ตาบอดกลางคืน (Night Blindness) จากภาวะขาดวิตามินเอ
ตาบอดกลางคืน (Night Blindness) เป็นอาการผิดปกติทางการมองเห็นประเภทหนึ่ง ความสามารถในการมองเห็นจะไม่ชัดเจนนักในเวลากลางคืน หรือ เมื่ออยู่ในสถานที่มีแสงสว่างน้อง แสงไฟสลัว
โดยมักจะเกิดอาการตอนที่ต้องมีการปรับสายตาระหว่างที่ที่มีแสงสว่างมาก ไปยังที่แสงสลัว เช่น การเดินจากภายนอกอาคารเข้ามาในตัวอาคาร หรือ การขับรถตอนกลางคืนที่มีแสงสว่างไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น
ภาวะขาดวิตามินเอ (Vitamin A Deficiency) คือ การที่ร่างกายได้รับวิตามินไม่เพียงพอ
วิตามินเอ ช่วยในเรื่องการมองเห็น ระบบเผาผลาญ และ การเจริญเติบโตของเซลล์ต่าง ๆ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ดีขึ้น
ร่างกายของคนเราไม่สามารถผลิตวิตามินเอได้เอง จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอเป็นส่วนประกอบ
วิตามินเอจำเป็นต่อการผลิตเม็ดสีที่สำคัญต่อการทำงานของจอประสาทตา หากได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอจะทำให้การผลิตเม็ดสีดังกล่าวไม่เพียงพอจนนำไปสู่อาการตาบอดกลางคืน
วิตามินเอยังช่วยทำให้จอประสาทตาชุ่มชื่น ไม่แห้งเกินไปเพราะอาจทำให้จอประสาทตาถูกทำลาย จนเกิดปัญหา หรือ สูญเสียการมองเห็น แต่หากมีการบริโภควิตามินเอมากจนเกินไปอาจนำไปสู่พิษวิตามินเอ เช่น ผื่น ปวดศีรษะ ผมแห้งหยาบ ผมร่วงเป็นหย่อม หรือ ตับถูกทำลาย
การป้องกันภาวะขาดวิตามินเอ
1.การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม เป็นวิธีการป้องกันภาวะขาดวิตามินเอที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยอาหารที่มีวิตามินเอสูงได้แก่
- ไข่
- ผลิตภัณฑ์อาหารจากนม
- ปลาแซลมอน
- เนื้อไก่
- เนื้อวัว
- ตับ
- ผักใบเขียว เช่น ผักโขม
- ผัก และ ผลไม้สีแดง สีเหลือง สีส้ม เช่น มะเขือเทศ แครอท
- ผลไม้ เช่น มะม่วง แคนตาลูป
2.การสวมแว่นตาสามารถช่วยบรรเทาอาการตาบอดกลางคืนได้ และ ช่วยในการมองเห็นทั้งกลางวัน และ กลางคืนคมชัดยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยก่อน