กบประหลาด..เลี้ยงลูกในกระเพาะ!
(Gastric Brooding Frog)
🐸กบเลี้ยงลูกในกระเพาะ(gastric-brooding frogs)มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rheobatrachus silus พวกมันมีเพียง 2 สายพันธุ์เท่านั้น
🐸กบเลี้ยงลูกในกระเพาะ นี้มีถิ่นที่อยู่อาศัยในรัฐควีนแลนด์ ของ ประเทศออสเตรเลีย เท่านั้น
🐸แต่เป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่พวกมัน ถูกระบุว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้วจากรายงานของ IUCN โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์นั้นไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่ คาดว่าน่าจะเป็นผลมาจาก การคุกคามที่อยู่อาศัย ของ พวกมันโดยมนุษย์ จากมลภาวะ จากโรคพยาธิ บ้างว่าจากเชื้อรา chytrid แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้สาเหตุโดยรวมนั้นเกิดจากกิจกรรมของพวกเราที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาิต อย่างกระทันหัน
🐸สิ่งที่แปลกประหลาดยิ่งของพวกมันคือ การฟักไข่ เลี้ยงลูกอ๊อด ในกระเพาะของแม่กบ โดยเมื่อ ตัวเมียออกไข่ออกมาและผสมกับน้ำเชื้อของตัวผู้(ไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันออกไข่ในน้ำ หรือ บนพื้นดิน) แม่กบจะกลืนไข่ที่ปฎิสนธิลงไปในกระเพาะ
🐸ไข่ที่พบในกระเพาะของตัวเมียมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 5.1 มิลลิเมตร
🐸พวกมันจะตกไข่ครั้งละประมาณ 40 ฟอง แต่ การค้นพบว่ามีตัวอ่อนกบในกระเพาะเพียงประมาณ 21 - 26 ตัว ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่าการที่ตัวอ่อนกบหายไป ประมาณครึ่งหนึ่งนั้นเกิดจาก แม่กบไม่สามารถกลืนไข่ทั้งหมดลงกระเพาะ หรือ จากไข่บางส่วนถูกย่อยในกระเพาะ
🐸หลายคนอาจจะมีคำถามว่าทำไม ไข่ และ ตัวอ่อนจึงไม่ถูกย่อยในกระเพาะของแม่กบ สาเหตุนั้นเกิดจากโดยรอบของไข่จะประกอบไปด้วยเมือกที่เรียกว่า prostaglandin E2(PGE2) เมือกนี้มีผลให้กระเพาะอาหารหยุดการผลิต กรดไฮโดรคลอริก
🐸PGE2 ที่รอบๆไข่จะมีปริมาณมากพอในช่วงฟักใข่ เมื่อ ลูกอ๊อดฟักตัวออกมาจะขับสาร PGE2 ออกมาเพิ่มเติม
🐸ขบวนการในการพัฒนาจากไข่เป็นลูกอ๊อด และโตเป็นกบที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ ลูกกบที่อัดแน่นอยู่ในกระเพาะแม่จะไปดันปอด อวัยวะภายในจนจนก่อความระคายเคืองจนแม่กบต้องอาเจียนขับ ลูกๆของมันออกมาเป็นการจบสิ้น การเลี้ยงดูสุดประหลาดในที่สุด
🐸ในระหว่างที่มีลูกกบในกระเพาะ แม่กบจะไม่กินอาหารเลย