หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ท่องโลกดึกดำบรรพ์: กาฬทวีปและตำนานสุดแปลก (ยุคครีเตเชียส)

โพสท์โดย samuraimasterj

ในปี ค.ศ. 1915, เอิร์นส สโตรเมอร์ นักบรรพชีวินวิทยาชาวเยอรมันบาวาเรีย ได้เดินทางมายังพื้นที่ที่เรียกว่า บาฮาริย่า อันเป็นแอ่งกะทะล้อมหุบเขาในทะเลทรายซาฮาร่าอันกว้างใหญ่ไพศาล ได้มีการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกสันหลัง สะโพกขาหลัง และแผ่นกระโดงขนาดยักษ์ของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่มากๆ ครั้งแรกเขาคิดว่ามันคือสิงโตทะเลดึกดำยบรรพ์ แต่เมื่อศึกษาดีๆ กลับพบว่ามันคือไดโนเสาร์ตระกูลใหม่ที่ยังไม่เคยเป็นที่ค้นพบในสมัยนั้น สโตรเมอร์ได้รู้แล้วว่าเขาค้นพบสิ่งที่ยิ่งใหญ่และแปลกใหม่ๆ มาก เขาจึงเรียกมันว่า สไปโนซอรัส เอจิปติคัส (Spinosaurus aegypticus)

(เอิรนส์ สโตรเมอร์และชิ้นส่วนกระดูกขา)

สโตรเมอร์ได้ขนนำชิ้นส่วนเหล่านั้นที่ค้นพบมาและเอามันไปจัดตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมันนี เขาได้วิเคราะห์และคิดว่ามันคือไดโนเสาร์เทอโรพอดยืนสองขา มีครีบกระโดงหลัง และหัวกลมคล้ายกับไทแรนโนซอรัสหรือเมกะโลซอรัสที่ค้นพบกันมาก่อนหน้านั้น เป็นสัตว์กินเนื้อที่ดุร้าย ทั้งล่าไดโนเสาร์ชนิดอื่นด้วยกินกินได้และแย่งซากด้วย ภาพจำในยุคนั้นจึงเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อประหลาดหางลากพื้นและมีครีบหลังโดดเด่น ครีบหลังนั้นอาจจะช่วยในการปรับอุณหภูมิที่ร้อนระอุระหว่างวันเพื่อช่วยคลายความร้อนให้ตัวสไปโนซอรัสก็เป็นได้

(ชิ้นส่วนกระดูกสไปโนซอรัสที่สโตรเมอร์ขุดพบที่โดนทำลาย)

 

ทว่า ยังไม่ได้ศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก เมืองมิวนิคก็ตกอยู่ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1943 พร้อมกับการทิ้งระเบิดถล่มทำลายของทหารฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้สไปโนซอรัสต้องจบลงกลายเป็นเถ้าถ่านไปพร้อมกัน สโตรเมอร์เสียตัวอย่างสำคัญขณะลี้ภัยและสิ้นชีวิตลงในปี ค.ศ. 1976 จึงไม่มีใครได้ออกตามหาและค้นพบตัวอย่างของสไปโนซอรัสตลอดกาล เปิดโอกาศให้ไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่นๆ ขึ้นมามากมายกันอย่างไม่หยุดหย่อนแทนที่เจ้านักล่ากระโดงสูงต่อไป

 

ล่วงมาถึงปี ค.ศ. 1990 มีการค้นพบไดโนเสาร์ที่เป็นญาติเช่นเดียวกับสไปโนซอรัส ทั้งซูโคไมมัส บาริโอนิกซ์ และสยามโมซอรัสของประเทศไทย จึงได้คาดเดาลักษณะกายภาพโดยรวมว่า พวกสไปโนซอริด (Spinosaurid) มีกระโดงหลังสูง ปากยาวแคบคล้ายจระเข้หรือนกกระเรียน มีเล็บยาวและกินปลาเป็นอาหารจากหลักฐานการค้นพบซากกระดูกปลาในส่วนช่องท้องตรงที่เคยเป็นกระเพาะ และด้วยโครงสร้างฟันที่แคบเรียวและถี่หลายซี่น่าจะช่วยในการจับปลากินเช่นกัน แต่ทุกคนยังไม่รู้ว่า จะมีหัวกะทิอีกสองรายเดินทางมาและพาสไปโนซอรัสกลับขึ้นมาจากความทรงจำของวงการวิทยาศาตร์บรรพชีวินวิทยาให้จงได้

