14 กรกฎาคม วันรู้จักฉลาม (Shark Awareness Day)
วันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี ถูกตั้งให้เป็นวันรู้จักฉลาม หรือ Shark Awareness Day โดยมีต้นกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจุดประสงค์หลักของวันนี้ คือ การสร้างความตระหนักรู้ถึงการมีอยู่ของฉลามทั่วโลก
จริง ๆ แล้วฉลามอาศัยอยู่บนโลกนี้มานานกว่า 420 ล้านปีแล้ว โดยพวกมันได้รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ถึงห้าครั้ง แต่ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนฉลามลดน้อยลงเนื่องจากสาเหตุหลายประการ ผู้คนทั่วโลกต่างล่าพวกมันเพื่อเอาผิวหนัง เนื้อ และครีบไปบริโภค สาเหตุจากการประมงที่เกินขนาดส่งผลให้องค์กรฉลามหลายแห่งวิ่งเต้นเพื่อให้การค้าเนื้อฉลามผิดกฎหมาย แต่บริษัทประมงหลายแห่งก็ยังคงปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ โดยยังคงจับฉลามเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวต่อไป และจากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่า จำนวนประชากรฉลามลดลงแบบทวีคูณถึง 71% ตั้งแต่ปี 1970 สถานการณ์ดังกล่าวน่าตกใจเพราะจำนวนฉลามที่ลดลงอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม
วิกฤตฉลามในไทย
จากข้อมูลด้านการประมงพบว่า จำนวนประชากรของฉลามในประเทศไทยลดลงเป็นอย่างมาในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2546 พบว่ามีการจับฉลามและกระเบนได้มากที่สุดในประวัติการณ์ โดยมีปริมาณ 14,409 เมตริกตัน และ 18,131 เมตริกดันตามลำดับ และหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2561 ก็จับได้จำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว โดยจับฉลามได้เพียง 419 เมตริกตัน และกระเบน 2,311 เมตริกตัน โดยจำนวนที่ลดลงดังกล่าวชี้ให้เห็นได้ว่าจำนวนประชากรของฉลามลดลงไปถึง 97% และจำนวนกระเบนลดลงไปเกือบ 90%
(ที่มา : https://thaipublica.org/2024/02/living-in-the-anthropocene-03/ )
ครีบของฉลามหางจุด หรือ pottail Shark (Carcharhinus sorrah) ถูกพบในตัวอย่างชนิดพันธุ์ฉลามที่ถูกขายในไทยมากที่สุด โดยการสำรวจครั้งนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง องค์กรไวล์เอด (WildAid) กับทีมนักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กรมประมง และนักวิจัยอิสระ ซึ่งพบดีเอ็นเอของฉลามอย่างน้อย 15 สายพันธุ์ที่ถูกแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และขายอยู่ในไทย โดยชนิดพันธุ์ของฉลามที่พบส่วนใหญ่มีสถานภาพเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ตามบัญชีแดงของ IUCN Red List
เนื่องในวันรู้จักฉลาม เราอยากจะชวนทุกคนมาตระหนักรู้ถึงการมีอยู่ของสัตว์ชนิดนี้ รวมถึงสัตว์ชนิดอื่น ๆ ในทะเล เพราะถ้าเราขาดสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งไป ระบบนิเวศและความสมดุลย์ของโลกก็จะแปรปรวญ สัตว์โลกทุกตัวได้รับผลกระทบ แม้แต่มนุษย์เองก็ตาม
อ้างอิง1: https://nationaltoday.com/shark-awareness-day/
อ้างอิง 2 : https://thaipublica.org/2024/02/living-in-the-anthropocene-03/ )
อ้างอิง 3 : https://ngthai.com/wildlife/53763/no-shark-eat/?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0XOWFPvnUeqj85Pb9A1PPL5zrhMVom03afY3AuO_QtejAWW68Nd7isq-0_aem_SKJFqxwTO4aKTCNz8Jaz8Q)