แพทย์เผย "โรคงูสวัดบอกถึงการเป็นมะเร็งหรือเนื้องอก"
เมื่อพูดถึงโรคงูสวัด เรามักจะนึกถึงความเจ็บปวดและรอยแดง อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ "ฟาน บีฟา" ผู้อำนวยการแผนกความเจ็บปวด ของโรงพยาบาลมิตรภาพจีน-ญี่ปุ่น ได้ออกมากล่าวเตือนว่า "โรคงูสวัด ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก" และ "มันยังทำให้คนๆนั้นเป็นมะเร็ง หรือ มีเนื้องอกในร่างกาย เนื่องจากมันจะทำให้ภูมิคุ้มกัน อ่อนแอนั่นเอง..."
ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับงูสวัด
โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า "ไวรัสวาริเซลลา" เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส ไวรัสนี้เมื่อเริ่มเข้าสู่ร่างกาย ทั้งจากการหายใจหรือการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง จะทำให้เป็นโรคสุกใส เมื่อหายจากโรคนี้แล้วเชื้อจะไปหลบซ่อน อยู่ในปมประสาทของร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลานานหลายปี โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เมื่อเวลาที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนัง เชื้อที่แฝงตัวอยู่ก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดการปวดตามแนวเส้นประสาท และ ปล่อยเชื้อไวรัสออกมาที่ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นตามแนวเส้นประสาท...
"ฟาน บีฟา" กล่าวอธิบายว่า "จริงๆแล้วงูสวัดเป็นโรคที่เกิดจาก การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ โดยเฉพาะการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ของเซลล์ที่มีความจำเพาะต่ำ" และ "ในบางกรณี ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดจากเนื้องอกหรือมะเร็ง จะแสดงอาการเป็นงูสวัดก่อน แทนที่จะเป็นอาการของเนื้องอกหรือมะเร็ง ดังนั้นโรคงูสวัดอาจเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้า ของการมีเนื้องอกหรือมะเร็งนั่นเอง..."
ความเสี่ยงสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็ง
การวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่เป็นมะเร็งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในการเป็นโรคงูสวัด จากการศึกษาในวารสารโรคติดเชื้อ การวินิจฉัยโรคมะเร็งมีความสัมพันธ์กับ ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคงูสวัดประมาณ 40% โดยผู้ที่เป็นมะเร็งในเลือด มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ไม่เป็นมะเร็ง มากกว่า 3 เท่า ในขณะที่ผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอก มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 30% โดยความเสี่ยงนี้เด่นชัด โดยเฉพาะในผู้ป่วยมะเร็งทางโลหิตวิทยา ในช่วง 2 ปี ก่อนการวินิจฉัย ในขณะที่ความเสี่ยงในคนไข้ที่เป็นเนื้องอก มีความเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดเป็นหลัก
วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด
วิธีป้องกันโรคงูสวัดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การฉีดวัคซีน วัคซีนที่แนะนำในปัจจุบันคือ "ชิงริกซ์" ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด "รีคอมบิแนนท์" ที่ไม่มีไวรัสที่มีชีวิต และ เหมาะสำหรับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งรวมถึงผู้ป่วยโรคมะเร็ง
จากข้อมูลของ "เวรี่เวล เฮลธ" แสดงให้เห็นว่า "ชิงริกซ์" มีประสิทธิภาพมากกว่า 90% ในการป้องกันโรคงูสวัด และ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง โดยมีภูมิคุ้มกันยาวนานอย่างน้อย 7 ปี...
ข้อควรระวัง
นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย การออกกำลังกาย เป็นการช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยง ของโรคงูสวัดได้ ถึงแม้ว่าโรคงูสวัดจะไม่ติดต่อโดยตรง แต่ผู้ที่เป็นโรคงูสวัด สามารถแพร่เชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ป้องกันอีสุกอีใสหรือผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส ส่งผลให้ติดเชื้ออีสุกอีใสได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ไวรัสแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว จะติดต่อได้มากที่สุด หากติดแล้วควรแยกตัวออกมาเหมือนติดไวรัลโควิดเลย