(สรีระวิทยาของสไปโนซอรัส)

ปี 2014 พอล เซเรโน่ และ นิซาร์ อิบราฮิม นำทีมคณะวิจัยไปยังโมร็อกโก พวกเขาได้ไปศึกษาที่พื้นที่ทะเลทรายซาฮาร่าอีกครั้งก่อนจะขุดเจอชิ้นส่วนสไปโนซอรัสจากต่างวัยและอายุ ถึงกระนั้นก็พอคาดเดาคร่าวๆ และพวกเขาได้สรุปว่า มันมีความสูงถึง 2 เมตร และยาวถึง 17 เมตร สิ่งมีชีวิตตัวนี้สามารถยืนสองขาได้และเดินสี่ขาโดยใช้หลังมือพยุงตัว ลำตัวขนานกับพื้นแทบจะไถติดพื้น กระโดงหลังนั้นไม่มีหลักฐานเส้นเลือดฝอยในการปรับอุณหภูมิแบบที่ควรจะเจอ แต่กลับกลายเป็นอวัยวะที่ใช้ดึงดูดเพศตรงข้าม โดยอาจจะมีผิวหนังสีสันฉูดฉาดหุ้มไว้ ปากที่ยาวและมีฟันแหลม มวลกระดูกที่หนักทำให้มันน่าจะว่ายน้ำได้เก่งอยู่บ้าง และที่หางก็อาจจะมีแผ่นกระดูกที่บางใช้ในการว่ายน้ำเพื่อล่าปลา มันไม่ใช่สัตว์ที่ชอบล่าสัตว์ขนาดใหญ่ๆ อื่นมากิน แต่มันก็น่าจะว่ายน้ำเพื่อจับปลาและสัตว์น้ำต่างๆ ได้ 

(นิซาร์ อิบราฮิม)

ย้อนไปในช่วงยุคครีเตเชียสในช่วง 93 ล้านปีที่แล้ว แอฟริกาเหนือในพื้นที่ทะเลทรายซาฮาร่ามิได้มีสภาพแห้งแล้งเช่นนี้ แต่มีพื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำ และป่าสนขนาดใหญ่มากปกคลุม อุณหภูมิค่อนข้างอบอุ่นไม่ร้อนมากนัก จึงถือว่าน่าอยู่โดยรวมสำหรับสัตว์กินพืชและสัตว์กินเนื้อ มีทั้ง             เรบบาชิซอรัส (Rhebbachisaurus) เป็นซอโรพอดขนาดกลางที่กินพืชต่ำๆ ตามที่ชุ้มน้ำ คอที่ยาวนั้นยืดออกไปข้างหน้าและก้มต่ำ พร้อมกับปากกว้างดูตลกช่วยในการดึงและฉีกพืชพุ่มเตี้ย และยังมีไททันโนซอร์ยักษ์ไม่ทราบชนิดที่เดินย่างไปตามที่ชุ่มน้ำกินพืชพวกสนและไซเปรสสูงที่งอกอยู่ตามบึงน้ำ ในน้ำก็มีจระเข้ขนาดเล็กไล่ไปจนถึงจระเข้สายพันธุ์ขนาดใหญ่อย่างเอกิสซูคัส (Aegisuchus) หรือจระเข้หัวโล่ ที่ปากของมันมีกรามขนาดใหญ่หัวแบนคล้ายโล่ยาวของชาวแอฟริกัน พวกมันจับปลาในน้ำที่มีมากมายกินเป็นอาหาร ในน้ำเองก็มีทั้งปลาโบราณซีลาแคนท์ เช่น เมาโซเนีย (Mawsonia) ยาว 4 เมตร ปลาฉนากยักษ์ ออนโคพริสติส (Onchopristis) ยาว 8 เมตร ปลาปอด (Lungfish) ปลาบีเซียร์ (Bichir) ที่ทั้งสองชนิดมีปอดและถุงลมที่พัฒนาใช้ในการหายใจในน้ำตื้น 

