การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ส่งผลถึงระบบสมองคนเรา
ดูเหมือนว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อสุขภาพและความอยู่รอดของผู้คนในทุกประเทศมากกว่าที่คิด หลายคนเริ่มสงสัยว่ามันส่งผลกระทบอย่างไรและเกี่ยวอะไรกับระบบสมองของคน ยกตัวอย่างง่าย ๆ สาหร่ายที่หลายคนชอบกิน แน่นอนว่ามันอร่อยและมีประโยชน์ แต่รู้มั้ยว่า สาหร่ายก็เป็นหนึ่งในอาหารของสัตว์น้ำหลากชนิด เมื่อระบบนิเวศถูกทำลาย สาหร่ายบางชนิดสามารถผลิตสารพิษต่อระบบประสาทซึ่งจะสะสมในปลาและอาหารทะเลอื่น ๆ และอาจก่อให้เกิดความเสียหายทางระบบประสาท เช่น ความจำเสื่อม โรคลมบ้าหมู โรคพาร์กินสัน และ อาการคล้าย โรคสมองเสื่อมในมนุษย์ที่บริโภคปลาที่ปนเปื้อน แม้แต่แหล่งน้ำก็สามารถเป็นภัยกับคนได้เช่นกันหากถูกปนเปื้อนด้วยสารพิษต่าง ๆ หรือแม้แต่ฝุ่น PM 2.5 ก็มีการเชื่อมโยงอย่างมากกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นสำหรับภาวะสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ นี่เป็นเพียงวิธีการบางส่วนที่เรารู้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสมองของเราได้ แต่ที่แย่กว่านั้นคือสมองของเด็กและวัยรุ่นที่มีการพัฒนาแบบไดนามิกนั้นเป็นสมองที่อ่อนไหวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด เพราะความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างมลพิษทางอากาศเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการของสมอง ส่งผลให้ไอคิวลดลง ความสามารถในการทำงานที่ต้องใช้ประสาทมือและตาลดลง และความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาทในเด็กและวัยรุ่น สรุปได้ว่าการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำอาจส่งผลให้สูญเสีย DHA ซึ่งเป็นสารอาหารที่สังเคราะห์จากสาหร่ายทะเลบางชนิดที่มีอยู่ทั่วโลก ประมาณ 10 ถึง 58% ภายในปี 2100 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์สภาพภูมิอากาศและสถานที่ ซึ่งอาจมีผลต่อปริมาณของสารอาหารที่สำคัญนี้ต่อมนุษย์ อาจส่งผลให้ 96 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกไม่สามารถเข้าถึง กรดไขมัน โอเมก้า 3 ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาสมองที่แข็งแรงได้นั่นเอง