ความเป็นมาของ ไข่เยี่ยวม้า
เชื่อว่าครั้งแรกที่ได้ยินชื่อ ทุกคนก็คงคิดเหมือนกันว่า มันทำมาจากเยี่ยวม้าจริงๆหรือ คำตอบคือไม่ใช่ การทำไข่เยี่ยวม้านั้น จะมีส่วนประกอบที่เป็นสารที่ให้ความเป็นด่างสูง อาทิ สารแคลเซียมออกไซด์ สารโซเดียมคาร์บอเนต ขี้เถ้า นอกจากนี้อาจจะมีการเติมเกลือ และน้ำชาแก่ๆเพื่อช่วยเพิ่มกลิ่นรสให้ดีขึ้นอีกด้วย การทำไข่เยี่ยวม้า นั้น สิ่งที่สำคัญคือจะต้องควบคุมค่าความเป็นกรดด่างหรือที่เรียกกันว่าค่าพีเอช (pH)ให้อยู่ใน ช่วง 11.0 - 11.5 เท่านั้น เพราะถ้าค่าความเป็นกรดด่างมากหรือน้อยเกินกว่าช่วงดังกล่าวจะมีผลทำให้ไข่ ขาวไม่แข็งใส และเกิดลักษณะเหลว ซึ่งการควบคุมค่าความเป็นกรดด่างให้อยู่ในช่วงดังกล่าวทำได้ยากมาก จึงมีผู้ผลิตหัวใส บางรายแอบเติมสารประเภทตะกั่วลงไป อาทิ ตะกั่วออกไซด์ เพราะสารพวกนี้จะช่วยให้ไข่แข็งตัวได้ แม้ว่าค่าความเป็นกรดจะเปลี่ยนไป แต่ผลที่ตามมาคือผู้ที่บริโภคไข่ที่มีการเติมสารจำพวกตะกั่วลงไปจะทำให้เกิดอันตรายอาจถึงชีวิตได้ ครั้งเราจะพบว่าที่เปลือกของไข่เยี่ยวม้ามีสีแดงๆ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะได้มีการเอาปูนแดงไปทาเคลือบที่ผิว ของไข่เยี่ยวม้าเพื่อเป็นการช่วยรักษาค่าความเป็นกรดด่างของไข่เยี่ยวม้าใน ระหว่างการเก็บรักษาและการขนส่ง ได้อีกทางหนึ่ง ทำให้คุณภาพของไข่เยี่ยวม้าไม่เปลี่ยนแปลง โดยไข่เยี่ยวม้าค้นพบเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนในมณฑลหูหนานในสมัย ราชวงศ์หมิง เมื่อเจ้าของบ้านพบไข่เป็ดในบ่อปูนขาวที่ใช้ในระหว่างการก่อสร้างบ้านของเขา เมื่อได้ลองชิมแล้วรู้สึกว่ามันมีกลิ่นรสเฉพาะตัวและสามารถนำมารับประทาน เขาจึงริเริ่มการผลิตเพื่อขาย โดยนำไข่ดิบมากลบอยู่ในบ่อปูนขาวประมาณ 2 เดือน และเติม เกลือลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติ จึงพัฒนามาเป็นวิธีทำไข่เยี่ยวม้าในปัจจุบันนั่นเอง . . . เหตุเพราะมีข่าวเรื่องเจอสารตะกั่วในไข่ชนิดนี้ ผมจึงไม่เคยชิมมันแม้แต่ครั้งเดียว