ผู้ป่วยจิตเวช เข้ารักษาบำบัดติดยาบ้า ไม่กี่เดือน พุ่งสูงถึง 1.7พันราย ที่จ.ขอนแก่น
จากการที่มีนโยบายที่ว่าครอบครองยาบ้า 5 เม็ดได้ ก็มีผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จ.ขอนแก่นตอนนี้น่าเป็นห่วงมาก พบผู้ป่วยจิตเวช เข้ารับการรักษาบำบัดยาบ้า 5เดือนพุ่งสูงถึง1.7พันราย
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม นพ.ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เปิดเผยสถานการณ์ภาพรวมในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่ภาคอีสานว่า ในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่ ต.ค.66 - ก.พ.67 พบว่า มีผู้ป่วยที่เข้ามารับการบำบัดแบ่งออกเป็นผู้ป่วยนอก 4,238 ราย ประกอบด้วย 4 จังหวัด คือ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และจังหวัดกาฬสินธุ์
จากข้อมูลพบว่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการใช้สารกระตุ้นระบบประสาท หรือยาบ้า 1,973 ราย สารเสพติดหลายขนาน 1,787 ราย แอลกอฮอล์ 742 ราย และจากข้อมูลการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตในจังหวัดขอนแก่นพบว่าตั้งแต่ ต.ค.66 - ม.ค.67 มีจำนวนกว่า 1,700 ราย ครึ่งของปริมาณของผู้ที่เข้ารับการรักษาทั้งหมดาก 4 จังหวัด มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีนัยยะ และผู้ป่วยที่มารักษาอาการที่โรงพยาบาลจะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการหนัก โดยเฉพราะผู้ที่มีอาการทางจิตจึงถูกส่งเข้ามารักษา ถ้าเป็นรายที่อาการไม่หนัก อาจจะไปรักษาที่โรงพยาบาลธัญญารักษ์หรือโรงพยาบาลอื่นๆ
สำหรับในพื้นที่ขอนแก่น จำแนกเป็น 5 อำเภอ ที่มีผู้ติดสารเสพติดมารับการรักษามากที่สุด ประกอบด้วย อำเภอเมือง 430 คน อำเภอบ้านฝาง 101 คน และอำเภอหนองเรือ 74 คน ตามลำดับ ซึ่งช่วงไหนมีการกวดขันตามนโยบายอย่างเคร่งครัดช่วงนั้นผู้ป่วยจะเพิ่มมากขึ้น จนเตียงไม่เพียงพอเพราะผู้ป่วยต้องใช้เวลารักษาตัว ประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ โดยจะรักษาจนกว่าอาการทางจิตหายไป และจะส่งกลับไปยังชุมชน เข้าสู่กระบวนการบำบัดชุมชน ตามนโยบายของทางกระทรวงสาธารณสุข
นพ.ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์