หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ตำนาน เสาร้องไห้ (อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี)🙏🙏🙏

โพสท์โดย ประเสริฐ ยอดสง่า

ความเชื่อคนโบราณ ว่าเจ้าแม่ตะเคียน คือผู้ที่บำเพ็ญเพียรระดับหนึ่ง และเชื่อว่า จะให้โชคแก่คนที่ไปบูชา สักการะ โดยเฉพาะเรื่องการเสี่ยงโชค บางคนเมื่อได้สมหวังดั่งใจ ก็ไปแก้บน ใช้ชุดไทยสไบเฉียงเครื่องสำอาง ตามความเชื่อว่า เจ้าแม่ตะเคียนเป็นหญิงสาว ย่อมต้องรักสวยรักงาม

อย่างไรก็ตาม คนไทยเชื่อ และศรัทธาในพระรัตนตรัย เอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เพราะนางตะเคียนคือนางไม้ ซึ่งในพระพุทธศาสนา คือเทวดาจำพวกหนึ่ง เป็นประเภทรุกขเทวา ที่มีวิมานในต้นไม้ บุญยังไม่มากพอ ที่จะได้ขึ้นสวรรค์ เป็นเทวดาชั้นสูง เมื่อถูกทำลายวิมาน จึงโกรธแค้นหรือเสียใจ หรือต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงทำให้ผู้คนได้เห็น

ในแม่น้ำป่าสัก บริเวณอ.เสาไห้ จังหวัดสระบุรี มีตำนานที่อยู่คู่กับสายน้ำแห่งนี้ มาอย่างยาวนาน ชาวอำเภอเสาไห้ ได้ให้ความเคารพศรัทธา ถือเป็นสิ่งสำคัญประจำท้องถิ่น ของอำเภอและจังหวัดสระบุรี สร้างความศรัทธาให้กับชาวบ้านเสาไห้ นั่นคือ เจ้าแม่ตะเคียนทอง หรือ ”เสาร้องไห้ “

ตำนานเสาร้องไห้ ตามตำนานเล่าว่า  เมื่อครั้งสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานี ได้มีการเกณฑ์เสาจากหัวเมืองต่างๆ เพื่อคัดเลือกเสาที่มีรูปร่างลักษณะงดงาม เพื่อจัดเป็นเสาเอก ทางเมืองสระบุรี ได้จัดส่งเสาต้นหนึ่ง ที่มีลักษณะงดงามมาก ล่องลงมาตามลำน้ำป่าสัก แต่มาถึงกรุงเทพฯ ช้าไปเล็กน้อย และได้มีการคัดเลือกเสาเอกไปก่อนแล้ว จึงได้เป็นเสารอง ซึ่งถ้าเสาต้นนี้มาทันเวลา ก็ต้องได้เป็นเสาเอกอย่างแน่นอน เพราะมีลักษณะใหญ่ และสวยงามมาก ด้วยความยาว 13 เมตร กว้าง 0.75 เมตร เสาต้นนี้ จึงเกิดความเสียใจ ลอยทวนน้ำกลับขึ้นมา จมลง ณ ตำบลแห่งนี้ อยู่ประมาณ 100 กว่าปี ในยามค่ำคืน มักมีชาวบ้านได้ยินเสียงร้องไห้ ดังขึ้นมาจากท้องน้ำป่าสัก จึงกลายมาเป็นตำนานเสาร้องไห้ ซึ่งชาวบ้าน อ.เสาไห้เชื่อว่าเป็นเสียงร้องจากเจ้าแม่ตะเคียนทอง เป็นเรื่องเล่าและความเชื่อ มาจนถึงทุกวันนี้

