ข้าวเหนียวทำไมกินแล้วง่วง ?
ข้าวเหนียว เมนูข้าวยอดนิยมสำหรับทุกคน โดยเฉพาะชาวภาคเหนือและอีสานที่ขาดไม่ได้ ในแต่ละมื้ออาหาร รวมถึงเป็นเมนูยอดนิยมที่นำมาดัดแปลง เพื่อรับประทานคู่กับอาหารคาวหวานได้หลากหลายเมนู จนเป็นที่ถูกปาก ถูกใจของคนไทยแทบทุกคน
แม้ข้าวเหนียวจะเป็นอาหารที่ทั้งอิ่มท้องและให้พลังงานอย่างเต็มเปี่ยม แต่ side effect ของข้าวชนิดนี้ที่หลาย ๆ คนเห็นพ้องร่วมกัน ก็คือ อาการ ‘ง่วงนอน’ หลังรับประทานนั่นเอง
ทำไม รับประทานข้าวเหนียวแล้วจึงรู้สึกง่วงนอน ?
ข้าว มีส่วนประกอบส่วนใหญ่ คือ คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) ที่เป็นสตาร์ซ (starch) ซึ่งมีอะไมโลส (Amylose) และ อะไมโลเพกติน (Amylopactin) เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่ง อะไมโลส เป็น คาร์โบไฮเดรตที่มาจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวต่อกันเป็นเส้นตรง ย่อยง่าย พบใน ข้าวเจ้า มากกว่าข้าวเหนียว
ส่วน ข้าวเหนียว จะมี อะไมโลเพกติน ที่เป็น คาร์โบไฮเดรตที่มาจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ต่อกันแบบกิ่งก้านสาขา ซึ่งจะทำให้ย่อยได้ยากกว่า และมีปริมาณที่มากกว่าในข้าวเจ้า
เมื่อเรากินข้าว ร่างกายจะย่อยคาร์โบไฮเดรต ให้กลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็ก คือ น้ำตาลกลูโคสและซูโครส เมื่อปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ร่างกายจะทำการ หลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ออกมาโดยอัตโนมัติ เพื่อรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ
ขณะที่อินซูลินหลั่งสารชื่อเซโรโทนินออกมา สารเมลาโทนินก็จะหลั่งออกมาเช่นกัน สารชนิดนี้ทำให้เกิดอาการง่วง
ข้าวเหนียว เมื่อเข้าสู่ระบบลำไส้ร่างกายจะมีกระบวนการย่อยนานกว่าปกติ พอยิ่งนานร่างกายก็หลั่งสารเซโรโทนินและเมลาโทนิน ทำให้เกิดอาการง่วงมากขึ้นเป็นระยะเวลานานกว่าการกินข้าวสวยด้วย
กล่าวโดยสรุป ก็คือ เริ่มตั้งแต่กระบวนการ การย่อย “ข้าว”
ระบบการย่อยอาหาร โดยปกติแล้ว จะเปลี่ยนจาก “ข้าว” ให้เป็น “น้ำตาล” ในรูปแบบโมเลกุลเล็กๆ เพื่อสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย เมื่อปริมาณน้ำตาลเยอะขึ้น ร่างกายจึงหลั่ง “อินซูลิน” มาคุมน้ำตาล ซึ่งสารอินซูลิน จะนำพาสารที่ทำให้รู้สึกง่วง หลั่งออกมาด้วยเล็กน้อย
การย่อยข้าวเหนียวต้องใช้เวลากว่า เนื่องจากมี “สารอะไมโลเพกตินสูงกว่าข้าวสารทั่วไป” ซึ่งเป็นตัวการทำให้ย่อยยาก จึงส่งผลให้ระบบย่อยอาหารผลิตน้ำตาลออกมาเยอะ ทำให้สร้างสารอินซูลิน และสารที่ทำให้ง่วง นั้นมีมากขึ้นนั่นเอง
“ยิ่งย่อยนาน ยิ่งทำให้ปริมาณน้ำตาลสูง อินซูลิน และสารทำให้ง่วงก็ยิ่งสูงขึ้น”