หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

โรคซึมเศร้ารักษาได้ รู้เท่าทันอาการพร้อมแนวทางในการรับมือ

โพสท์โดย tothemoon555

โรคซึมเศร้า ภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย และเกิดขึ้นได้จากสาเหตุมากมาย ทำความเข้าใจอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าพร้อมวิธีรับมือเมื่อเกิดภาวะซึมเศร้า

 Depression disorder คือโรคซึมเศร้าที่ใครหลายคนเคยได้ยินหรือรู้จัก เป็นอาการที่มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่ว่าในช่วงวัยไหน ซึ่งความน่ากลัวของโรคนั้นอยู่ที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมความรู้สึกรวมทั้งรับมือกับความคิดด้านลบของตนเองได้จนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิต ภัยร้ายจากโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องใกล้ตัวและใครหลายคนไม่เคยสังเกตจนกระทั่งสายเกินแก้ อาการโรคซึมเศร้า สาเหตุของโรคซึมเศร้ามีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง เรามาทำความเข้าใจกัน


อาการโรคซึมเศร้า สัญญาณเตือนทางพฤติกรรม

Depression หรือ โรคซึมเศร้า คืออาการผิดปกติของผู้ป่วยในด้านความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรม เป็นภาวะไม่มีความสุขโดยไม่ทราบสาเหตุที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันรวมถึงความสามารถในการทำงาน ซึ่งภาวะซึมเศร้าไม่สามารถหายเองได้ ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยอาการของโรคซึมเศร้าที่พบเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่

โรคซึมเศร้าในเด็ก

เด็กและวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่ต้องพบเจอกับการเปลี่ยนแปลงมากมายแต่ยังไม่รู้วิธีจัดการหรือรับมือเมื่อเกิดความเครียด รวมไปถึงสถานการณ์ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันจนนำไปสู่การเกิดความเครียดสะสมจนอาจกระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งผู้ปกครองหรือญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวควรหมั่นสังเกตอาการลูกหลานว่ามีพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

กลุ่มผู้สูงอายุถือเป็นช่วงวัยที่พบผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากที่สุดกว่าบุคคลในวัยอื่นและไม่นับว่าเป็นภาวะทางโรคปกติของผู้สูงวัย ซึ่งผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยในกลุ่มนี้ปฏิเสธการเข้ารับวินิจฉัยอาการเพื่อทำการรักษา โดยผู้ป่วยสูงอายุภาวะซึมเศร้ามักมีพฤติกรรม ดังนี้


สาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง

 โรคซึมเศร้าสาเหตุเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ถึงแม้ว่าจะยังบ่งชี้ปัจจัยเสี่ยงซึ่งผลกระทบต่อความผิดปกติของอาการอย่างแน่ชัดไม่ได้ แต่ลักษณะปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะโรคซึมเศร้านั้นพบได้ ดังนี้


หากมีคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า ควรทำอย่างไร

หากมีคนรู้จักหรือคนใกล้ตัวไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คนรัก คนในครอบครัวเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า วิธีที่คนใกล้ชิดควรปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจโรคซึมเศร้าว่าเป็นอาการของโรคอย่างหนึ่งที่ต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้ป่วยในชีวิตประจำวันได้ ไม่กล่าวโทษหรือต่อว่าที่อาจกระตุ้นให้อาการรุนแรงขึ้นเพราะผู้ป่วยไม่ได้เลือกที่จะเป็นหรือสามารถหายเองได้ ควรชวนผู้ป่วยทำกิจกรรมใหม่ ๆ อย่างวาดรูปเพื่อผ่อนคลาย เดินเล่นออกกำลังกาย

บุคคลใกล้ชิดพูดคุยและรับฟังอย่างเข้าใจ ไม่บังคับหรือเร่งเร้าให้บอกเล่าในสิ่งที่ผู้ป่วยไม่เต็มใจ ญาติ ๆ พร้อมช่วยเหลือ สนับสนุนแม้ในเรื่องเล็กน้อยรวมทั้งให้กำลังใจผู้ป่วยในการรักษาโรคซึมเศร้า นอกจากนี้แล้วตัวญาติหรือบุคคลใกล้ชิดควรหมั่นสังเกตอาการของผู้ป่วยอยู่เสมอโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้ารุนแรงและมีความเสี่ยงคิดฆ่าตัวตายสูง หากพบผู้ป่วยมีพฤติกรรมรุนแรงขึ้นหรือทำร้ายตัวเอง ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ก่อนสายเกินแก้


