หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เพราะเหตุใด ต้นไม้ที่เชอร์โนบิล ถึงไม่ตายหลังจากโดนกัมมันตรังสี

เนื้อหาโดย teerap

     เมื่อเอ่ยชื่อของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล เชื่อว่าคงมีหลายๆ คนที่นึกภาพของดินแดนแห่งความตายที่สิ่งมีชีวิตไม่อาจที่จะเข้าไปอาศัยอยู่ได้ขึ้นมาเป็นสิ่งแรกๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พื้นที่ของเชอร์โนบิลจริงๆ แล้วมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่มากกว่าที่เราคิด เพราะนอกจากเหล่าสัตว์ป่าที่เริ่มกลับเข้าไปอยู่ในพื้นที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแล้ว เหล่าพันธุ์ไม้ที่อยู่ในพื้นที่เอง โดยมากก็ไม่ได้ตายไปด้วยกัมมันตรังสีมาตั้งแต่แรกแล้วด้วย สังเกตได้จากภาพถ่ายหลายๆ ภาพตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน อันตรายของกัมมันตรังสีต่อสิ่งมีชีวิตนั้นโดยมากแล้วจะมาจากการที่มันส่งผลกระทบต่อเซลล์และ DNA ของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะโดยการทำให้เซลล์ตายไปอย่างรวดเร็ว (ในกรณีที่โดนกัมมันตรังสีมากๆ) หรือทำให้เซลล์เปลี่ยนแปลงไปจากที่ควร แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ย่อมเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าและมนุษย์อย่างเห็นได้ชัด เพราะเซลล์และอวัยวะในร่างกายของเรานั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้ทำงานไปด้วยกัน

ดังเช่นที่มนุษย์จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หากขาดสมอง หัวใจ หรือปอด กลับกันสำหรับพืชแล้ว พวกมันมีระบบภายในที่ยืดหยุ่นกว่ามนุษย์และสัตว์มาก เนื่องจากพวกมันไม่สามารถขยับตัวเพื่อหนีจากพื้นที่อันตรายได้ ดังนั้นแทนที่จะมีโครงสร้างที่ถูกกำหนดตายตัวแบบสัตว์ พืชจะสร้างโครงสร้างขึ้นในระหว่างที่มันเติบโต และหนึ่งในความสามารถที่สำคัญที่สุดในการสร้างโครงสร้างขึ้นมาใหญ่ของพืช ก็คือความสามารถในการสร้างเซลล์ทุกชนิดที่ต้นไม้ส่วนนั้นต้องการขึ้นมาใหม่นั่นเอง (เช่นการที่เราสามารถงอกรากพืชจากกิ่งที่ตัดมาได้เป็นต้น) ความสามารถทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้ช่วยให้พืชทดแทนเซลล์ที่เสียไปจากกัมมันตรังสีได้ดีต่อสัตว์มาก อีกทั้งต่อให้ DNA ของพวกมันได้รับความเสียหายจนสร้างเนื้องอกขึ้นมา เนื้องอกเหล่านั้นก็มักจะไม่กระจายไปตามส่วนต่างๆ เหมือนมะเร็งในสัตว์ ด้วยระบบผนังรอบเซลล์พืช ทำให้ต่อให้มีเนื้องอกพืชก็จะสามารถจัดการกับมันได้ง่ายๆ เท่านั้นยังไม่พอนักเมื่อนักวิจัยลองทำการตรวจสอบพืชในพืชที่เชอร์โนบิล พวกเขาก็ยังพบอีกว่าพืชเหล่านี้นั้นมีการปรับเปลี่ยนสารเคมีในตัวเองเพื่อให้ตัวเองได้รับความเสียหายจากกัมมันตรังสีได้ยากขึ้นอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการปรับตัวที่น่ากลัวมากๆ จนไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมพืชจึงสามารถเอาชีวิตรอดจากเหตุการณ์ที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลมาได้

เนื้อหาโดย: teerap
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
teerap's profile


โพสท์โดย: teerap
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: teerap
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สมาคมโรงแรมกระบี่ ยื่นมือช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือขบวนเกี้ยวของหว่านหรงจำนวนผู้เสียชีวิตในฉนวนกาซาเพิ่มขึ้นเป็น 41,431 คนแล้วภาพเก่าหาดูยาก : แร้งประจำถิ่น ณ วัดสระเกศ เมื่อ คริสตศักราช 1905วาฬหลังค่อมได้เผลอกินแมวน้ำ แต่กลับต้องสำรอกออกมาอย่างรวดเร็ว10 สูตรปรุงไข่เจียว เมนูไข่ไม่น่าเบื่อ พ่วงวิธีทอดไข่เจียวให้อร่อยพบฟันเมกาโลดอนขนาด 6.55 นิ้ว นอกชายฝั่งของนอร์ทแคโรไลนา: หลักฐานจากอดีตสัตว์ทะเลที่ยิ่งใหญ่ถ้ำหินแกะสลักภูเขาเทียนที อายุ1600 ปีชาวเน็ตกระหน่ำวิจารณ์ น้ำปั่นแก้วละ 465 บาท คุ้มจริงไหม? ทำไมถึงแพงได้ขนาดนั้นอ.เจษฎ์ ทลายความเชื่อผิด ๆ "กินไก่ไม่ทำให้เป็นโรคเก๊าต์" ชี้ชัดอาหารต้องห้าม และวิธีป้องกันรู้จัก "PHUWIN" (ภูวินทร์) เดบิวต์ซิงเกิลแรก “วันเกิดเธอ” (TO YOU) ค่าย  RISER MUSICเมื่อหมูเด้ง ต้องไปแคสติ้งเป็นนักแสดงซูปเปอร์ฮีโร่
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เมื่อหมูเด้ง ต้องไปแคสติ้งเป็นนักแสดงซูปเปอร์ฮีโร่สมาคมโรงแรมกระบี่ ยื่นมือช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือสุดยอด 5 อันดับประเทศเอเชียระบบขนส่งเจ๋งสุด พร้อมไทยติดอันดับด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตในฉนวนกาซาเพิ่มขึ้นเป็น 41,431 คนแล้ว
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ออมทอง ทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวความสมมาตรของพีระมิดและสฟิงซ์ของอียิปต์โบราณ อายุเกือบ 5,000 ปีภาพเก่าหาดูยาก : แร้งประจำถิ่น ณ วัดสระเกศ เมื่อ คริสตศักราช 1905ถ้ำหินแกะสลักภูเขาเทียนที อายุ1600 ปี
ตั้งกระทู้ใหม่