(สไปโนซอรัส รูกอปส์ (Rugops) และคาคาร์โรดอนโตซอรัสที่กำลังกินเหยื่ออย่างเรบบาชิซอรัส)

(เดลต้าโดรมิอัส)

(เอกิสซูคัสกับปลาปอด)

เมื่อมีอาหารมาก ก็ต้องมีนักล่า เดลต้าโดรมีอัส (Deltadromeus) ไดโนเสาร์เทอโรพอดนักล่าขนาดกลางยาวแปดเมตร หนักหนึ่งตัน มันจะคอยล่ากินลูกไดโนเสาร์และลูกจระเข้ที่ไม่ทันระวังตัว คอยาวๆ ของมันช่วยในการรอคอยสอดส่องหาเหยื่อตัวเล็กๆ ได้ แต่ก็เทียบไม่ได้กับนักล่าตัวใหญ่ที่เป็นญาติห่างๆ ของมัน

เสียงพื้นโคลนเหยีบเปาะแปะพร้อมกับร่างที่ย่างเดินมาลิบๆ มันคือ คาคาร์โรดอนโตซอรัส (Carcharodontosaurus) ไดโนเสาร์นักล่าขนาดใหญ่ที่มีฟันแหลมคม ด้วยความสูงสามเมตรและยาวถึงสิบเมตร ฟันแหลมคมที่ด้านข้างมีรอยหยักสำหรับกรีดและตัดลงเนื้ออย่างมีประสิทธิภาพคล้ายกับฉลาม มันคือนักล่าที่ถูกออกแบบมาเพื่อล่า เดลต้าโดรมิอัสที่เห็นต้องหลีกทางให้ในทันที มันคือสุดยอดนักล่าที่ยิ่งใหญ่มากๆ โชคดีที่วันนี้มันไม่ได้หิวเท่าไหร่นัก จึงเดินมาแวะกินน้ำไปสักพักแล้วปล่อยให้เหยื่อของมันเดินนำทางไปข้างหน้า แต่เมื่อความหิวสะกิดหัวของมันคราใด นักล่าตัวนี้จะวิ่งปรี่และสังหารสิ่งที่มันอยากจะกินอย่างแน่นอน

(คาคาร์โรดอนโตซอรัส)

 

แล้ว สไปโนซอรัสอยู่ตรงไหนของพื้นที่นี้ล่ะ?

ครีบหลังขนาดใหญ่ไหวๆ อยู่ในน้ำก่อนที่จะปรากฏร่างขนาดยักษ์เดินขึ้นมายังตลิ่งของทางแม่น้ำ สไปโนซอรัสนั่นเอง เนื่องเพราะมันไม่ได้มีสรีระเอื้อต่อการจับสัตว์กินพืชนาดใหญ่ จึงกินแต่ปลาขนาดใหญ่ในแม่น้ำที่จะว่ายขึ้นมาเท่านั้น ทำให้นักล่าตัวนี้ไม่ต้องแข่งขันไปแย่งกับคาคาโรดอนโตซอรัส และหากเกิดเหตุต้องสู้กัน กระโดงหลังของสไปโนซอรัสจะเสียเปรียบมากเพราะจะถ่วงน้ำหนักตัวไว้แน่นอน มันได้ออกมาพร้อมกับซากปลาฉนากออนโคพริสติสที่จับได้เมื่อครู่จากการดำผุดดำว่าย ปลาฉนากนั้นถึงแม้จะตัวใหญ่และมีจมูกติดเลื่อย แต่สไปโนซอรัสก็แค่แทงกระซวกมันที่หลังหัวด้วยเล็บและใช้ฟันกัดทึ้งให้เหยื่อสิ้นฤทธิ์ก็เพียงพอแล้ว นักล่าตัวยักษ์ลากซากของมันขึ้นมาและลงมือกินอย่างอเร็ดอร่อย ที่แท้สิ่งที่สโตรเมอร์คาดเดาไว้ก็ไม่ผิดแปลกเลยแต่น้อย มันอาจจะไม่ใช่สิงโตทะเลยักษ์ แต่มันคือไดโนเสาร์ที่เกิดมาเพื่อการล่า หากินในน้ำโดยเฉพาะ เมื่ออยู่บนบกมันจะดูปกติ แต่เมื่อลงน้ำมันจะเป็นสัตว์ที่คล่องตัวเลยทีเดียว เท้าของมันนั้นก็แผ่กว้างช่วยให้มันยืนบนโคลนได้ดีด้วยผังพืดระหว่างนิ้วแต่ละนิ้ว เวลาว่ายน้ำมันก็จะใช้เท้านี้เตะตัวเองในน้ำคล้ายกับเป็ดเช่นกัน

