ไบโพลาร์ อารมณ์สองขั้ว สังเกตอาการและวิธีการรักษาไบโพลาร์
ในสังคมเรายังมีความเข้าใจผิดคิดว่าอาการไบโพลาร์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติของอารมณ์ช่วงหนึ่งทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่ความผิดปกติหรืออาการป่วย ซึ่งหากพิจารณาดูจริง ๆ แล้วโรคไบโพลาร์เป็นภาวะที่อารมณ์แปรปรวน สลับไปมาระหว่าง อารมณ์ดี (mania) และ อารมณ์เศร้า (depression) ซึ่งผิดปกติจากความปกติอย่างเห็นได้ชัด เพราะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ความสัมพันธ์ การเรียนและการทำงาน
โรคไบโพลาร์ อารมณ์สองขั้ว คืออะไร ?
ไบโพลาร์ หรือ โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว จัดเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ประเภทหนึ่ง ผู้ป่วยเผชิญกับความสุดขั้วทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งคือ คือ อารมณ์ดี หรือ อารมณ์หงุดหงิดผิดปกติ (mania) และ อารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ (depressed) ซึ่งอารมณ์เหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปมาสลับกัน รอบละประมาณ 3 – 4 เดือน โดยผู้ป่วยโรคไบโพลาร์อาจมีอาการเพียงด้านเดียว หรือจะมีทั้งสองด้านก็ได้
อาการเตือนบ่งบอกว่าคุณเผชิญกับโรคไบโพลาร์
มาดูกันว่ามีอาการใดบ้างที่บ่งบอกว่า คุณกำลังเผชิญกับโรคไบโพลาร์
โรคไบโพลาร์กลุ่มอาการอารมณ์ดี หรือ อารมณ์หงุดหงิดผิดปกติ (Mania / Hypomania)
- ร่าเริง คึกคัก พูดมาก คิดเร็ว ตัดสินใจเร็ว
- รู้สึกมีพลังงานล้นเหลือ ไม่มีเวลาว่าง
- หงุดหงิดง่าย โมโหร้าย ก้าวร้าว พูดจาทำร้ายจิตใจผู้อื่น
- มีความมั่นใจสูง
- โมโหร้าย ก้าวร้าว พูดจาทำร้ายจิตใจผู้อื่น
- ใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย
- นอนหลับน้อยกว่าปกติ
โรคไบโพลาร์กลุ่มอาการขั้วลบ (Depressed)
- ร้องไห้ได้ง่าย และบ่อยครั้งกับเรื่องเล็กน้อย
- อารมณ์ซึมเศร้า หม่นหมอง สิ้นหวัง
- น้ำหนักลดลงอย่างมาก แม้ไม่ได้อยู่ช่วงอดอาหาร
- เหนื่อยล้า อ่อนเพลียประจำ
- รู้สึกชีวิตไร้ความหมาย รู้สึกไร้ค่า
- คิดช้า ตัดสินใจไม่ได้
- ไม่อยากพบใคร และไม่อยากทำอะไร
- คิดสั้น ไปจนถึงคิดฆ่าตัวตาย
อาการทั้ง 2 ขั้วไบโพลาร์ มักเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ อาการส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน การทำงาน การเรียน หรือความสัมพันธ์ บางครั้งผู้ป่วยอาจไม่รู้ตนเองว่าเป็นและต้องเข้ารักษาไบโพลาร์
ผลกระทบจากโรคไบโพลาร์
ไบโพลาร์ผลกระทบที่เกิดจากไบโพลาร์นั้นส่งผลไปยังด้านอารมณ์ ความคิด จิตใจ หรือพฤติกรรมของผู้ป่วยที่เกิดขึ้น การดำเนินชีชีวิตประจำวันเปลี่ยนไปจากปกติ บางรายอารมณ์แปรปรวนสุดขั้ว เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ทำให้ตัดสินใจทำอะไรลงไปโดยขาดสติ ไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้องหรือไม่ จนส่งผลกระทบไปการทำงาน การเรียน และยังกระทบถึงความสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อน หรือคนรอบตัว
การรักษาไบโพลาร์มีวิธีอะไรบ้าง
วิธีรักษาโรคไบโพลาร์ ปัจจุบันมีหลากหลายวิธี โดยแพทย์จะเลือกวิธีการรักษาไบโพลาร์ที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย และเป้าหมายของการรักษา เพื่อควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับปกติ ป้องกันไม่ให้อาการกำเริบ และนำไปสู่พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย จะมีวิธีรักษาไบโพลาร์อย่างไรบ้างมาดูกัน
- ยารักษาไบโพลาร์ เป็นวิธีหลักในการรักษา ยาที่ใช้รักษาโรคไบโพลาร์มีหลายประเภท เช่น ยาปรับอารมณ์ ยาคลายกังวล ยานอนหลับ แพทย์จะเลือกยาให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย
- จิตบำบัด มีหลายรูปแบบ เช่น จิตบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา จิตบำบัดครอบครัว จิตบำบัดระหว่างบุคคล ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจโรคไบโพลาร์ เรียนรู้กลไกการเผชิญปัญหา
- การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เปลี่ยนพฤติกรรม อย่างเช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารมีประโยชน์ หลีกเลี่ยงสารเสพติด แอลกอฮอล์ และการจัดการความเครียด
การรักษาไบโพลาร์ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วย ครอบครัว แพทย์ และนักจิตบำบัด
ยาที่ใช้ในการรักษาไบโพลาร์ มีผลข้างเคียงไหม หรือไม่?
การรักษาไบโพลาร์ร่วมกับยา ซึ่งยารักษาไบโพลาร์ผลข้างเคียงจะขึ้นอยู่ประเภทของยา ขนาดยา และความไวต่อยาของผู้ป่วย ผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง อ่อนเพลีย น้ำหนักตัวเพิ่ม ปากแห้ง และท้องผูก
วิธีดูแลตนเองและคนใกล้ชิดป่วยเป็นไบโพลาร์ที่ถูกต้อง
วิธีดูแลตนเอง และคนใกล้ชิดที่กำลังเผชิญกับโรคไบโพลาร์ มีดังนี้
วิธีดูแลตนเอง
- ทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
- ไปพบแพทย์ตามนัด
- ฝึกจัดการกับอารมณ์ เช่น นั่งสมาธิ
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์แปรปรวน
- หาวิธีผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ
วิธีดูแลคนใกล้ชิด
- รับฟังผู้ป่วยด้วยความเข้าใจ
- คอยให้กำลังใจผู้ป่วย
- ช่วยผู้ป่วยจัดการกับปัญหาต่างๆ
- เกลี้ยกล่อมให้ผู้ป่วยรับประทานยา
สรุปไบโพลาร์ อยากหาย ต้องเข้าใจและดูแลตนเอง
ไบโพลาร์เป็นแล้วสามารถรักษาให้หายได้ เพียงแค่ผู้ป่วยต้องทำความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับโรค เข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ และการดูแลตนเองอย่างใส่ใจเพื่อให้ตัวเองหายจากอาการป่วยนี้ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบเดิม เพื่อพาตัวเองไปสู่สุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดีขึ้น และสำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะโรคไบโพลาร์รักษาที่ไหนดีท่านสามารถเลือกรักษาได้ตามโรงพยาบาล หรือสถาบันสุขภาพจิตต่าง ๆ ที่ท่านสะดวก