หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ท่องโลกดึกดำบรรพ์ เมื่อผืนทรายบรรจบกับธารน้ำ (ยุคครีเตเชียส)

แปลโดย samuraimasterj

มองโกเลีย ประเทศที่ดูจะไม่มีอะไรมากนัก มีคนเลี้ยงม้าและคนเลี้ยงแกะที่อยู่บนทุ่งหญ้าทางเหนือของจีน มีภูเขาสุดลูกหูลูกตา และทะเลทรายแห้งแล้งอย่างทะเลทรายโกบี แต่ที่แห่งนี้เปรียบดั่งขุมทรัพย์ที่มากไปด้วยฟอสซิล มีผู้คนและนักวิทยาศาตร์มากมายเดินทางมาเพื่อตามหาชิ้นส่วนกระดูกไดโนเสาร์และฟอสซิล

วันนี้ผมจะพาย้อนอดีตไปยังดินแดนแห่งนี้ในสมัย 75 ล้านปีที่แล้ว เพื่อดูว่าในสถานที่แห่งนี้มีสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร



หมวดหินเนเมกต์ (Nemeght Formation) และหมวดหินบารุนโกยอต (Barun Goyot) เป็นหมวดหินที่แสดงถึงหลักฐานว่าเอเชียตะวันออกยุคโบราณเคยมีสภาพอากาศอบอุ่น มีทั้งแหล่งน้ำ ทะเลทราย และทุ่งหญ้าแบบเดียวกับทุ่งสะวันน่าของทวีปแอฟริกา บนความกว้างใหญ่นี่ คุณเดินเตะเหยียบน้ำในทางไหลของน้ำ เห็นทั้งกุ้งและปลาโบราาณว่ายหนีอยู่ในน้ำตื้น รอบข้างก็มีต้นไม้ขนาดใหญ่อย่างแปะก๊วยและสนสามใบเป็นพืชกลุ่มหลัก และยังมีฟอสซิลของพืชกลุ่มแมกโนเลียอีกด้วย ซึ่งเป็นพืชดอก อย่างไรก็ดี หญ้ากลุ่มแรกๆ ก็เริ่มปรากฏขึ้นแล้วเช่นกัน ตอนนี้ตรงกับฤดูร้อนของสถานที่แห่งนี้ พืชจึงมีใบสีเหลืองกันมาก


(บน บาร์สโบลเดีย/ ล่าง ซอโรโลฟัส)


รอบข้างคุณสามารถเห็นไดโนเสาร์ได้หลายชนิด มีออร์นิโธพอดที่อาศัยรวมกันเป็นฝูง เช่น บาร์สโบลเดีย (Barsboldia) ที่ตัวยาวถึงแปดเมตร และเป็นพวกไดโนเสาร์ปากเป็ด พวกมันกำลังแวะดื่มน้ำกันหลังจากอพยพข้ามทุ่งโล่งมากันหลายวันได้แล้ว ทางนั้นก็มีตัวที่หน้าตาคล้ายกัน แต่แยกได้ด้วงหงอนเล็กๆ ที่ยื่นจากหัวดูสะดุดตา มันคือ ซอโรโลฟัส (Saurolophus) หงอนของตัวผู้จะประดับด้วยสีสันต่างๆ ใช้หาคู่ มีกระดูกที่เบาและเปราะบางชั้นในและเคลือบเป็นสารเคราตินคล้ายหงอนของนกเงือกหรือเล็บของมนุษย์อีกชั้น ในสมัยก่อนนักวิทยศาตร์ทั้งคิดต่างๆ นานาว่าหงอนนี้ใช้ทั้งเก็บอากาศตอนดำน้ำหรือไม่ก็ช่วยเรื่องเสียง ถึงกระนั้น ก็ยังต้องมีการวิจัยเรื่องการใช้หงอนของมันอยู่ดี 


(ไซคาเนีย)


