จังหวัดล่าสุดของประเทศไทย ที่ถูกประกาศให้มีการยุบเลิก
จังหวัดล่าสุดของไทยที่ถูกยุบเลิกคือ จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี ซึ่งได้รวมกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี
จังหวัดพระนคร
(Phra Nakhon Province)
เป็นจังหวัดในอดีตของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออก
ของแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดพระนคร มีอายุอยู่ในช่วง พ.ศ. 2408–2515
ก่อนที่จะถูกยุบรวมกับจังหวัดธนบุรี กลายเป็นกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
จังหวัดพระนคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2408 มีเขตการปกครอง 13 อำเภอ
เดิมมีฐานะเป็น อำเภอชนะสงคราม ขึ้นกับกรมนครบาล
มีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่ถนนจักรพงษ์ ติดกับวัดชนะสงครามด้านเหนือ
ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2458 ได้มีประกาศยกเลิกอำเภอชั้นในแต่เดิม
และตั้งอำเภอชั้นในขึ้นใหม่ 25 อำเภอ ต่อมาในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2471
ได้มีการรวมพื้นที่อำเภอพาหุรัด อำเภอสำราญราษฎร์ อำเภอพระราชวัง
และอำเภอชนะสงครามเป็นอำเภอเดียวกัน เรียกว่า อำเภอพระนคร
ตามประกาศยุบรวมอำเภอและกิ่งอำเภอในจังหวัดพระนครและธนบุรี
(ภายหลังได้ยุบอำเภอสามยอดและอำเภอบางขุนพรหมเข้ามารวมด้วย)
และในปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดระเบียบการปกครอง
ในเขตนครหลวงใหม่ อำเภอพระนครจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะ
เป็น เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
จังหวัดธนบุรี
(Thonburi Province)
เป็นจังหวัดในอดีต ที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ตรงข้ามกับจังหวัดพระนคร จังหวัดธนบุรีมีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี
จนกระทั่ง พ.ศ. 2514 ได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร
เป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และถูกเปลี่ยนชื่ออีกครั้ง
เป็นกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2515
ในช่วงเวลาที่ยังเป็นจังหวัดธนบุรี จังหวัดนี้มีอำเภอจำนวน 9 อำเภอ
ได้แก่ อำเภอราชคฤห์ (ธนบุรี) อำเภอหงสาราม (บางกอกใหญ่)
อำเภอบุปผาราม (คลองสาน) อำเภอตลิ่งชัน อำเภอบางกอกน้อย
อำเภอบางขุนเทียน อำเภอภาษีเจริญ อำเภอหนองแขม และอำเภอราษฎร์บูรณะ