หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

"นิยามความตาย"ในปรัชญาตะวันออก

โพสท์โดย xiaosixi

  ก่อนหน้านี้ผู้เขียนเคยเขียนเกี่ยวกับนิยามคำว่าตายในปรัชญาตะวันตกไปแล้ว ตามลิงค์ด้านล่าง

https://board.postjung.com/tp-116o0

  คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าว่านักปราชญ์ฝั่งตะวันออกนิยามความตายกันว่าอย่างไรบ้าง

นิยามความตายของ 5 นักปรัชญาตะวันออก

 

1.

รูมี กวีแห่งเปอร์เซีย

รูมี วาดโดยศิลปินชาวอิหร่าน Hossein Behzad (1957)

...

  รูมี กวีในศตวรรษที่ 13 ผู้นับถือศาสนาอิสลามลัทธิซูฟี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความตาย ว่ากันว่าเขาได้สัมผัสประสบการณ์อันสูงสุดของ "ความตายก่อนที่เขาจะตาย" นั่นคือ เขาตายไปจากตัวตนที่เป็นเท็จและตระหนักถึงตัวตนที่แท้จริงซึ่งเป็นสิ่งที่แท้จริงชั่วนิรันดร์

  รูมีมองความตายในเชิงบวกว่าเป็นสิ่งที่จะพาเราไปสู่สิ่งที่ดีกว่า บทกวีเกี่ยวกับความตายของรูมีมีหลายบท หนึ่งในบทที่โด่งดังคือบทกวีที่ชื่อว่า"เมื่อข้าตาย" 

.

เมื่อข้าตาย

เมื่อโลงศพของข้า

ถูกนำออกไป

เจ้าต้องอย่าคิดว่า

ข้าคิดถึงโลกนี้

 

อย่าหลั่งน้ำตา

อย่าคร่ำครวญหรือ

รู้สึกเสียใจ

ข้าไม่ได้ร่วงหล่น

ลงไปในอเวจีของปีศาจ

 

เมื่อเจ้าเห็น

ศพของข้าถูกหาม

อย่าร้องไห้เพราะข้าจากไป

ข้าไม่ได้จากไป

ข้าเดินทางมาถึงความรักนิรันดร์

 

(แปลจากฉบับภาษาอังกฤษโดย Nader Khalili)

.

  อีกบทกวีที่น่าสนใจเกี่ยวกับมุมมองของความตายของรูมี ชื่อ "สวนแห่งสวรรค์"

 

จงมองร่างกายที่เกิดจากผงธุลี

มันสมบูรณ์แบบมากแค่ไหน!

 

เหตุใดเจ้าจึงกลัวจุดจบของมัน

เมื่อใดกันเล่าที่เจ้าเคยกลายเป็นสิ่งที่ต่ำต้อยลงจากการตาย

 

เมื่อเจ้าก้าวข้ามร่างมนุษย์นี้ไป

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเจ้าจะกลายเป็นทูตสวรรค์

และโบยบินไปทั่วสวรรค์!

 

แต่ก็อย่าหยุดอยู่แค่นั้น

แม้แต่ร่างแห่งสวรรค์ก็ยังแก่ชรา

 

จงก้าวข้ามจากอาณาจักรสวรรค์อีกครั้ง

และดำดิ่งลงไปในมหาสมุทรแห่งจิตสำนึก

ปล่อยให้หยดน้ำที่เป็นตัวเจ้า

กลายเป็นทะเลใหญ่ร้อยแห่ง

 

แต่อย่าคิดว่าหยดน้ำเพียงอย่างเดียว

จะกลายเป็นมหาสมุทรได้

มหาสมุทรก็กลายเป็นหยดน้ำได้เช่นกัน!

 

(แปลจากฉบับภาษาอังกฤษโดย Coleman Barks)

.

  นอกจากนี้ยังมีบทกวีที่เปรียบเปรยความตายว่าเป็นดั่งรุ่งอรุณ ชื่อ "ในวันฟื้นคืนชีพ”

.

สถานที่นี้เป็นความฝัน

มีเพียงผู้หลับใหลเท่านั้นที่คิดว่ามันเป็นความจริง

แล้วความตายก็มาเยือนเหมือนรุ่งอรุณ

และเจ้าก็ตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงหัวเราะ

ในสิ่งที่เจ้าคิดว่าเป็นความโศกเศร้า

 

(แปลจากฉบับภาษาอังกฤษโดย Coleman Barks)

.

  จะเห็นได้ว่าในมุมมองของกวีผู้นี้ชีวิตเป็นเพียงความฝันตื่นหนึ่ง และความตายก็คือรุ่งอรุณที่จะนำพาไปสู่สิ่งใหม่

 

-----

 

2.

