ข้อควรรู้!! “วัยทำงาน”กับ ช่วงเวลาทองของสมอง
ข้อควรรู้!! “วัยทำงาน”กับ ช่วงเวลาทองของสมอง
ข้อมูลจาก หนังสือ วิทยาศาสตร์ของการใช้ชีวิต (The Science of Living) เขียนโดย Dr. Stuart Farrimond กล่าวว่า คนส่วนใหญ่ ตอนเช้าคือช่วงเวลาที่สมองแก้ปัญหาได้ดีที่สุด ฉะนั้นจงเลิกสนใจสิ่งที่ทำให้ไขว้เขวแล้วจดจ่อกับงานที่ต้องทำจริง ๆ มันคงดูไม่ฉลาดถ้าคุณจะเสียช่วงเวลาสำคัญนี้ไปกับการกดลบจดหมายขยะ ตอบอีเมลยาวเหยียด หรือติดอยู่ในหลุมดำของโซเชียลมีเดีย ผู้มีอำนาจในที่นี้ไม่ใช่เจ้านายของคุณ แต่เป็นนาฬิกาชีวิตของคุณ การประชุมที่ยาวนานในตอนเช้าจะสูบพลังการคิดด้วยความเร็วสูงสุดไปจนเกลี้ยง ดังนั้นถ้าทำได้ให้เลื่อนกิจกรรมเหล่านั้นออกไปก่อน ทว่าหากคุณเป็นนกฮูก ให้จำไว้ว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการใช้สมองคือตอนบ่าย
โดยส่วนมากตอนเช้าคือช่วงเวลาที่ดีที่สุด สำหรับงานที่ต้องใช้สมาธิ เช่น การทำงบประมาณโครงการ การวางแผนงานล่วงหน้า การเขียนรายงานอย่างละเอียดหรือการทำงานที่ต้องใส่ใจและตอบสนองอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น การควบคุมเครื่องจักรอุตสาหกรรม ลองจัดพื้นที่ทำงานของคุณให้เหมาะสม และจงรู้ไว้ว่าสิ่งที่ทำให้คุณไขว้เขวอย่างข้อความแจ้งเตือนและโทรศัพท์ที่ดังขึ้นแบบไม่คาดคิดล้วนบั่นทอนประสิทธิภาพการทำงาน และถ้าออกกำลังกายเบา ๆ ก่อนเริ่มลงมือทำได้ คุณก็จะมีแรงจูงใจ สมาธิ หรือผลการเรียนที่ดีขึ้น
สำหรับ 75%
ของคนวัยผู้ใหญ่
เวลา 2-3 ชั่วโมงแรกของวันทำงาน
เป็นช่วงเวลาทองของสมอง
พอถึงช่วงพักกลางวันประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดก็จะหมดลงเหมือนหนังที่จบม้วนและมันไม่สามารถฟื้นฟูขึ้นมาได้ด้วยการดื่มกาแฟหรือกินอาหาร คุณจึงควรเก็บงานเอกสาร การประชุมประจำสัปดาห์ การประชุมทางไกล หรือการพักเพื่อพูดคุย และแบ่งปันแนวคิดใหม่ ๆ กับเพื่อนร่วมงานไว้ทำในช่วงหลังของวันซึ่งเป็นเวลาที่สมองอยู่ในโหมด "ความคิดอิสระ" โดยสมองจะจดจ่อน้อยลงและผ่อนคลายมากขึ้น
ส่วนร่างกายนั้นเริ่มต้นช้ากว่าสมองเล็กน้อยหัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อจะทำงานได้ดีที่สุดในช่วงบ่าย ดังนั้น คุณควรเก็บงานที่ต้องใช้แรงไว้ทำในช่วงนี้
เช็คช่วงเวลาทองของสมอง
06.00 น. พื้นที่สองส่วน "การคิด" ของคุณยังคงสะลึมสะลือในช่วงเช้าตรู่ ดังนั้น อย่าเพิ่งกระโจมลงไปทำงานที่ยากและท้าทาย
10.00 น. สมองเริ่มเร่งเครื่องและพร้อมลุย เป็นช่วงเวลาที่เหมาะจะจัดการกับงานท้าทายที่คุณผัดผ่อนมาหลายสัปดาห์
14.30 น. ถ้าไม่ใช่คนตื่นสาย กล้ามเนื้อของคุณจะตื่นตัวมากขึ้นและร่างกายของคุณก็พร้อมสำหรับงานที่ต้องใช้แรง
19.30 น. เมื่อสมองเริ่มผ่อนคลาย เครือข่ายระหว่างสมองส่วนต่างๆ มีแนวโน้มจะตื่นตัวมากขึ้น เป็นช่วงเวลาที่ "ความคิดบังเกิด" แม้ในยามที่คุณไม่ได้นึกถึงงาน
22.00 น. ระดับอะดีโนซีนในสมองสูง ส่งผลให้คุณรู้สึกว่าสมองล้าและคิดได้อย่างเชื่องช้า
ป.ล. เพื่อนๆ สามารถติดตามกระทู้อื่นๆ ได้ตามลิงค์ข้างล่างเลยนะคะ
https://page.postjung.com/n00kky
อ้างอิงจาก: หนังสือ วิทยาศาสตร์ของการใช้ชีวิต (The Science of Living) เขียนโดย Dr. Stuart Farrimond