โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness)
โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) คือ พฤติกรรมที่มีอาการใจร้อน หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย กับการรออะไรบางสิ่งบางอย่าง
เกิดจากสาเหตุ
เป็นผลกระทบจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์ หรือ มักจะเกิดขึ้นสำหรับผู้ที่เสพติดการใช้โซเชียลมีเดีย
แม้ว่าโรคทนรอไม่ได้จะเกิดขึ้นในยุคสมัยของคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และ เทคโนโลยี แต่คำนิยามของคำว่า Hurry Sickness เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1974 จากแพทย์รักษาโรคหัวใจ 2 ท่าน คือ Meyer Friedman และ Ray Rosenman นิยามถึงพฤติกรรม หรือ ลักษณะอาการของคนที่มักจะรู้สึกหงุดหงิด ฉุนเฉียว เร่งรีบ ผ่านหนังสือเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลหมู่เลือด A กับเรื่องหัวใจ (Type A Behavior And Your Heart) ซึ่งภาวะทนรอไม่ได้ก็เป็นหนึ่งในลักษณะของคนหมู่เลือด A เช่นเดียวกัน
มีอาการอย่างไร
- รู้สึกหงุดหงิด รำคาญ ในสถานการณ์ที่ล่าช้า
- มีอาการเร่งรีบ เกี่ยวกับกิจกรรมประจำวัน เช่น รับประทานอาหารเร็วเกินไป
- ไม่ค่อยมีสมาธิ
- ขัดจังหวะคนอื่นโดยไม่รู้ตัว เช่น ตัดบทสนทนา พูดแทรกในเรื่องที่ตัวเองอยากสื่อสารออกไป
- มักจะบ่นว่าเวลาไม่ค่อยพอ
- หากมีการวางแผนสิ่งที่จะทำในแต่ละวัน แต่มีการคลาดเคลื่อนของเวลา จะมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียว
- ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน ทนไม่ได้ที่จะทำอะไรทีละอย่าง
- ชอบมีหลายหน้าที่ หรือ บทบาท
- คิดว่ากำลังแข่งขันกับทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่เรื่องเล็กน้อยในชีวิตประจำวัน เช่น การชอปปิง แม้รถติดไฟแดงก็ทำให้หงุดหงิดได้
- มักหงุดหงิดเมื่อพบกับความล่าช้า หรือ ต้องรออะไรนาน ๆ
- รู้สึกว่าตัวเองทำอะไรล่าช้าตลอดเวลา ต้องการทำทุกอย่างให้เร็ว ๆ ทั้งเรื่องการทำงาน การเดินทาง หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
- หมกมุ่นกับสิ่งที่ต้องทำไม่สิ้นสุด พอใจเพียงชั่วครู่
ผลกระทบที่เกิดจากโรคทนรอไม่ได้
ด้านสุขภาพ
- หัวใจเต้นเร็ว
- ปวดศีรษะ
- อ่อนเพลีย
- ความดันโลหิตสูง
- ภูมิต้านทานในร่างกายลดต่ำลง
- คลื่นไส้ อาเจียน
ด้านอื่น ๆ
- ผลกระทบความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง
- มีความเสี่ยงก่อให้เกิดภาวะหมดไฟ (Burnout)
- มีปัญหาในด้านการตัดสินใจ จากความไม่ละเอียด
วิธีการป้องกันโรคทนรอไม่ได้
- หากรู้ตัวว่าเกิดอารมณ์ร้อน หงุดหงิด ทำใจให้สงบ ระงับอารมณ์ เรียกสติ
- ฝึกการเล่นโยคะ ฝึกทำสมาธิ
- ปรับเปลี่ยนความคิดในแง่บวก ทุกอย่างในชีวิตไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของแต่ละเรื่อง และ ทำให้เสร็จทีละอย่าง อนุญาตให้ตัวเองได้พักผ่อน ไม่ต้องทำงานตลอดเวลา
- หากิจกรรมเพื่อการผ่อนคลายร่างกาย และ จิตใจ เช่น แช่น้ำอุ่น จดบันทึก ฟังเสียงบรรเลงเพื่อการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ นั่งสมาธิ