รักษาโรคซึมเศร้า ควรพบแพทย์ที่ไหนดี

โรคซึมเศร้ารักษาให้อาการดีขึ้นได้ หากผู้ป่วยมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาได้เร็วอาการจะหายไวกว่าทิ้งไว้นานแล้วค่อยมารักษา ผู้ป่วยสามารถขอพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาได้จากโรงพยาบาลรัฐที่สามารถใช้สิทธิ์สุขภาพได้ โรงพยาบาลเอกชนในราคาสูงขึ้นมาหน่อยแต่ปรึกษากับแพทย์ได้เร็วไม่ต้องรอคิว คลินิกจิตเวชหากไม่ต้องการไปโรงพยาบาล หรือเลือกคุยบำบัดโรคซึมเศร้ากับจิตแพทย์แบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันรวมถึงสายด่วนกรมสุขภาพจิต

โดยแนวทางในการรักษาโรคซึมเศร้าเบื้องต้นนั้นเริ่มจากการทำจิตบำบัด จิตแพทย์จะประเมินอาการซึมเศร้าผู้ป่วยว่าอยู่ในระดับใด ต้องใช้วิธีการรักษาด้วยยาซึ่งใช้เวลานานหรือไม่ เพราะตัวยารักษาโรคซึมเศร้าออกฤทธิ์ช้า ต้องทานต่อเนื่อง 2-6 สัปดาห์ และอย่างน้อยอีก 6 สัปดาห์เมื่อผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติ


การป้องกันโรคซึมเศร้า วิธีการรับมือเมื่อเกิดภาวะ


สรุปโรคซึมเศร้า สังเกตอาการ รักษาใจตัวเองและคนรอบข้าง

โรคซึมเศร้าแบบทดสอบออนไลน์มีอยู่มากมายด้วยกัน แต่เพื่อการรักษาที่ถูกวิธีหากสังเกตว่าตนเองมีอาการเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงควรนัดพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและปรับสภาวะจิตใจ เพราะโรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ นอกจากนี้แล้วความเข้าใจในภาวะซึมเศร้าจากคนใกล้ชิดรอบตัวโดยเฉพาะครอบครัวผู้ป่วย ถือเป็นอีกหนึ่งกำลังใจที่สำคัญช่วยให้ผู้ป่วยมีแรงใจใช้ชีวิตต่อไปได้ด้วยเช่นกัน


เนื้อหาโดย: tothemoon555
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
tothemoon555's profile


โพสท์โดย: tothemoon555
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
10อันดับตัวละครที่มีIQสูงที่สุดในโลก(อนิเมะ)!!ร้อนนัก ก็ดับร้อน ด้วยผ้าขนหนูทัชมาฮาลมีประวัติความเป็นมาอย่างไร?อื้อหือ เสื้อตัวนี้ ทำจากใยแมงมุม บอกเลยอย่างเหนียว อย่างทนทานเลยเด้อซูเปอร์สตาร์ที่ไม่มีงานแสดง แต่เป็นเศรษฐีระดับพันล้านไทยอันดับ 1 " ประเทศที่น่าไปเยี่ยมชมสุดในชีวิต "
กระทู้อื่นๆในบอร์ด โฆษณา ประชาสัมพันธ์
โรงเรียนสอนภาษาเกาหลีอุบลราชธานี โซวอนเอาท์เล็ทสินค้าแบรนด์เนมชั้นนำที่ราคาสุดปังงานแสดงสินค้าเพื่อธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับนานาชาติ Jewellery & Gem ASEAN Bangkok (JGAB) 2024ใช้ประกันสังคมรักษาทันตกรรมที่ คลินิกทันตกรรมสุขสันต์สไมล์ อะไรได้บ้าง ?
ตั้งกระทู้ใหม่