อันตราย ! หากเกิดภาวะวูบหมดสติ
ภาวะวูบหมดสติ (Syncope Attack) คือ ภาวะการสูญเสียการรับรู้สติ ความรู้สึกตัว และ การทรงตัวชั่วคราว โดยทั่วไปเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงชั่วขณะ ทำให้สมองขาดออกซิเจนชั่วคราวจะมีลักษณะอาการเฉพาะ คือ หมดสติเฉียบพลัน เกิดขึ้นชั่วขณะในระยะเวลาอันสั้น สามารถฟื้นคืนสติได้เอง
แสดงออกทางอาการหลากหลาย เช่น
- เรียกไม่รู้สึกตัว
- ล้มลงกับพื้น ทรงตัวไม่อยู่
- อาจมีอาการเกร็งที่มือ เท้า ตาค้างชั่วขณะ
- เหงื่อออกที่ใบหน้า
- ป่วยจะจำเหตุการณ์ตอน หมดสติไม่ได้ โดยจะมีระยะเวลาการหมดสติ ตั้งแต่ 30 วินาที ถึง 5 นาที ขึ้นกับสุขภาพพื้นฐานเดิมของผู้ป่วย
- ผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการนำมาก่อนเกิดอาการวูบหมดสติ เช่น รู้สึกหวิว ๆ มึนศีรษะ โคลงเคลง ตาพร่า หรือ เห็นแสงแวบวาบ ปลายมือ ปลายเท้าเย็น คลื่นไส้ เป็นต้น
อาการวูบไม่รู้ตัวเป็นอันตรายมากโดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานบนที่สูง ผู้ที่ต้องใช้ยาพาหนะ ขณะทำงานกับเครื่องจักร โดยเฉพาะบางอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง เช่น พนักงานขับรถ นักบิน นักประดาน้ำ คนงานก่อสร้าง ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุซ้ำเติมจากการภาวะวูบได้ ในผู้สูงอายุพบมากถึง 23% พบอุบัติการณ์ของภาวะนี้ในคนทั่วไป 3% ผู้ที่เคยมีอาการวูบหมดสติมีโอกาสเกิดซ้ำได้อีกถึง 1 ใน 3 เท่า
สาเหตุของภาวะวูบหมดสติ
เกี่ยวกับหัวใจโดยตรง เช่น
- เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะทั้งชนิดเร็ว และ ช้า
- หลอดเลือดหัวใจตีบ
- กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ
- ลิ้นหัวใจตีบ
- กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวผิดปกติ
- ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
เกี่ยวกับระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ
- มักพบตามหลังสถานการณ์เฉพาะบางอย่าง เช่น หลังไอ จาม เบ่งอุจจาระ เบ่งปัสสาวะ
- ยืนนาน ๆ ในที่แออัด หรือ อากาศร้อน
- กลัวการเจาะเลือด
- กลัวเข็มฉีดยา
- เกิดจากการเสียเลือด หรือขาดน้ำ เช่น ท้องเสียรุนแรง
- มีเลือดออกในอวัยวะภายใน
- เกิดจากยาบางชนิด โดยเฉพาะยาลดความดันโลหิตสูง ยารักษาต่อมลูกหมาก ยาต้านอาการซึมเศร้า หรือ แม้แต่ยาเบาหวาน สิ่งที่เป็นอันตราย
- โรคทางสมองบางอย่างที่มีระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อม เช่น โรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อม
อาการวูบที่ควรพบแพทย์
- วูบแล้วหมดสติ - ชัก
- ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ชา มีอาการใบหน้าบิดเบี้ยว หรือ อ่อนแรงร่างกายครึ่งซีก
- หัวใจเต้นผิดปกติ หรือ ในผู้สูงอายุรวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว
วิธีการป้องกันภาวะวูบหมดสติ
1.รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่
2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรออกกำลังกายหนักเกินไป หรือ หักโหม
3.ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกินมาตรฐาน
4.ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
5.พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้เป็นเวลา
6.หากมีอาการวูบตอนเปลี่ยนท่า ควรเปลี่ยนท่าช้า ๆ
7.หมั้นตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ1 ครั้ง
เมื่อพบผู้ป่วยวูบหมดสติควรทำอย่างไร ?
1.ให้ผู้ป่วยนอนราบบนพื้นที่สะอาด ปลอดภัย
2.ไม่มุงดู เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก
3.ตะแคลงศีรษะไปด้านข้างป้องกันลิ้นตก
4.ถ้ากำลังรับประทานอาหารอยู่ มีอาหารอยู่ในปาก หรือ มีฟันปลอม ควรใช้ผ้าล่วงเอาเศษอาหารออกจากปาก และ ถอดฟันปลอม
5.เรียกรถฉุกเฉิน นำตัวส่งโรงพยาบาล