ไดโนเสาร์กินพืชบนพื้นที่แห่งนี้ก็มีมาก แต่ละชนิดก็ใช้ขนาดอันใหญ่โตของมัน เช่น เนเมกโตซอรัส (Nemegtosaurus) ไซคาเนีย (Saichania) ที่มีหางเป็นลูกตุ้มและเกราะหลัง แต่ไม่มีชนิดไหนที่มีวิธีการป้องกันตัวที่แปลกที่สุด ตรงหน้าของคุณมีไดโนเสาร์คอยาวยืนสองขา ขนตามร่างกายฟูฟ่อง หลังมีโหนกและปากแบนคล้ายเป็ดที่ยาว มันยืนพลางใช้อุ้งมือกับเล็บยาวโง้งวักน้ำขึ้นมาจนชุ่ม หน้าตาพิลึกราวกับเอาสัตว์หลายๆ ชนิดผสมกัน นี่คือ ไดโนไครรัส (Deinochierus) ฟอสซิลของมันถูกค้นพบในปี 1976 และเข้าใจว่ามันคือสัตว์กินเนื้อที่ดุร้าย แต่เมื่อได้มีการค้นพบซากเพิ่มเติมจากนักค้าฟอสซิลในปี 2016 ก็ได้รู้ว่ามันมีลักษณะเป็นไดโนเสาร์คล้ายนก กลุ่มที่เรียกว่า ออร์นิโธมิโมซอร์ (Ornithomimosaur) พวกนี้จะมีลักษณะคล้ายนก เล็บยาว และอาจจะมีขนคลุมตามร่างกาย แขนที่ยาวก็ใช้ในการโน้มกิ่งไม้จากที่สูงเพื่อกินใบไม้ และยังใช่ข่วนนักล่าที่จะเข้ามาโจมตีได้ด้วย 


(ไดโนไครรัส)


เมื่อเห็นสัตว์ใหญ่แล้ว เรามาดูสัตว์เล็กๆ กันบ้าง รอบๆ พื้นที่ตรงนี้แห้งแล้งขึ้นเพระห่างจากแหล่งน้ำ สัตว์ขนาดเล็กจะได้เปรียบในการกักน้ำในร่างกายมากกว่าสัตว์ใหญ่ และที่นี่ก็มีรังทรงกลมเป็นหลุมกะทะใหญ่มากมาย มีไดโนเสาร์คอยาวคล้ายนกแก้วนั่งกกอยู่ พวกมันคือ เนเมกโตไมอา (Nemegtomaia) เป็นไดโนเสาร์กลุ่ม โอวิแรปเตอรริด (Oviraptorid) พวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่เคยเชื่อว่าเป็นจอมขโมยไข่จากฟอสซิลที่พวกเขาพบพวกมันถูกทับในรัง จึงคิดว่าขโมยไข่ของไดโนเสาร์ตัวอื่นกินอยู่ แต่เมื่อศึกษาด้วยการทำซีทีสแกน (CT Scanning) เพื่อดูโครงสร้างสิ่งที่อยู่ในไข่ ก็เห็นซากตัวอ่อนใกล้สมบูรณ์ของลูกๆ ของพวกมัน จึงได้รู้ว่าพวกมันจริงๆ แล้วก็เป็นแม่ที่ดี โดยเมื่อลูกๆ ฟักออกจากไข่ เนเมกโตไมอาอาจจะพาลูกๆ เดินเป็นขบวนแถวออกหาอาหารกินคล้ายกับไก่ได้ด้วย และด้วยปากคล้ายนกแก้วทำให้กินพืชแข็งๆ ได้ และยังคมพอจะตัดเนื้อสัตว์เล็กๆ กินได้อีกด้วยแน่ะ


(เนเมกโตไมอาและลูกๆ)


