ผักที่ไม่ควรทานดิบ 10 ชนิด ทานแล้วเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
ผักที่ไม่ควรทานดิบ 10 ชนิด ทานแล้วเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
1 หน่อไม้
หน่อไม้ เนื่องจากมีสารไซยาไนด์ (Cyanide) ซึ่งหากบริโภคในปริมาณมากสารนี้จะไปจับเม็ดเลือดแดงทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน หมดสติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่สารเหล่านี้กำจัดได้ด้วยความร้อนโดยการล้างให้สะอาดนำมาต้มในน้ำเดือดประมาณ 10 นาทีก่อนสามารถรับประทานได้ค่ะ
2 กะหล่ำปลี
กะหล่ำปลีมีสารที่ชื่อว่า กอยโตรเจน (Goitrogen) สารที่ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายดึงไอโอดีนจากเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ จนอาจก่อให้เกิดโรคคอหอยพอกได้โดยสารนี้จะไปยับยั้งการนำไอโอดีนไปใช้ในการสังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมน ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้ลดลงไปอีกดังนั้นผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์จึงไม่ควรกินกะหล่ำปลีดิบ กอยโตรเจน (Goitrogen) สามารถถูกทำลายโดยการผ่านความร้อน ฉะนั้นจึงควรบริโภคกะหล่ำปลีแบบปรุงสุกจะดีกว่านะคะ
3 ถั่วงอก
ถั่วงอกต้องอาศัยความชื้นในการเจริญเติบโตและมีแบคทีเรียจากการเจริญเติบโต ถั่วงอกมักจะมีการปนเปื้อนแบคทีเรียซัลโมเนลลา และอีโคไล อีกทั้งยังมีสารโซเดียมซัลไฟต์ ซึ่งเป็นสารฟอกขาวที่เหล่าพ่อค้า แม่ค้ามักจะนำมาฟอกสีให้ถั่วงอกมีสีขาวน่ารับประทาน ถ้าหากนำถั่วงอกไปปรุงสุกก็จะช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรีย และสารฟอกขาวได้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายได้ค่ะ
4 ถั่วฝักยาว
การรับประทานถั่วฝักยาวแบบดิบ ๆ ในปริมาณมาก ค้นพบว่า ถั่วฝักยาว จะมีปริมาณไกลโคโปรตีน พร้อมทั้งเลคตินสูง สารชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเกิดอาการท้องเสียได้ในระยะเวลา 3 ชั่วโมง
และถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงสูงหากกินถั่วฝักยาวดิบ ๆ ที่มีการปนเปื้อนสารพิษเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียได้ หากชอบกินแบบดิบ ๆ ควรล้างให้สะอาดก่อน โดยหักเป็นท่อนแล้วนำไปแช่น้ำนาน ๆ รับประทานน้อยๆหรือไม่ก็เลือกกินแบบสุกจะปลอดภัยกว่านะคะ
5 ผักโขม
ผักโขมเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก แต่ผักโขมดิบ ๆ มีกรดออกซาลิก (Oxalic) จะส่งผลทำให้ลำไส้ของเราระคายเคือง ที่เป็นตัวขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กและนำแคลเซียมไปใช้ ซึ่งในภายหลังจะส่งผลทำให้เราเป็นโรคนิ่ว ผู้ที่มีภาวะการขาดธาตุเหล็ก และแคลเซียม ไม่ควรรับประทานตอนดิบ กรดออกซาลิกตัวนี้จะหมดฤทธิ์ทันทีเมื่อเจอความร้อน แต่สำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีภาวะดังกล่าวก็ยังสามารถทานผักโขมดิบได้ค่ะ
6 ดอกกะหล่ำ
ดอกกะหล่ำ คนป่วยไฮโปไทรอยด์ต้องระวังหากจะกินดิบ ๆ เพราะดอกกะหล่ำก็มีกอยโตรเจนไม่สามารถนำมารับประทานแบบดิบ ๆ ได้ และดอกกะหล่ำยังคงมีน้ำตาลชนิดหนึ่ง ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ซึ่งจะไม่สามารถย่อยน้ำตาลชนิดนี้ได้ ส่งผลทำให้เกิดอาการท้องอืด และรู้สึกแน่นท้อง ถ้าหากคุณต้องการรับประทานควรนำกะหล่ำมาปรุงให้สุกจะดีกว่านะคะ
7 บร็อคโคลี่
บร็อคโคลี่พืชตระกูลเดียวกันกับกะหล่ำปลี มีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งจะทำให้ร่างกายใช้ไอโอดีนได้ไม่เต็มที่ จึงมีน้ำตาลที่ส่งโทษทำให้เกิดอาการท้องอืดได้เช่นกัน และยังมีฮอร์โมนบางชนิด ที่กระตุ้นทำให้เกิดโรคไทรอยด์ได้อีกเช่นเดียวกับกะหล่ำปลี ดังนั้นควรปรุงให้สุกก่อนรับประทานจะดีกว่านะคะ
8 มันฝรั่ง
มันฝรั่งห้ามรับประทานดิบเด็ดขาด เนื่องจากมีสารไซยาไนด์ชนิดเดียวกับหน่อไม้ดิบ ซึ่งหากบริโภคในปริมาณมากสารนี้จะไปจับเม็ดเลือดแดงทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน หมดสติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ และมีพิษขัดขวางการทำงานของระบบหัวใจและทางเดินโลหิต ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่เซลล์สมองน้อยลง หรือเบาะ ๆ อาจเกิดอาการเวียนศีรษะ ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรืออุจจาระร่วง ควรนำไปต้มในน้ำเดือดประมาณ 10 นาทีก่อนเพื่อลดปริมาณสาร หรือนำไปปอกเปลือก และทำให้สุกด้วยความร้อนจะดีกว่านะคะ
9 เห็ด
เห็ดส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือสารไคติน chitin ในผนังเซลล์ของเห็ด ซึ่งถ้านำมากินดิบๆ ก็อาจจะย่อยยาก และได้รับสารอาหารน้อย เห็ดสดที่มีเนื้อสีขาวทั่วไปมักจะตรวจพบสาร
อะการิทีน (Agaritine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง แต่สารเหล่านั้นจะสลายไปได้เองหากเห็ดเหล่านั้นผ่านการปรุงสุกแล้วค่ะ
10 มันเทศ
มันเทศ รวมถึงมันหวานสีต่าง ๆ มีสารไซยาไนด์ (Cyanide) อยู่เช่นเดียวกับมันสำปะหลัง และหน่อไม้ ถึงแม้มีปริมาณน้อยกว่าแต่ก็อันตรายไม่แพ้กันนะคะ นอกจากนี้ หัวมันเทศยังมีสารออกซาเลต (Oxalates) ที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม และแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด อาจเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคนิ่วในไตได้ค่ะ ควรล้างทำความสะอาดก่อนนำมาผ่านความร้อนสัก15-20 นาที ไม่ควรรับประทานดิบ ๆ นะคะ