กฤษณมูรติ

  ปราชญ์และนักคิดอิสระที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง เมื่อยังเป็นเด็กหนุ่ม ทางสมาคมเทวปรัชญาได้ประกาศยกย่องเขาขึ้นเป็นศาสดาองค์ใหม่ของโลก แต่ในปี พ.ศ. 2472 เขาประกาศสลัดทิ้งบทบาททางศาสดา รวมทั้งสานุศิษย์ผู้ติดตามจำนวนมหาศาล สลายสมาคมอัครสาวกอันใหญ่โตซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อประกาศศาสนาใหม่ พร้อมทั้งยืนยันความตั้งใจว่าไม่ต้องการเป็นศาสดาและก่อตั้งศาสนาใหม่เพื่อแบ่งแยกและครอบงำมนุษย์ เขาเสียชีวิตในปี พ.ศ.2529

  กฤษณมูรติเคยกล่าวถึงการอยู่ร่วมกับความตายไว้ว่า

  “หากต้องการค้นหาว่าความตายคืออะไร จะต้องไม่มีช่องว่างระหว่างความตายกับตัวคุณที่กำลังมีชีวิตอยู่กับปัญหาของคุณและสิ่งอื่นๆ ทั้งหมด คุณจะต้องเข้าใจความสำคัญของความตายและใช้ชีวิตอยู่กับความตายในขณะที่คุณยังค่อนข้างตื่นตัวและยังไม่ตายสนิท 

  สิ่งที่เรียกว่าความตายคือจุดจบของทุกสิ่งที่คุณรู้จัก ร่างกาย จิตใจ การงาน ความทะเยอทะยาน สิ่งที่คุณสร้างขึ้น สิ่งที่คุณอยากทำ สิ่งที่คุณยังทำไม่เสร็จ สิ่งที่คุณพยายามทำให้เสร็จ สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดจะจบลงเมื่อความตายมาถึง นั่นคือความจริง จุดจบ 

  สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่สำคัญ เพราะหากคุณไม่กลัวตายคุณจะไม่ถามว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น เมื่อนั้นความตายก็จะกลายเป็นสิ่งที่พิเศษ ไม่ใช่ในทางที่โหดเหี้ยม ไม่ใช่ในทางที่ผิดปกติหรือไม่แข็งแกร่ง เพราะเมื่อนั้นความตายก็คือสิ่งที่ไม่รู้จัก และมีความงามอันยิ่งใหญ่ในสิ่งที่ไม่รู้จัก คำพูดเหล่านี้ไม่ใช่แค่คำพูดเท่านั้น”

-----

3.

เหลาจื่อ

  เหลาจื่อเป็นผู้ก่อตั้งลัทธิเต๋าซึ่งมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมจีน คำสอนของลัทธิเต๋าเน้นการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติและความสมดุล เน้นการใช้ชีวิตตามวิถีธรรมชาติปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นไปตามวัฏจักรโดยไม่ฝ่าฝืนกฎ

  เหลาจื่อมองว่าความตายเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลง เกิดดับคือการเปลี่ยนแปลงของลมปราณตามวัฏจักรของธรรมชาติที่ต้องยอมรับ เหลาจื่อจึงสอนให้ยอมรับว่าชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มาจากธรรมชาติและกลับคืนสู่ธรรมชาติเท่านั้น

-----

4.

จูซีนักปรัชญาลัทธิขงจื่อ

  จูซีมีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ซ่งระหว่างปี ค.ศ.1130-1200 เขาได้เขียนไว้ในคัมภีร์จูจื่ออวี่เล่ยว่า “ชีวิตมนุษย์เกิดขึ้นจากการรวมตัวของลมปราณ มนุษย์ครอบครองลมปราณเหล่านี้อยู่เพียงชั่วคราว เมื่อถึงจุดจบ ดวงวิญญาณส่วนหนึ่งกลายสภาพเป็นลมปราณแล้วคืนสู่ท้องฟ้า อีกส่วนหนึ่งกลายสภาพเป็นสสารแล้วคืนสู่ผืนดินคือการตายนั่นเอง” และเขียนอีกท่อนหนึ่งว่า “ตอนมนุษย์ใกล้จะตาย ลมปราณจะค่อยๆ ออกจากร่างกายจากล่างขึ้นบน อุณหภูมิร่างกายจะค่อยๆ ลดลงตามวงจรธรรมชาติ มีเกิดย่อมมีดับ มีเริ่มต้นย่อมมีสิ้นสุด”

  นอกจากนี้ลัทธิขงจื่อยังถือว่าคุณธรรมสำคัญกว่าชีวิต หากต้องเลือกระหว่างชีวิตกับคุณธรรมก็ยอมสละชีวิตเพื่อรักษาคุณธรรมไว้ หรือเห็นคุณค่าของคุณธรรมสูงกว่าชีวิตนั่นเอง

-----

5.