หากว่าเมื่อเดินทางมา เราจะเจอกับไดโนเสาร์ผู้ปราดเปรียวตัวหนึ่งกำลังวิ่งไล่ตามกิ้งก่าหลังกองหิน มันทั้งกระโดดและใช้เท้าเคาะรูที่กิ้งก่าวิ่งไปหลบ ใช้ทั้งเท้าและขาหลัง แต่หากสังเกตที่เท้า มันมีเล็บแหลมๆ โค้งแบบตะขอด้วย เจ้าไดโนเสาร์ตัวนี้คาบแท่งไม้แล้วแหย่แยงรูจนเมื่อกิ้งก่าตัวเขื่องที่รำคาญวิ่งออกมาจากกองหิน เท้าของไดโนเสาร์ตัวนั้นเหยียบลงไปและเล็บสังหารปักเข้าไปที่หัวของเหยื่อจนสิ้นใจ นี่คือ เวลโลซิแรปเตอร์ (Velociraptor) เวลโลซิแรปเตอร์ในภาพยนตร์จูราสสิคปาร์กนั้นตัวใหญ่ หัวกลม และผิวหยาบแถมฉลาดเป็นกรด แต่มันเป็นเพียงภาพจำผิดๆ ของการเอายูทาห์แรปเตอร์ (Utahraptor) ไดโนเสาร์ในกลุ่มโดรมิโอซอริด (Dromeosauridae) เช่นเดียวกับเวลโลซิแรปเตอร์มาใช้แทนและตั้งชื่อเพื่อความเรียกง่าย เวลโลซิแรปเตอร์ในความเป็นจริงตัวเล็ก โดยอาจจะสูงไม่เกิน 60 ซ.ม. และยาวแค่ 90 ซ.ม. มีปากแคบและยาวพร้อมด้วยฟัน ถึงกระนั้นก็ยังล่าด้วยเล็บคมๆ ได้ และยังมีขนตามลำตัวคล้ายนกอินทรีช่วยในการควบคุมอุณหภูมิได้อีกด้วย พวกมันไม่ได้มีพละกำลังมากพอล่าสัตว์ใหญ่ๆ แต่กับสัตว์เล็กๆ มันคือของง่ายสำหรับมัน ถึงแม้จะไม่ฉลาดเป็นกรดคิดการซับซ้อนได้ แต่ก็พลิกแพลงแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี


   


ตามพื้นที่แห้งแล้งมีจอมปลวกมากมาย คุณเดินอย่างระวังๆ ในความวังเวง ถึงกระนั้นก็มีไดโนเสาร์ขนาดเล็กกำลังหากินเช่นกัน นั่นคือ โมโนไนคัส (Mononykus) ชื่อนี้แปลว่าเล็บเดียว ดูจากขาหน้าที่เป็นแขนเล็กๆ มีเล็บขนาดใหญ่เล็บเดียวโค้งและคมใช้ในการขุดหาแมลงกินเป็นอาหาร ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีดวงตาขนาดใหญ่ คาดว่าใช้หากินกลางคืนและมองเห็นได้ ถึงกระนั้นกลางวันมันก็หาอาหารด้วย ขนหนาๆ รอบใบหน้าปกป้องมันจากฝูงปลวกทหารที่ออกมาปกป้องรังคอยกัดและพ่นพิษใส่ ลิ้นยาวๆ ของโมโนไนคัสนั้นมีน้ำลายเหนียวหนึดใช้ดูดแมลงได้ การกินแมลงนี้สามารถทำให้มันไม่ต้องไปแข่งขันแย่งอาหารกับไดโนเสาร์ชนิดอื่นๆ อย่างเวลโลซิแรปเตอร์ด้วย


(โมโนไนคัส)