บางคืนในแสงจันทร์สุกสกาว ซุงตะเคียนทองต้นนั้นก็ลอยขึ้นมา หมุนเคว้งคว้างอยู่ในกระแสน้ำ มีคนเห็นแม่นางยืนอยู่บนท่อนซุงนั้น เป็นสาวสวยน้อยนะแน่ง แต่ผิวพรรณซูบเซียวคล้ำหมอง เกศายาวรุ่ยร่ายยุ่งเหยิง ดวงเนตรชอกช้ำก่ำแดง สะอึกสะอื้นร่ำไห้ ปริเวทนาการมิรู้หยุดหย่อน ผู้คนเขาเห็นแม่นางชัดเจน เขาเห็นแม้แต่หยดน้ำตาของแม่นาง

เมื่อประมาณปี 2501 ในคืนแห่งความมืดวันหนึ่ง  นางเฉลียว จันทร์ประสิทธิ์ ชาวบ้านผู้ใจบุญ ได้ฝันว่า มีหญิงคนหนึ่ง  รูปร่างเลือนราง บอกว่าเป็นนางไม้ประจำเสา ที่จมน้ำอยู่ ให้บอกสามี เอาเสาขึ้นมาจากน้ำด้วย นายเผ่าผู้เป็นสามีก็ไม่เชื่อ  มีคนเล่าต่อกันมาว่า นางไม้ของเสาต้นนี้ ได้ไปเข้าทรงกับผู้อื่นอีกหลายครั้ง จนในที่สุด ชาวบ้านหลายคน ก็ได้ไปร้องขอให้นายเผ่า เอาเสาต้นนี้ขึ้นมาให้ได้ ตามคำล่ำลือ จนนำมาสู่การนำเอาเสาขึ้นมาจากน้ำ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2501 และในวันนี้เอง ได้รับคำบอกเล่าจากนายจำลอง ขาววรรณะ ว่า

ในวันที่ 23 เมษายน 2501 แดดร้อนจัดมาก ขณะที่กำลังนำเสาขึ้นจากน้ำ  ฉับพลัน ท้องฟ้าก็มืดครื้มไปหมดทันที มีเสียงฟ้าผ่าดังมาก เป็นประกายสีเขียวไปทั่ว เสียงฟ้าร้องคำราม ทำท่าคล้ายฝนจะตก ทำให้ผู้คนที่มาเข้าร่วมพิธีกันเป็นจำนวน มากต่างตื่นตาตื่นใจ และดีใจกันทั่วหน้า ที่สามารถนำเสาศักดิ์สิทธิ์ ขึ้นมาจากน้ำได้ในที่สุด

ในวันที่ 23 เมษายน 2501 เป็นวันที่เชิญเสาไปประดิษฐานที่วัดสูง เวลา 9.00 น. เริ่มพิธีเคลื่อนเสาไปสู่วัดสูง โดยตั้งศาลสูงเพียงตา มีหัวหมูซ้ายขวา บายศรี 3 ชั้น ใช้ด้ายสายสิญจน์ผูกที่เสา แล้วใช้เชือกผูกแพที่รับเสา ให้ประชาชนดึง เมื่อได้ฤกษ์ พระสงฆ์ 9 รูป เจริญชัยมงคลคาถา ประชาชนที่อยู่บนฝั่งหน้าที่ว่าการอำเภอเสาไห้ ก็ดึงเชือกแพลูกบวบ ให้เคลื่อนไปทางทิศตะวันออก มีเรือแตรวงนำขบวน มีเรือต่างๆ ร่วมขบวนอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อได้เคลื่อนแพเสา มาถึงท่าถนน ข้างโรงสีเสาไห้แล้ว ก็ใช้เกวียน 4 เล่ม ผูกเสาไว้ใต้เกวียน แล้วมัดยอดเสาให้พ้นดินเล็กน้อย ผูกด้วยเชือกโยงเรือขนาดใหญ่ มัดจากเกวียน ไปให้ถึงประชาชน เสาก็เคลื่อนไปข้างหน้าด้วยดี