พระสารีบุตร

พระสารีบุตร, รูปไม้แกะสลักลงรักปิดทอง ศิลปะพม่า

  นิยามความตายนี้เกิดจากการสนทนาธรรมระหว่างพระสารีบุตรอัครสาวกของพระพุทธเจ้ากับพระมหาโกฏฐิตะที่บันทึกไว้ในมหาเวทัลลสูตร ซึ่งสามารถสรุปคำตอบเรื่องความตายที่พระสารีบุตรแสดงแก่พระมหาโกฏฐิตะ ได้ดังนี้

  “เมื่อธรรม ๓ ประการ คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณละกายไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่ง เหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา สัตว์ผู้ตายทำกาละไป มีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตสังขารดับระงับไป มีอายุหมดสิ้นไป มีไออุ่นสงบ มีอินทรีย์แตกทำลาย”

  อายุ ในที่นี้หมายถึง สภาวะธรรมที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ สภาวะที่หล่อเลี้ยงดำรงรักษาชีวิต ได้แก่ อาการ 32 ที่ประชุมกัน ดังเช่น ดอกบัวที่บานอยู่กลางสระ ต้องประกอบไปด้วยอายุ จึงมองเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีชีวิต แต่เมื่อใดที่ดอกบัวนั้นถูกเด็ดขาดจากต้น นำขึ้นมาวางไว้บนฝั่ง อายุของมันก็ขาด เมื่อไม่มีอายุดอกบัวนั้นก็เหี่ยวแห้ง

  ไออุ่น หมายถึง ธาตุไฟที่เกิดจากอำนาจของกรรม มีลักษณะเป็นความอบอุ่น ทำหน้าที่สำคัญคอยช่วยค้ำจุนให้อายุดำรงอยู่ได้ ทั้งสองเป็นองค์ประกอบด้านรูปธรรม ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าทั้งอายุและไออุ่นต่างก็ทำ หน้าที่หล่อเลี้ยงการดำรงอยู่ของกันและกันเหมือนแสงกับเปลวไฟ

  วิญญาณ หมายถึง ความรู้แจ้งอารมณ์ เป็นการรู้เมื่อสิ่งภายนอกมากระทบประสาทสัมผัสทั้ง6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เช่น รู้อารมณ์ในเวลาที่รูปมากระทบกับดวงตา เป็นต้น ซึ่งเป็นองค์ประกอบด้านนามธรรม

  ฉะนั้นการวินิจฉัยความตายทางพระพุทธศาสนา ก็คือความตายจะเกิดขึ้นเมื่อของสามสิ่ง คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณละกายนี้ไป

  

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
xiaosixi's profile


โพสท์โดย: xiaosixi
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Pele's Hair: เส้นใยแก้วธรรมชาติ ที่เกิดจากภูเขาไฟ อันน่าทึ่ง...นิสัยแย่ๆ พฤติกรรมที่ไม่ควรทำก่อนนอน เพื่อคุณภาพการนอนหลับที่ดีอนุฯ แก้ปัญหา 'ปลาหมอคางดำ' เจอต้นตอระบาดแล้ว มีเอกชนรายเดียวนำเข้าอาจารย์อ๊อด พ้นมลทิน ถูกกล่าวหาโกงกัญชา 150 ล้านรัฐจ่าย เช็คสิทธิผ่านเว็บ เงินดิจิทัล 10000 บาท เข้าวันไหน ทำง่ายมากคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม Computer vision syndrome โรคยอดฮิต ของคนติดจออพยพ1,000 ชีวิต น้ำทะลักเมือง ใกล้วิกฤติแล้วเปิดชีวิตไม่ธรรมดา "มนัสนันท์" หญิงเร่ร่อนผู้พูดได้หลายภาษา เผยประวัติสุดทึ่งจบนอกรีวิวหนังดัง MORTAL KOMBAT มอร์ทัล คอมแบทน้ำท่วมลาม 35 จังหวัด ดับแล้ว 49 รายหนุ่มฉุน! โยนของแถมจากสร้อยปี่เซียะทิ้งหน้าร้าน ประกาศใครอยากได้หยิบไปเลยเจ้าหนูกินเเซ่บ!! เมื่อน้องตูบกินข้าวหมดหม้อ สภาพก็เป็นอย่างที่เห็น
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
หนุ่มฉุน! โยนของแถมจากสร้อยปี่เซียะทิ้งหน้าร้าน ประกาศใครอยากได้หยิบไปเลยไขข้อสงสัย เคสแห่ขายทองคืน ร้านแม่ตั๊ก แบบไหนถึงเรียก “ฉ้อโกงประชาชน”อนุฯ แก้ปัญหา 'ปลาหมอคางดำ' เจอต้นตอระบาดแล้ว มีเอกชนรายเดียวนำเข้า5 วิธีเอาตัวรอด เมื่อคุณถูกผึ้งต่อย!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
10 วิธีขจัดรังแคอย่างได้ผลประโยชน์ 6 ข้อ ของการเที่ยวทะเลเรื่องทองๆวิธีไล่แมลงวัน 🚫🪰
ตั้งกระทู้ใหม่