และแล้ว จู่ๆ โมโนไนคัสตัวนั้นก็ถูกขย้ำลากยกขึ้นไปในอากาศ เจ้าของเสียงส่งเสียงดังฟึดฟัดก่อนจะกัดบดกระดูกและร่างของมันจนแหลก นั่นคือสุดยอดนักล่าของทะเลทรายแถบนี้ ทาร์โบซอรัส (Tarbosaurus) พวกมันเป็นไทแรนโนซอริส ญาติในสายวิวัฒนาการกับไทแรนโนซอรัสในอเมริกาเหนือ ด้วยขนาดตัวใหญ่เทอะทะแต่มีกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย มันสามารถใช้พละกำลังในการกดล้มสัตว์กินพืชขนาดใหญ่ให้ล้มได้ แขนหน้าดูสั้นๆ แต่ก็มากด้วยกล้ามเนื้อ สามารถออกแรงยกได้ถึง 100 กิโลกรัมเลยทีเดียว พวกมันจะซุ่มจู่โจมแล้วรอออกมาวิ่งไล่ตามเหยื่อ ด้วยหัวขนาดใหญ่ที่มีแรงกัดมากอันเป็นเอกลักษณ์ของไทแรนโนซอริด พวกมันจะต่างจากอัลโลซอริดหรือคาคาร์โรดอนโตซอริดที่เน้นการทำให้เสียเลือด โดยการกัดอันทรงพลังนี้เพื่อหักคอและทำลายอวัยวะภายในให้ถึงฆาตในพริบตานั่นเอง โชคดีที่มันไม่สนใจคุณ พอได้อาหารตามสมควรแล้วก็จะจากไป เนื้อของโมโนไนคัสไม่มากพอจะเลี้ยงขนาดร่างกายของมัน ดังนั้นมันจะต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเขตทะเลทรายรอบนอกเพื่อหาอาหารให้ได้


(ทาร์โบซอรัส) 


มองโกเลียถือได้ว่าเป็นดินแดนแปลกประหลาด เต็มไปด้วยไดโนเสาร์ที่มีการปรับตัวอันทรหดมากมาย แต่ก็ช่วยทำให้เราเข้าใจถึงสภาพนิเวศวิทยาอันมากไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ แน่นอนว่าพื้นที่แห่งนี้เองก็มีพายุทรายและภัยธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยๆ ไดโนเสาร์และสัตว์ต่างๆ จะต้องคอยพากันหลบหลีกและเอาชีวิตรอดให้จงได้

ตอนต่อไป เดินทางสู่อเมริกาใต้ ดินแดนสาบสูญมากไปด้วยไดโนเสาร์หลายชนิด บ้านของยักษ์ใหญ่สูงเทียมฟ้า เดรดน็อกทัส ซอโรพอดยักษ์ และบ้านเกิดของเพชรฆาตสุดอันตราย คาร์โนทอรัส และมาอิป จะมีการผจญภัยแบบไหนรอเราอยู่ โปรดรอติดตามใน ท่องโลกดึกดำบรรพ์!

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
samuraimasterj's profile


โพสท์โดย: samuraimasterj
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: อ้ายเติ่ง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
18 บอส 'ดิไอคอน' ถูกดีเอสไอแจ้งข้อหาผิดแชร์ลูกโซ่-กฎหมายขายตรงมังคุดคัด 8 ลูก 699 บาท! "พี่เอ ศุภชัย" เจอดราม่า ราคาแรงแซงโค้งแฟนพันธุ์แท้ Hello Kitty รับไม่ได้ ส่งข้อความให้แบนคนจีนที่ซื้อสินค้าไปหมดนักแสดงดัง แจ้งข่าว ติดเชื้อ “HIV” ก่อนโพสต์สุดเศร้า
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
จอนนี่ โซมาลี Youtuber คนดัง ก่อวีรกรรมป่วน! ชาวเน็ตแห่ #แบนจอนนี่โซมาลีอุ๊งอิ๊งเดินหน้าเอ็มโอยู44!ลั่นไม่เกี่ยวกับ'เกาะกูด'
ท่องโลกดึกดำบรรพ์: บ่อน้ำมันดิบยุคหินท่องโลกดึกดำบรรพ์: ออสเตรเลียแดนใต้ลึกลับท่องโลกดึกดำบรรพ์: คนแคระกลุ่มสุดท้ายแห่งเกาะภูเขาไฟท่องโลกดึกดำบรรพ์ เมื่อทวีปอเมริกาเหนือ เชื่อมเข้ากับทวีปอเมริกาใต้
ตั้งกระทู้ใหม่