วิธีง่ายๆ ป้องกัน " โจรเลียนเสียงยืมเงิน "
ในเมื่อเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ เอไอ นั้นได้เจริญรุดหน้าไปมากจนเราๆเองแทบตามไม่ทัน (อันที่จริงไม่แทบหรอก บอกตรงๆเลยว่าคามไม่ทันจริงๆนั่นแหละ แต่ต้องทำใจดีสู้เสือ ฟอร์มว่าทันไว้ก่อน) ซึ่งมีทั้งด้านดีและไม่ดี แน่นอนในที่นี้จะพูดถึงด้านที่มีคนใช้ไปในทางไม่ดี เช่นการใช้เอไอแปลงเสียงมายืมเงินหรือหลอกให้โอนเงิน
ซึ่งมิจฉาชีพเหล่านี้มันจะทำได้ก็ต่อเมื่อมันมีไฟล์เสียงของเราซึ่งเราไปโพสต์ไว้ตามสื่อโซเชียลต่างๆ แล้วมันก็จะเอาไปข่มขู่ญาติพี่น้องของเราว่าถูกจับตัวต้องเอาเงินมาไถ่ตัวแะไรทำนองนั้น ได้มีผู้เชี่ยวชาญออกมาบอกวิธีป้องกันแบบง่ายๆให้รู้นั่นคือ การให้ตั้งรหัสลับคำพูดที่รู้กันในครอบครัว เหมือนกับที่พ่อแม่บอกรหัสลับให้ลูก ๆ เผื่อไว้ในกรณีมีผู้สวมรอยมารับตัวเด็กไปจากโรงเรียน เป็นต้น โดยผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า ตอนนี้ ยังไม่มีวิธีการใด ๆ ในการแยกแยะว่าผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาหาเรานั้น เป็นตัวจริงหรือตัวปลอม ได้ดีไปกว่าการกำหนดรหัสลับเฉพาะในครอบครัวน่าจะเป็นวิธีที่ง่ายสุดที่ทำได้ในตอนนี้ ขอเพียงต้องตั้งใจและจดจำรหัสของครอบครัวให้ได้
และยังได้แนะนำอีกว่าสมาชิกในครอบครัวควรจะมีรหัสลับที่รู้กัน เพื่อใช้ตรวจสอบว่าอีกฝ่ายเป็นตัวจริงหรือไม่ อาจเป็นคำถามง่าย ๆ คล้ายกับลักษณะของคำถามกู้รหัสผ่านอีเมล เพื่อให้จำง่าย และทางที่ดีควรเปลี่ยนรหัสเป็นครั้งคราวเผื่อกรณีรหัสหลุดรอดไปถึงมือโจร นอกจากนี้ยังแนะนำให้ผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะแล้วสังเกตลักศณะคำพูดหรือเสียงรอบข้างของอีกฝ่ายให้ดีด้วยก็อาจสามารถตัดสินได้แล้วว่าใช่ตัวจริงของคนที่เรารู้จักหรือไม่ หากมีญาติพี่น้องหรือคนรู้จักโทรมาหาเราเพื่อยืมเงินหรืออะไรทำนองนั้น เราต้องมีวิธีเช็คอย่างน้อยหนึ่งวิธี จะโอนให้เลยแบบเมื่อก่อนนี้ไม่ได้แล้ว ไม่งั้นหมดตัวแน่นอน