ยุคนี้ได้สิ้นสุดลงเมื่อทวีปแอฟริกาเหนือถูกแยกออกจากระดับน้ำทะเลที่เอ่อล้น เป็นเวลาเดียวกับที่ทวีปอเมริกาใต้แยกตัวออกจากแอฟริกา น้ำเค็มและคลื่นยักษ์หนุนสูงท่วมทำลายแหล่งน้ำจืดอันมากไปด้วยอาหารนี้ พร้อมกับแหล่งอาหารมากมายก็หายไป สัตว์กินพืชล้มตายลง สัตว์กินเนื้อก็เช่นกัน สไปโนซอรัสสูญเสียสายพันธุ์ปลาที่เป็นอาหารที่ตายลงจากค่าความเค็มในน้ำที่สูงขึ้น ทำให้เรื่องราวของพวกมันค่อยๆ เลือนหายไปในที่สุด

จากการเดินทางอันยาวไกลในทะเลทราย ผ่านยุคสงครามโลก ผ่านการปฏวัติทางวงการวิทยาศาตร์ที่นำเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ ได้นำทางให้เราเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ในทั้งรูปแบบที่ยากจะคาดเดา การดำรงชีวิตของยักษ์ใหญ่ ถึงกระนั้น สไปโนซอรัสและไดโนเสาร์ชนิดอื่นๆ จากหมวดหินนี้ก็แปลกประหลาดเสียเหลือเกินยากจะคาดเดาได้ มีสิ่งหนึ่งที่เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์นี้ ไม่มีสายพันธุ์ใดยืนยงคงกระพันตลอดไป

 

ต่อไป เราจะเดินทางเข้าสู่ปลายยุคครีเตเชียสในช่วง 80 ล้านปี กลับไปยังท้องทะเลของอเมริกาเหนือที่อุดมไปด้วยสัตว์เลื้อยคลานทะเล มากมาย มีทั้งความแปลกประหลาด พิลึกพิลั่นและสวยงาม อะไรจะรอเราอยู่ในยุคปลายทางโค้งสุดท้ายของเหล่าไดโนเสาร์และสัตว์ประหลาดทั้งหลาย โปรดรอติดตามใน ท่องโลกดึกดำบรรพ์!

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
samuraimasterj's profile


โพสท์โดย: samuraimasterj
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: ลิลลี่ ไมโครนอส
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
"ไข่ผำ" พืชจิ๋ว ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก"กองปริศนา" ปริศนาของเวทมนตร์ที่อาจอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ไข่ผำ" พืชจิ๋ว ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากคลังฟันธง! "ดิไอคอน" เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน ต้องครบ 3 เงื่อนไข ร่วมวง DSI สรุปสำนวนคดี"กองปริศนา" ปริศนาของเวทมนตร์ที่อาจอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิดใครบอกว่า สัตว์น้ำไม่นอน วาฬนอน พิสูจน์ว่าปลาก็นอนเหมือนเรา
ท่องโลกดึกดำบรรพ์: บ่อน้ำมันดิบยุคหินท่องโลกดึกดำบรรพ์: ออสเตรเลียแดนใต้ลึกลับท่องโลกดึกดำบรรพ์: คนแคระกลุ่มสุดท้ายแห่งเกาะภูเขาไฟท่องโลกดึกดำบรรพ์ เมื่อทวีปอเมริกาเหนือ เชื่อมเข้ากับทวีปอเมริกาใต้
ตั้งกระทู้ใหม่