เอลนิโญ ลานีญา พลิกผัน ลมเยื้อง บิดเบือนสภาพอากาศสุดคาดเดายาก ภัยแล้งอากาศแปรปรวนหนักกว่าเดิม
วันที่ 4 กรกฎาคม ดร.รอยล จิตรดอน ที่ ปรึกษา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ( อว. ) เปิดเผย ว่า ฝนตกที่ จ.ภูเก็ต ที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่นั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะปรากฎการณ์ลานีญาอย่างที่หลายคนเข้าใจแต่เกิดขึ้นจามลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งในภาพรวมแล้วถือว่า ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ช่วยประเทศไทยจากปรากฎการณ์เอลนีโญ ช่วยลดอุณหภูมิภายในประเทศให้ลดลงบ้าง
ดร.รอยล กล่าวว่า เวลานี้ฝนที่ภาคใต้ และชายขอบประเทศที่ตกหนักกว่าที่อื่น ซึ่งทั่วโชกมีการตั้งข้อสังเกตกันว่า มีลมมรสุมที่รุนแรงมากเวลานี้อยู่ที่ขั่วโลกใต้ เพราะปกติแล้วอิทธิพลของลมมรสุมจะไม่ข้ามเส้นสูญสูตรเข้ามา แต่เวลานี้ มันเริ่มข้ามเข้ามาได้แล้ว ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีความรุนแรง ฝนแทนที่จะเกิดในประเทศไทยมากตามฤดูกาล กลับไปตกที่พม่าตอนกลาง และประเทศจีนแทน ส่วนประเทศไทยนั้นกลับตกบริเวณขอบๆ ประเทศ ภาคใต้จึงตกเยอะกว่าที่อื่น
"แทนที่จะมีการปะทะกันโดยตรง ระหว่างลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ กับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้เกิดฝนตกมากก็ไม่ปะทะ แต่กลับเยื้องๆ กันหรือที่เรียกว่า coupling กัน ทำให้ตรงกลางของประเทศมีฝนตกน้อย ปรากฎการณ์นี้ จึงพอสรุปได้ว่า ปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ ไคลแมทเช็นจ์ นั้น จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ที่เราเคยจำกันว่า ลานีญา ทำให้น้ำเยอะ ฝนน้อย เอลนีโญ น้ำน้อย ฝนแล้ง ก็จะไม่เป็นแบบนี้อีกแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ ทางกรมอุตุนิยมวิทยาเองก็เห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกันกับ" ดร.รอยล กล่าว