) จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดกล่าวว่า “ขนนกไดโนเสาร์ที่พบพร้อมกับเห็บดึกดำบรรพ์นี้เป็นหลักฐานชิ้นแรก ของความสัมพันธ์ระหว่างปรสิตกับไดโนเสาร์ที่มีขน”
บันทึกจากฟอสซิลได้บอกเราว่าขนไดโนเสาร์ที่เหมือนขนนกนี้ จัดอยู่ในกลุ่มไดโนเสาร์ประเภท ทีโรพอด
ซึ่งเป็นกลุ่มไดโนเสาร์ที่อยู่อาศัยบนพื้นราบแบบไม่มีความสามารถในการบินหรืออาจจะเป็นไดโนเสาร์กลุ่มเหมือนนกที่มีสามารถในการบินก็เป็นได้ ซึ่งฟอสซิลอำพันนี้คาดว่าอยู่ในยุคกลางครีเทเชียส และอำพันที่ค้นพบได้ยืนยันแล้วว่า ขนนกที่อยู่ด้านในไม่ใช่ขนนกที่มีชีวิตอยู่ในยุคปัจจุบัน
นายเอนริเก เปนญาลแวร์ ผู้นำทีมวิจัยจากสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสเปน (IGME) ซึ่งค้นพบและศึกษาฟอสซิลนี้ระบุว่า “ถือเป็นครั้งแรกที่ได้พบหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชี้ถึงบทบาทของเห็บในระบบนิเวศยุคดึกดำบรรพ์ แม้ไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 66 ล้านปีก่อน แต่เห็บยังคงสามารถดำรงเผ่าพันธุ์และวิวัฒนาการมาเป็นเห็บที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบัน”
เห็บทั้ง 2 ตัวนี้ เป็นตัวผู้โตเต็มวัย ที่เห็นเป็นสีเขียวเพราะจะได้เห็นถึงตัวเห็บได้ชัดมากขึ้นกว่าการมองด้วยสีเหลือง
แม้การค้นพบนี้จะคล้ายกับเรื่องราวในภาพยนตร์ยอดนิยมเรื่องจูราสสิก พาร์ก ที่มีการสกัดเอาดีเอ็นเอของไดโนเสาร์ออกมาจากเลือดในท้องยุงซึ่งติดอยู่ในก้อนอำพัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว
นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถจะสกัดเอาดีเอ็นเอของสัตว์ดึกดำบรรพ์ออกมาจากก้อนอำพันได้ เพราะโมเลกุลที่ซับซ้อนและเปราะบางของดีเอ็นเอจะได้รับความเสียหายแต่อย่างไรก็ตาม ก้อนอำพันโบราณที่เกิดจากยางไม้ได้ช่วยรักษาสภาพชีวิตในยุคดึกดำบรรพ์ให้คงเดิมมานานนับร้อยล้านปี เหมือนกับการบันทึกภาพเอาไว้ ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้เห็นและได้ศึกษากันในทุกวันนี้
จากการค้นพบนี้ทำให้เราได้รู้ว่าสัตว์หรือแมลงในยุคไดโนเสาร์นั้นก็ยังมีพวกเห็บ ทีอาศัยการดูดเลือดในการดำรงชีวิตเช่นยุงหรือเห็บ มัด ริ้น ไร อะไรต่างๆนานาเนี่ยมันก็มีมาตั้งแต่สมัยยุคดึกดำบรรพ์แล้วนะครับ
อ้างอิงจาก: generalmenmen,google search