เมื่อขบวนมาถึงใกล้ศาลเจ้าพ่อ ซึ่งอยู่ทางแยกเข้าวัดสูงนั้น แม้จะดึงฉุดอย่างไร เกวียนก็ไม่ยอมเคลื่อนที่ ทั้งที่ถนนราบเรียบ จึงได้พยายามแก้ไข จนเสียเวลาไปถึง 2 ชั่วโมง นายเผ่า จันทร์ประสิทธิ์ ก็ระลึกได้ว่า เมื่อนางไม้เริ่มเข้าทรงครั้งแรกนั้น ได้บอกเพียงว่า ใช้สายสิญจน์ ให้ประชาชนดึงแทนเชือก จึงได้เปลี่ยนมาใช้ด้ายสายสิญจน์แทนเชือกใหญ่ ขบวนเกวียน ก็สามารถเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างง่ายดาย เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก 10 นาทีก็ถึงวัดสูง เมื่อเวลา 14.30 น. บังเกิดความประหลาดใจโดยทั่วกัน จากนั้น ก็นำเสา ประดิษฐานไว้ที่ศาลชั่วคราว

ในวันนั้น ที่นำเสาขึ้นจากน้ำ มีประชาชนมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก ประมาณสามหมื่นคน นับเป็นวันประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ของชาวอำเภอเสาไห้ ที่ต้องจารึกไว้ ต่อมา จึงได้สร้างศาลถาวรขึ้น ที่หน้าพระอุโบสถในวัดสูง เป็นศาลกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร มีมุขออกด้านตะวันออก พื้นคอนกรีต มีฐานก่ออิฐสูงรองรับเสาตะเคียน ต่อมา เมื่อวัดสูงได้สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้น จึงได้ดัดแปลงศาลาการเปรียญหลังเดิม เป็นอาคารทรงไทยสวยงาม และอัญเชิญเสาแม่นางตะเคียน มาประดิษฐานที่ศาลหลังใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2530 มาจนถึงทุกวันนี้

แม่นางตะเคียน วัดสูง อำเภอเสาไห้ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวอำเภอเสาไห้ และยังคงได้รับการสักการะ จากผู้คนที่เชื่อถือ ศรัทธามาโดยตลอด เทศบาลตำบลเสาไห้ ได้จัดสรรงบประมาณ เพื่อส่งเสริมงานประเพณีอาบน้ำแม่นางตะเคียน เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ที่วัดสูง เป็นประจำทุกปี โดยงานจะจัดขึ้นในวันที่ 23 เมษายน มีสามวันสามคืน เพื่อสืบสานงานประเพณีท้องถิ่น ให้คงอยู่คู่กับ อ.เสาไห้ จ.สระบุรีสืบไป

อำเภอเสาไห้ เคยเป็นที่ตั้งของจังหวัดสระบุรีมาก่อน ปรากฎในประวัติศาสตร์ (ฉบับหลวงวิจิตรวาทการ) ปี พ.ศ.2099 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ได้ทรงโปรดเกล้า ให้แบ่งเขตท้องที่เมืองลพบุรี กับเมืองนครนายกเอามารวมกัน เป็นเมืองสระบุรี แต่ไม่ปรากฎหลักฐานแน่นอนว่า เมืองสระบุรี ตั้งครั้งแรก ณ ที่ใด คงได้ความว่า เมืองสระบุรี ตั้งอยู่ที่บ้านหัวจวน ตำบลศาลารีลาว ปัจจุบันคือตำบลเมืองเก่า กับปรากฎอีกตอนหนึ่งว่า พระยาสระบุรี(เลี้ยง) ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ได้ตั้งที่ทำการเมืองสระบุรี ที่บ้านเมืองเก่า ตำบลศาลารีลาว

พ.ศ.2433 เมื่อพระยาสระบุรี(เลี้ยง) ถึงแก่กรรม จ่าเร่ง ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีแทน ได้ย้ายที่ตั้งเมืองสระบุรี ไปอยุ่ที่บ้านไผ่ล้อมน้อย ตำบลเสาไห้ ด้านทิศตะวันตกของวัดสมุหประดิษฐาราม ต่อมา พระยาสระบุรี(เชย) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ได้ย้ายที่ตั้งเมืองสระบุรี ไปตั้งที่บ้านเมืองเก่าอีกครั้งหนึ่ง

