ปลาชะโด: นักล่าเศษฐกิจตัวใหม่น่าจับตามอง
เมื่อพูดถึงปลาชะโด ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่น่ากลัวและดุร้าย หลายคนมองมันเป็นเอเลี่ยนสปีชี่ส์และคิดว่าด้วยความก้าวร้าวของมันนั้นไม่คู่ควรจะได้รับคำชม วันนี้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับปลาชะโดให้มากขึ้นกันนะครับ!
ประวัติและถิ่นกำเนิด
ปลาชะโด (Chana micropeltes) เป็นปลาในสกุล Channa หรือปลาในวงศ์ปลาช่อน มีความยาวถึง 1 เมตร น้ำหนัก 20 กิโลกรัม มีรูปร่างทรงกระบอกกลมยาว มีสีดำ สีฟ้าอมเขียวเหลือบเป็นลาย ในวัยเด็กมีสีเทาและลายแถบสีส้มคาดข้างลำตัวยาวถึงหาง ลายนี้จะค่อยๆ เปลี่ยนเมื่อปลาโตขึ้น มีฟันแหลมคมคล้ายเลื่อยใช้กัดเหยื่อ เป็นสัตว์กินเนื้อ กินปลา กุ้ง แมลงน้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร พบได้หลากหลาย ทั้งแม่น้ำ เขื่อน บึง หนอง คลอง ธารน้ำในป่า สามารถอดทนฮุบอากาศแลกเปลี่ยนอ๊อกซิเจนด้วยอวัยวะคล้ายพู่ในเหงือก เป็นปลาพื้นถิ่นพบได้ทุกภาคของไทย ในต่างประเทศเจอได้ในลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า มาเลเซีย สิงค์โปร เกาะสุมาตรา บอร์เนียว และชวาของอินโดนีเซีย
เหตุที่ปลาชะโดดูเหมือนสายพันธุ์รุกราน เกิดจากการที่ปลาชะโดนั้นออกลูกได้มากและมีความดุร้าย เมื่อมีการปล่อยปลาพื้นถิ่นที่เป็นนักล่าจำนวนมากๆ ลงแหล่งน้ำเดียว จึงเกิดความแออัดและขาดทรัพยากรนั่นเอง ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยปลากินเนื้อเพียงชนิดเดียวกันมากเกินไปในแหล่งน้ำต่างๆ เวลาต้องการคืนประชากรพันธุ์ปลา
ปลาชะโด เป็นปลาที่มีฤดูผสมพันธุ์ช่วงเดือนพฤษาคมถึงเดือนตุลาคม โดยจะจับคู่กันเพียงหนึ่งคู่ ตัวผู้ตัวเมีย และจะวางไข่ตามกอวัชพืชที่ลอยน้ำ โดยไข่ที่ถูกผสมจะฟักในเวลา 30-45 วัน และลูกปลาวัยแรกเกิดจะมีสีแดงสดทั้งตัว พ่อแม่ปลาจะคอยปกป้องรังจากสัตว์นักล่าและแบ่งอาหารให้ลูกปลากิน เมื่อลูกปลาอายุครบ 1 เดือนก็จะเริ่มแยกย้ายอยู่กันเป็นฝูงเพื่อป้องกันตัวให้ปลอดภัยจากนักล่าอื่นๆ
ปลาชะโดกับการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ คุ้มค่าหรือไม่
ปลาชะโดถึงจะกินได้อย่างปลาช่อน ไม่มีพิษ แต่ควรกินปรุงสุก ก็จัดเป็นปลาที่คนไทยมองข้าม เพราะความเนื้อแข็งและหยาบของมันจึงทำให้มันเหมาะไปทำปลาส้ม ปลาเค็มที่ผ่านการหมักเกลือเสียมาก
แต่ในปี 2561 มีกลุ่มเกษตรกรนำปลาชะโดที่ปรับปรุงพันธุ์มาทดลองเลี้ยงและส่งขายไปยังประเทศมาเลเซียและสิงค์โปร โดยกลุ่มเกษตรกรจากแปดจังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง พิษณุโลก อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ และ อ่างทอง รวมตัวกันในชื่อกลุ่ม "จ็อด ปลาชะโด" นำเอาปลาชะโดที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์โดยนำปลาชะโดจากเขื่อนในกาณจนบุรีมาผสมกับปลาชะโดจากแหลมมลายูที่มีนักธุรกิจชาวสิงค์โปรลงมาสอนวิธีการเพาะขายและรับซื้อ ปลาชะโดที่ได้มาของกลุ่มเกษตรกรนี้จะเลี้ยงโดยการเลี้ยงในบ่อน้ำที่ไม่ลึกเกิน 25 เมตร มีตาข่ายล้อมป้องกันการหลบหนีของปลาหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้น และมีการให้อาหารปลาชะโดด้วยปลาบด ปลาทะเลอย่างปลาทูหรือปลาหางเหลือง เนื้อที่ได้จะมีสีขาวเนียนสวยงามน่ากิน โดยส่งไปขายในประเทศสิงค์โปรและมาเลเซีย กระนั้นก็ยังเป็นช่วงทดลองตลาด จึงยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าน่าทดลองหรือไม่
เอเลี่ยนในแดนมังกร
ปลาชะโด แม้จะสวยงาม ก็กลับไปแผลงฤทธิ์ในประเทศไต้หวันในฐานะเอเลี่ยนสปีชี่ส์ โดยถูกนำเข้าไปยังทะเลสาบสุริยันจันทรา ที่เมืองหนานโถว โดยได้ระบาดมาถึง 4 ปีด้วยกัน โดยเกิดจากการนำเข้าปลาชะโดไปเป็นปลาสวยงามและเกมกีฬาสำหรับเซียนเบ็ด เมื่อผ่านไปพวกมันไม่มีศัตรูตามธรรมชาติและมีอัตราการปกป้องรังสูง จึงทำให้พวกมันขยายพันธุ์ไล่กินปลาท้องถิ่นบนเกาะไต้หวันจนเกือบหมด จึงเป็นปัญหาในการกำจัดพวกมันกันอยู่เรื่อยๆ จนประเทศไต้หวันตอนนี้ประกาศให้ปลาชะโดไม่สามารถนำเข้าได้อีกต่อไป และรณรงค์ให้ชาวบ้านนำปลาชะโดไปทำอาหาร นอกจากในไต้หวันแล้ว ประเทศฟิลิปปินส์ที่เป็นหมู่เกาะก็มีการนำปลาชะโดเข้าไปและก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกเช่นกัน
https://mgronline.com/smes/detail/9610000076812
https://www.thaipost.net/main/detail/62067
https://www.springnews.co.th/keep-the-world/environment/841707














