การกินคีโต ลดน้ำหนักแบบถูกวิธี
การลดน้ำหนักไม่ใช่เรื่องของการดูแลรูปร่างและความสวยงามเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการรักษาโรคและดูแลสุขภาพด้วย ทั้งนี้ แนวทางการบริโภคเพื่อลดน้ำหนักในปัจจุบันมีหลายวิธี โดยส่วนใหญ่จะเน้นการกินอาหารจำพวกผัก ปลา และเลี่ยงการบริโภคไขมัน
แต่ก็มีวิธีการลดน้ำหนักอีกแบบที่เรียกว่า “การกินคีโต” ที่สวนกระแส ยกให้ “ไขมัน” เป็นตัวเอกในทุกมื้ออาหาร
การกินคีโตคืออะไร
คีโต มาจากคำว่า “คีโตเจนิก ไดเอต” (Ketogenic diet) คือการลดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล และให้น้ำหนักกับการบริโภค “ไขมัน” และโปรตีน
หลักการลดน้ำหนักด้วยการกินคีโต “อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตอย่างพวกแป้ง ข้าว จะถูกย่อยให้กลายเป็นน้ำตาลเพื่อเป็นพลังงานหลักของร่างกาย แต่เมื่อเราลดการทานคาร์โบไฮเดรตลง ร่างกายจะหันไปเผาผลาญไขมันที่สะสมไว้แทน กลายเป็น “สารคีโตนบอดี้ส์ (Ketone Bodies)” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ คีโต นั่นเอง”
กินคีโตอย่างไร ลดน้ำหนักได้ผล
การกินเพื่อลดน้ำหนักแบบคีโตเน้นการกินอาหารจำพวกไขมันและโปรตีนเป็นหลัก และลดสัดส่วนการกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น
- อาหารจำพวกแป้ง ข้าวและน้ำตาล ให้เหลือเพียง 5% หรือแค่ 20-50 กรัมต่อวัน หรือแทบจะไม่มีอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตในมื้ออาหารเลย เพื่อให้เกิดภาวะคีโตซิส (Ketosis) หรือ ภาวะที่ร่างกายนำพลังงานจากไขมันในร่างกายมาใช้เป็นแหล่งพลังงานหลัก
- การกินอาหารประเภทไขมันและโปรตีน มีส่วนทำให้รู้สึกอิ่มนาน และสารคีโตนบอดี้ส์ ยังช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้เกิดการจำกัดปริมาณแคลอรี่ที่รับประทาน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการลดน้ำหนักตัว
ไขมันตัวดีของแนวคีโต มีอะไรบ้าง ?
แม้หลักการของการกินคีโตจะเน้นการบริโภคไขมัน แต่ก็ไม่ใช่ไขมันทุกประเภทจะดีเสมอไป การกินคีโตควรเลือกไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วย
โดยไขมันในอาหาร แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
- อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว หรือ ไขมันดี ส่วนใหญ่พบในพืชผักและปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาทะเล แซลมอน อโวคาโด น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน ถั่วเหลือง น้ำมันงา เป็นต้น
- อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว คือ มีทั้งไขมันดีและไขมันเลว ส่วนใหญ่พบได้ในเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมและพืชบางชนิด เช่น เนื้อสัตว์ น้ำมันหมู ไก่ โยเกิร์ต เนย ชีส กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เป็นต้น
ไขมันทั้ง 2 ประเภท มีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกาย แต่หากกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมากเกินไปจะส่งผลเสียมากกว่า เพราะอาจพบระดับไขมันในเลือดผิดปกติ เสี่ยงต่อการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด หลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ เป็นต้น
นอกจากการเลือกประเภทไขมันในการบริโภคให้ถูกต้องและสมดุลแล้ว ชาวคีโตก็ต้องระวังและเลี่ยงการกินผักและผลไม้ที่มีแป้งและน้ำตาลสูงและการปรุงรสอาหารด้วยน้ำตาล ไม่เช่นนั้นร่างกายจะไม่เกิดภาวะคีโตซิส (Ketosis) และไม่เกิดผลต่อการลดน้ำหนัก ซ้ำยังอาจจะช่วยเพิ่มน้ำหนักและไขมันอีกด้วย
ข้อดีและประโยชน์ ของการเลือกทาน คีโตเจนิก KETO
การกินอาหารคีโตไม่เพียงแต่แค่เกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนักอย่างเดียว แต่ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกด้วยที่คุณนั้นอาจจะยังไม่รู้ ลองไปดูประโยชน์อย่างอื่นที่เกี่ยวกับการทานคีโตกัน
-
ช่วยลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ การกินอาหารคีโตช่วยกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญไขมัน เปลี่ยนแปลงการเก็บพลังงานและช่วยในการลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ
-
พัฒนาการไขมันในร่างกาย อาหารคีโตช่วยเพิ่มไขมันดี (HDL) ในร่างกาย ซึ่งมีประโยชน์ในการควบคุมระดับไขมันไม่ดี (LDL) และลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
-
ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อาหารคีโตช่วยลดการกระจายของน้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลคงที่และส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญไขมันเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงาน
อาหารคีโตที่ควรรับประทาน
เลือกอาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตต่ำ เพื่อส่งเสริมกระบวนการ “เข้าสภาวะคีโต” และเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญไขมัน
- เนื้อสัตว์ทุกประเภท : เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว
- ไขมันจากเนื้อปลา : ปลาแซลมอน ปลาดุก ปลาทู่า
- ผักที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตต่ำ : ผักบร็อคโคลี ฟักทอง และผักใบเขียวอื่นๆ
และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและรักษาสุขภาพที่ดีอย่างยาวนาน คุณควรปฏิบัติตามแนวทางอย่างถูกต้อง
- รักษาสมดุลระหว่างโปรตีนและไขมัน : ควรรักษาสมดุลระหว่างอัตราส่วนโปรตีนและไขมัน เพื่อให้ร่างกายสามารถใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
- ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรต : ควรคำนึงถึงปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่รับประทาน ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
อาหารคีโตที่ควรหลีกเลี่ยง
บางอาหาร มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตสูง ที่อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการคีโต ไม่ควรกินไขมันไม่จำกัดปริมาณ การกินต่อวัน เพราะถ้าคุณอ้วนอยู่แล้วร่างกายก็จะมีไขมันสำรองไว้ใช้ นี้ก็คืออีกหนึ่งในความเข้าใจผิดที่พบบ่อยมากที่สุดเกี่ยวกับการทานอาหารคีโต คือต้องกินไขมันมากเพื่อเข้าสู่ภาวะ “คีโตซิส” ซึ่งนี้ก็คือสิ่งนี้ไม่เป็นความจริงถ้าหากคุณเป็นโรคอ้วนอยู่แล้ว การกินคีโต สามารถ ใส่ เครื่องปรุงคีโต แต่ควรแค่จำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้เพียงพอดังนั้นควรหลีกเลี่ยง
- อาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตสูง : ขนม ขนมปัง อาหารอื่นๆ ที่มีน้ำตาลเพิ่ม
ผลข้างเคียงจากการกินคีโต
การกินคีโตเพื่อลดน้ำหนักรักษาสุขภาพไม่ใช่จะเหมาะสำหรับทุกคน “หากเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัว ไม่ใช่สตรีตั้งครรภ์ สามารถลองทานคีโตได้ แต่หากผู้ที่มีโรคประจำตัวแต่สนใจการลดน้ำหนักแบบคีโต แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เนื่องจากโรคประจำตัวบางอย่างและยารักษาโรคบางชนิดอาจทำให้เกิดอันตรายได้ถ้าไปทานอาหารสูตรคีโต”
การกินคีโตเป็นแนวทางการกินที่มีความเฉพาะเจาะจง ลดสารอาหารบางประเภท และไม่หลากหลาย ซึ่งหากไม่ใส่ใจให้ดีก็อาจเกิดผลข้างเคียงได้หลายอย่าง เช่น
- ไข้คีโต (Keto Flu) : เมื่อร่างกายเกิดภาวะคีโตซิส อาจทำให้รู้สึกเหมือนเป็นไข้ ไม่สบายตัว ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน หรืออ่อนเพลีย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเอง หากรู้สึกเป็นนานกว่า 2 สัปดาห์ แนะนำให้พบแพทย์
- การขาดสารอาหาร : การกินคีโตต้องลดปริมาณอาหารบางประเภท จึงอาจทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารสำคัญบางชนิดไม่เพียงพอ เช่น กากใย วิตามิน เป็นต้น อาจเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา
- ท้องผูก ขาดน้ำและแร่ธาตุ : ร่างกายจะขับสารคีโตนบอดี้ส์ออกทางปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการขาดน้ำและแร่ธาตุ และการรับประทานคาร์โบไฮเดรตปริมาณต่ำมากทำให้ร่างกายได้รับกากใยไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูก
- กระหายน้ำบ่อย : เป็นอาการที่พบบ่อย เกิดจากการที่ร่างกายขับน้ำ ทำให้ผู้ที่กินอาหารแบบคีโตรู้สึกกระหายน้ำ จึงต้องคอยจิบน้ำเสมอๆ
- อาการสมองล้า : อาการสมองล้า ความจำสั้นและไม่ค่อยมีสมาธิ แต่พบได้ไม่บ่อย
- ผิวมันเป็นสิว : การกินไขมันบางชนิดมากๆ ทำให้เกิดการอักเสบที่ผิวหนัง อาจก่อให้เกิดสิวได้
- โยโย่เอฟเฟคเมื่อหยุดกินคีโต การกินคีโตสามารถทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งยังไม่รู้สึก “โหย” เหมือนกับการลดน้ำหนักแบบอื่นๆ แต่เมื่อหยุดกินคีโตแล้วกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม หรือรับประทานอาหารที่ไม่ใช่การกินคีโตเต็มรูปแบบ น้ำหนักตัวก็อาจกลับขึ้นมาอย่างเดิม อย่างที่เรียกว่า “โยโย่เอฟเฟค”
การกินคีโตเป็นแนวทางการลดน้ำหนักที่ให้ผลเร็วแต่ก็อาจมีผลข้างเคียงดังกล่าว ยังไม่มีข้อมูลของผลกระทบต่อสุขภาพในการกินคีโตในระยะยาวที่ชัดเจน ดังนั้น เมื่อลดน้ำหนักได้ตามที่พอใจแล้ว เราควรหันมาใส่ใจดูแลการบริโภคอาหารที่หลากหลายและสมดุลเพื่อผลสุขภาพในระยะยาว “การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่และควบคุมปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกายย่อมเป็นการลดน้ำหนักที่อาจจะได้ผลช้ากว่าแต่ส่งผลดีในระยะยาวแน่นอน”
อ้างอิงจาก: ketofoodthai.com, chula.ac.th, multimedia.anamai.moph.go.th