พ.ศ.2473 พระราชวรินทร์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ได้จัดตั้งอำเภอเสาไห้ขึ้น ที่บ้านสระแก้ว ตำบลศาลารีลาว พ.ศ.2439 ได้ย้ายที่ตั้งเมืองสระบุรี ไปตั้งที่ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จนถึงปัจจุบัน

เมื่อเมืองสระบุรี ได้ย้ายไปแล้วในปีนั้นเอง (คือปีพ.ศ.2439) ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเสาไห้ ไปตั้งที่บ้านไผ่ล้อมน้อย ตำบลเสาไห้ ตรงข้ามกับวัดสูงในปัจจบัน ห่างจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเสาไห้ในปัจจุบัน ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 500 เมตร

พ.ศ.2467 ขุนนราภัยพิทักษ์ (นายป่วน เขต์ตนนท์) นายอำเภอเสาไห้ พร้อมด้วยพ่อค้าประชาชนได้ร่วมกันพิจารณาแล้ว จึงได้ขออนุมัติต่อทางราชการ ย้ายที่ว่าการอำเภอเสาไห้ มาสร้างขึ้นใหม่ ในที่ปัจจุบัน (โดยนายบุญยงค์ พงษ์บริบูรณ์) ได้ยกที่ดินให้ 8 ไร่เศษ เพื่อจัดสร้างที่ว่าการอำเภอ และสถานีตำรวจ ตลอดจนบ้านพักข้าราชการ

ลักษณะภูมิประเทศ เป็นหนึ่งใน 13 อำเภอ ของจังหวัดสระบุรี พื้นที่ เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะการทำเกษตรกรรม การเพาะปลูกทั่วไป มีเนินเขาเล็ก 1 ลูก ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเล เฉลี่ยประมาณ 8-10 เมตร มีแม่น้ำสายสำคัญ คือแม่น้ำป่าสัก ซึ่งต้นน้ำ ไหลมาจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ผ่านจังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย อำเภอเมือง และอำเภอเสาไห้ แล้วไหลไปรวมกันกับแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อำเภอเสาไห้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดสระบุรี และอยู่ทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร ระยะทางห่างจากตัวจังหวัดสระบุรี ประมาณ 8 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 118 ตารางกิโลเมตร

ที่ตั้งและอาณาเขต อำเภอเสาไห้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขต ติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพระพุทธบาท และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ

ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอเมืองสระบุรี

ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองสระบุรี และอำเภอหนองแซง

ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบ้านหมอ อำเภอพระพุทธบาท และอำเภอท่าเรือ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

โพสท์โดย: ประเสริฐ ยอดสง่า
อ้างอิงจาก:
https://youtu.be/Me4M381clmk?si=aMr-JR5nMQ7QSg4P
วิกิพีเดีย
แหล่งที่มาของข้อมูล
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
น้องเต้าหู้แจกไข่ให้ชาวบ้าน แต่กลับเจอมนุษย์ป้ารุมเข้ามาจัดการ ทำเอาน้องอึ้งจนพูดไม่ออก เห็นแล้วรู้สึกอายแทนจริงๆน้ำใจยิ่งใหญ่! หนุ่มไร้เงินขอติดรถกลับบ้าน เจอผู้ให้เต็มคันสุดอบอุ่น
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
โบราณสถานอายุกว่า 1,300 ปี แห่งไซบีเรีย ซึ่งเต็มไปด้วยปริศนาที่รอคำตอบโบสถ์เซนต์แมรี่แห่งไซออน, เอธิโอเปียเขาพระวิหาร: สัญลักษณ์แห่งความงดงามและความขัดแย้งภาพสุดท้าย
ตั้งกระทู้ใหม่