ภาษิตล้านนา กินแล้วลืมอยาก ปากแล้วลืมคำ อย่าอู้กันดัง อย่าฟังคำส่อ
ภาษิตล้านนา กินแล้วลืมอยาก ปากแล้วลืมคำ อย่าอู้กันดัง อย่าฟังคำส่อ
ภาษิต หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบทอดต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็นคติ
ภาษิตล้านนาว่าด้วยการพูดจา
ภาษิตล้านนาที่ว่าด้วยการพูดจา การพูด หรือ การใช้วาจานั้นมีความสำคัญต่อการสื่อสารเป็นอย่างมาก เพราะคนเราจะรักกันได้ จะเข้าใจกันได้ หรือขัดแย้งกันได้ เป็นศัตรูกันได้ ก็อยู่ที่คำพูด คำจา ทั้งสิ้น ดังนั้นการใช้คำพูดให้ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะ และบุคคลเป็นเรื่องสำคัญ ทางล้านนานั้นมีภาษิตที่เกี่ยวข้องกับการพูดจาอยู่หลายภาษิต ซึ่งเป็นการให้ข้อคิดในการพูดจาทั้งผู้พูด และ ผู้ฟังหลาย
ภาษิตสอนให้รักษาคำพูดของตน ดังภาษิตที่ว่า
กินแล้วลืมอยาก ปากแล้วลืมคำ คำสอนนี้มีหมายความว่า เมื่อได้กินอิ่มแล้ว ก็ลืมความหิว ลืมความอยาก หรือลืมว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความอยากว่าความหิวเป็นเช่นไร การที่พูดอะไร หรือ สัญญาอะไรไว้แล้วก็ลืม ไม่ทำตามที่พูด เป็นการไม่รักษาคำพูด
ปาก แปลว่า พูด
เป็นภาษิตที่สอนให้รู้จักรักษาคำพูด ไม่ควรเป็นคนที่ไม่รักษาคำพูด ดังภาษิตที่ว่า กินแล้วลืมอยาก ปากแล้วลืมคำ
สอนไม่ให้ฟังคำยุยงส่อเสียด ดังภาษิตที่ว่า
อย่าอู้กันดัง อย่าฟังคำส่อ คำสอนนี้มีความหมายตรงตัว คือ ไม่ควรพูดคุยเสียงดัง เพราะจะทำให้ผู้อื่นรำคาญ หรือ ไม่เกิดความไม่พอใจได้ และไม่ควรเชื่อฟังคำยุยงส่อเสียด เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันได้
ส่อ แปลว่า ฟ้อง ยุยง บอก
และยังมีภาษิตคำสอนที่ว่า อย่ายุยงให้ผู้อื่นผิดใจหรือทะเลาะกัน ดังภาษิตที่ว่า อย่าส่อหื้อชาวบ้านผิดกัน
อ้างอิงจาก: ภาษิต สำนวนไทย 4 ภาค ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ผู้เขียน : ราชบัณฑิตยสถาน; สำนักพิมพ์ : กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน; ปีพิมพ์ : 2555; จำนวนหน้า : 185
http://legacy.orst.go.th/?knowledges=สุภาษิต-๒๕-สิงหาคม-๒๕๕๐